ข้อควรระวัง ของ หน่วยจินตภาพ

ในบางครั้งหน่วยจินตภาพสามารถเขียนแทนได้ด้วย − 1 {\displaystyle {\sqrt {-1}}} แต่ก็ควรระมัดระวังในการคำนวณเป็นอย่างมาก เนื่องจากฟังก์ชันรากที่สองสงวนไว้ให้เฉพาะจำนวนจริงที่ไม่น้อยกว่าศูนย์ การพยายามคำนวณโดยนอกเหนือจากเงื่อนไขอาจทำให้ผลลัพธ์ผิดพลาดได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

− 1 = i ⋅ i = − 1 ⋅ − 1 = ( − 1 ) ⋅ ( − 1 ) = 1 = 1 {\displaystyle -1=i\cdot i={\sqrt {-1}}\cdot {\sqrt {-1}}={\sqrt {(-1)\cdot (-1)}}={\sqrt {1}}=1}

ซึ่งกฎของการคำนวณ

a ⋅ b = a ⋅ b {\displaystyle {\sqrt {a}}\cdot {\sqrt {b}}={\sqrt {a\cdot b}}}

จะเป็นจริงก็ต่อเมื่อ ค่า a และ b เป็นจำนวนจริงที่ไม่เป็นลบเท่านั้น

และเพื่อให้หลีกเลี่ยงการแปลความหมายจำนวนเชิงซ้อนผิด กลยุทธ์หนึ่งคือเราจะไม่เขียนจำนวนลบภายใต้รากที่สองโดยเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น − 7 {\displaystyle {\sqrt {-7}}} ควรเขียนเป็น i 7 {\displaystyle i{\sqrt {7}}} แทน ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของการใช้หน่วยจินตภาพตั้งแต่แรก

บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:คณิตศาสตร์

ใกล้เคียง

หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หน่วยปฏิบัติการพิเศษ หน่วยรบพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ หน่วยผจญคนไฟลุก หน่วยยามชายแดน หน่วยยามฝั่ง หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย