ส้วมกับกฎหมายไทย ของ ส้วมในประเทศไทย

ประเทศไทยได้ใช้มาตรการหลายอย่าง รวมทั้งมีมาตรการทางกฎหมายซึ่งมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับส้วม ปรากฏอยู่ในกฎหมายหลายฉบับ

เริ่มจาก บทบัญญัติในการจัดการเรื่องส้วมและสิ่งปฏิกูลตามกฎหมายไทย ซึ่งเกิดขึ้นมาจากสภาวการณ์ที่มีโรคระบาดเกิดขึ้น จนเริ่มมีการออกพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ซึ่งถือเป็นกฎหมายฉบับแรกเกี่ยวกับการสุขาภิบาลของคนกรุงเทพฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรคติดต่อมิให้แพร่หลาย การจัดการเวจ ที่ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของมหาชน และในปี พ.ศ. 2469 มีการตราพระราชสีห์น้อยถึงสมุหเทศบาลทุกมณฑลให้ควบคุมการสุขาภิบาลเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระและการทำลายส้วมตามริมแม่น้ำ ลำคลองทั่วไป จนกระทั่งมีการตราพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2477 และในปี พ.ศ. 2480 ได้เกิดพระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระเป็นปุ๋ย ซึ่งกฎหมายสาธารณสุขก็ได้มีการตราขึ้นใหม่เป็นพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2484 โดยมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดให้มีส้วม การกำหนดเขตห้ามสร้างส้วม และการจัดการความสะอาดของส้วม ซึ่งต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงหลายครั้ง จนกระทั่งมีการยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระเป็นปุ๋ย พ.ศ. 2480 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2484 แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน[33][ลิงก์เสีย]

นอกจากนั้นใน กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ได้กำหนดจำนวนของห้องน้ำและห้องส้วม ของอาคารประเภทต่าง ๆ ไว้ด้วย เพื่อควบคุม คุณภาพและมาตรฐานของอาคาร[34]

ทางด้านกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ. 2548 กำหนดไว้ว่า

"อาคารประเภท โรงพยาบาล สถานพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย อาคารที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย สถานศึกษา หอสมุดและพิพิธภัณฑสถานของรัฐ สถานีขนส่งมวลชน ที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเกิน 300 ตารางเมตร และ สำนักงาน โรงมหรสพ โรงแรม หอประชุม สนามกีฬา ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าประเภทต่าง ๆ ที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเกิน 2,000 ตารางเมตร ได้ระบุว่านอกจากห้องส้วมสำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ต้องจัดให้มีห้องส้วมสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราเข้าใช้ได้อย่างน้อย 1 ห้อง รวมถึงสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง"[35][ลิงก์เสีย]

ในปี พ.ศ. 2556 มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. 2556 มีสาระสำคัญเรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์วิเทรียสไชนา : โถส้วมนั่งราบ และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก : โถส้วมนั่งราบ[36]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ส้วมในประเทศไทย http://www.bangkokbiznews.com/bodyheart/20060604/n... http://www.bangkoknightparty.com/html/article_deta... http://www.elib-online.com/doctors3/mental_daughte... http://www.kodmhai.com/Kkat/NKkat/Nkkat-2/Newkkat-... http://www.mthai.com/webboard/5/108305.html http://www.oldsonghome.com/chairat/interview.html http://www.posttoday.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%... http://news.sanook.com/entertain/entertain_77523.p... http://news.sanook.com/immovable/immovable_54904.p... http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sect...