การพัฒนา ของ หนังหุ้มปลาย

แปดสัปดาห์หลังจากการปฏิสนธิ หนังหุ้มปลายเริ่มเจริญขึ้นเหนือหัวขององคชาต และจะปกคลุมอย่างสมบูรณ์เมื่อวัย 16 สัปดาห์ ที่สถานะนี้ หนังหุ้มปลายและส่วนหัวองคชาตแบ่งปันเยื่อบุผิว (ชั้นเยื่อเมือก) ด้วยกัน นั่นทำให้มันรวมเข้าด้วยกัน และจะคงอยู่ไปจนกว่าหนังหุ้มปลายจะแยกออกจากส่วนหัวขององคชาต[13]

ตามที่การศึกษาเมื่อปี 1949 โดยดักลาส แกรดเนอร์ หนังหุ้มปลายโดยทั่วไปจะยังคงถูกรวมเข้ากับส่วนหัวในตอนที่เกิด[13] ในกระบวนการตอนวัยเด็ก มันจะแยกออกจากกันทีละน้อย[14] จากรายงานนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามอายุที่หนังหุ้มปลายจะสามารถแยกออกได้ เมื่อปี 2005 ทอร์วาลด์เซนและเมย์ฮอฟฟ์ รายงานว่า 21% ของเด็กชายวัย 7 ปีในการศึกษาของพวกเขาไม่สามารถแยกหนังหุ้มปลายออกได้ และสัดส่วนนี้จะลดลงไป 7% ในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ ซึ่งการแยกออกครั้งแรกนั้นเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุประมาณ 10.4 ปี[15] แต่รายงานของแกรดเนอร์เมื่อปี 1949 ระบุว่ามีเพียง 10% ของเด็กชายวัย 3 ปีเท่านั้นที่ไม่สามารถแยกหนังหุ้มปลายออกได้[13] อย่างไรก็ตาม แกรดเนอร์นั้นมีข้อผิดพลาดในเรื่องของการพัฒนาและการแยกออกของหนังหุ้มปลาย[1][16] รายงานของไรท์ (Wright) เมื่อปี 1994 ได้โต้แย้งในการใช้ความรุนแรงในการแยกหนังหุ้มปลาย ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการกระทำนั้น และควรให้ตัวเด็กเองเป็นผู้แยกหนังหุ้มปลายของเขาเองในครั้งแรก[1] ความพยายามที่จะแยกหนังหุ้มปลายอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดและเป็นเหตุแห่งอาการบาดเจ็บได้[17]

ภาพของหนังหุ้มปลายที่แยกออกจากส่วนหัวองคชาตเองตามธรรมชาติ ชั้นทั้งสองของหนังหุ้มปลายของผิวหนังด้านนอกและเยื่อยเมือกด้านในสามารถแยกออกจากส่วนหัว

ในวัยเด็ก หนังหุ้มปลายโดยมากจะปกคลุมส่วนหัวโดยสมบูรณ์ แต่ในวัยผู้ใหญ่มันอาจไม่เป็นอย่างนั้น Schöberlein (1966) ได้จัดการศึกษาผู้ชายวัยรุ่น 3,000 คนในเยอรมัน และพบว่า 41.9% ยังมีหนังหุ้มปลายปกคลุมบางส่วน และ 8.5% นั้นไม่มีปกคลุมแล้ว ราว ๆ ครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น (4%) หนังหุ้มปลายได้ถอยร่นไปเองตามธรรมชาติโดยปราศจากการศัลยกรรม[18] ในระหว่างการแข็งตัว องศาของการถอยร่นของหนังหุ้มปลายนั้นต่างกันอย่างมาก ในผู้ใหญ่บางคน หนังหุ้มปลายจะยังคงเหลือปกคลุมทั้งหมดหรือบางส่วนของส่วนหัวองคชาต จนกระทั่งมีการถอยร่นด้วยตนเองหรือมีกิจกรรมทางเพศ ความแตกต่างนี้ถูกพิจารณาโดยเฉิงซูเมื่อปี 2011 ในฐานะเงื่อนไขผิดปกติชื่อว่า 'prepuce redundant' ความถี่ของการแยกออกและล้างภายใต้ของหนังหุ้มปลายนั้นแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีหนังหุ้มปลายยาวหรือหนังหุ้มปลายมากเกินไป[19] เมื่อหนังหุ้มปลายนั้นยาวกว่าองคชาต มันจะไม่ถอยร่นออกไปเองขณะมีการแข็งตัว

มันแสดงให้เห็นว่าการดึงหนังหุ้มปลายโดยใช้มือระหว่างวัยเด็กหรือในวัยผู้ใหญ่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตามปกติและดึงหนังหุ้มปลายลงโดยอัตโนมัติ ซึ่งชี้ว่ามีหลายเงื่อนไขที่มีผลต่อหนังหุ้มปลายซึ่งอาจกีดขวางหรือถนอมทางพฤติกรรม[20] ในผู้ชายบางคน ตามที่ Xianze ระบุไว้เมื่อปี 2012 พวกเขาอาจไม่เต็มใจที่ส่วนหัวองคชาตของพวกเขานั้นถูกเปิดออก เพราะว่ารู้สึกไม่สะดวกสบายเมื่อมันถูกรบกวนจากการปะทะกับเสื้อผ้า แม้ว่าความรู้สึกไม่สะดวกสบายส่วนหัวของคชาตตามรายงานจะหายไปภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากเปิดออก[21] Guochang (2010) รายงานว่าสำหรับคนที่มีหนังหุ้มปลายองคชาตที่คับแน่นจนเกินไปที่จะเปิดออกหรือมีบางสิ่งที่ยืดไว้ ควรหลีกเลี่ยงการเปิดออกเพราะอาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้[22]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หนังหุ้มปลาย http://www.racp.edu.au/index.cfm?objectid=65118B16... http://www.cfp.ca/content/56/10/986.2.full http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://en.cnki.com.cn/Article_en/CJFDTOTAL-GDYY200... http://en.cnki.com.cn/Article_en/CJFDTOTAL-MNWK200... http://ehealthforum.com/health/topic84482.html http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... http://nacs.eu/data/press_release001.pdf http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC201985... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC205196...