อธิบาย ของ หนังหุ้มปลาย

แผนภาพตัดแบ่งของกายวิภาคศาสตร์เพศชาย

เมื่อมองจากภายนอก หนังหุ้มปลาย คือ การต่อเนื่องกันของผิวหนังและแท่งองคชาต (Shaft) แต่ด้านใน หนังหุ้มปลาย คือ เยื่อเมือกเหมือนกับที่อยู่ด้านในของเปลือกตาหรือปาก เขตเยื่อบุทวารหนักกับผิวหนังเกิดขึ้นในบริเวณที่ด้านนอกและด้านในของหนังหุ้มปลายมาพบกัน แถบริ้วเป็นบริเวณที่ปกคลุมไปด้วยเนื้อเยื่อเส้นประสาทอย่างมากและอยู่ด้านในส่วนบนสุดของหนังหุ้มปลาย เช่นเดียวกับเปลือกตา หนังหุ้มปลายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระหลังจากที่มันแยกตัวออกจากส่วนหัวองคชาตแล้ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือในช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ โดยหนังหุ้มปลายถูกเชื่อมต่อกับส่วนหัวองคชาตด้วยเส้นสองสลึง

เทย์เลอร์และคณะ (ค.ศ. 1996) รายงานการนำเสนอเกี่ยวกับบัลบอยด์คอร์พัสเซิล (Bulboid corpuscle) และชนิดของปลายประสาทที่เรียกว่าแทคไทล์คอร์พัสเคิล[6] ตามรายงานนั้น ความหนาแน่นของความกว้างในแถบริ้ว (บริเวณของริ้วเยื่อเมือกที่ส่วนปลายของหนังหุ้มปลาย) จะมีมากกว่าบริเวณเยื่อเมือกที่เรียบในบริเวณที่ยาวกว่า[6] ซึ่งมีผลตามอายุ ซึ่งพวกมันจะลดลงหลังจากวัยรุ่น[7] เมซเนอร์คอร์พัสเคิลไม่สามารถแยกได้ในทุกรายบุคคล[8] ส่วนแบตและคณะ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเมซเนอร์คอร์พัสเคิลที่จำนวนของความแตกต่างไซท์ ประกอบด้วย "ปลายนิ้ว อุ้งมือ ด้านหน้าของแขนท่อนปลาย ฝ่าเท้า ริมฝีปาก หนังหุ้มปลายขององคชาต ด้านหลังของแขนและเท้า" พวกเขาพบว่าดัชนีเมซเนอร์ (Meissner's Index) ที่ต่ำที่สุดในเรื่องความหนาแน่นนั้นอยู่ในหนังหุ้มปลาย และในรายงานยังระบุอีกว่าคอร์พัสเคิลที่ไซท์นี้มีขนาดเล็กทางกายภาพ ซึ่งมีการบันทึกถึงความแตกต่างของรูปร่างด้วย พวกเขาสรุปว่าคุณลักษณะเหล่านี้ถูกพบใน "บริเวณความรู้สึกน้อยของร่างกาย"[9] ในช่วงปลายยุค ค.ศ. 1950 วิงเกิลแมนน์ ชี้ว่าตัวรับค่าบางอย่างนั้นผิดพลาดที่นำมาใช้แยกเมซเนอร์คอร์พัสเคิล[10][11]

วิทยาลัยแพทย์และศัลยแพทย์แห่งบริติชโคลัมเบีย ได้เขียนระบุเกี่ยวกับหนังหุ้มปลายว่าเป็น "การประกอบด้วยของผิวหนังด้านนอกและเยื่อเมือกด้านในซึ่งอุดมไปด้วยปลายประสาทสัมผัสพิเศษและเนื้อเยื่ออีโรจีนัส (Erogenous tissue)"[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หนังหุ้มปลาย http://www.racp.edu.au/index.cfm?objectid=65118B16... http://www.cfp.ca/content/56/10/986.2.full http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://en.cnki.com.cn/Article_en/CJFDTOTAL-GDYY200... http://en.cnki.com.cn/Article_en/CJFDTOTAL-MNWK200... http://ehealthforum.com/health/topic84482.html http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... http://nacs.eu/data/press_release001.pdf http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC201985... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC205196...