ครึ่งชีวิตของธาตุที่มีหมายเลขสูงสุด ของ หมู่เกาะแห่งเสถียรภาพ

ธาตุที่มีหมายเลขอะตอมเกิน 82 (ตะกั่ว) นั้นไม่เสถียร และเสถียรภาพ (ครึ่งชีวิตของไอโซโทปที่เสถียรที่สุด) โดยปกติจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับด้วยหมายเลขอะตอมที่ค่อยๆ สูงขึ้น จากยูเรเนียม (92) ที่ค่อนข้างเสถียร สูงขึ้นไปถึงธาตุที่หนักที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา (118) โดยที่เสถียรภาพของธาตุเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมากระหว่างธาตุที่ 110 ถึง 113 ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นขอหมู่เกาะแห่งเสถียรภาพ ไอโซโทปที่เสถียรที่สุดของธาตุที่หนักที่สุดต่างๆ ได้ถูกจัดเรียงไว้ตามตารางนี้

ไอโซโทปของธาตุที่เป็นที่รู้จัก ตั้งแต่ธาตุที่ 100 จนถึง 118[7][8]
เลขอะตอมชื่อไอโซโทปที่ช่วงชีวิต
ยาวนานที่สุด
ครึ่งชีวิตบทความ
100เฟอร์เมียม257Fm 8,70,000 ! 101 วันไอโซโทปของเฟอร์เมียม
101เมนเดลีเวียม258Md 4,500,000 ! 52 วันไอโซโทปของเมนเดลีเวียม
102โนเบเลียม259No 0,003,500 ! 58 นาทีไอโซโทปของโนเบเลียม
103ลอว์เรนเซียม262Lr 0,013,000 ! 3.6 ชั่วโมงไอโซโทปของลอว์เรนเซียม
104รัทเทอร์ฟอร์เดียม267Rf 0,004,700 ! 1.3 ชั่วโมงไอโซโทปของรัทเทอร์ฟอร์เดียม
105ดุบเนียม268Db 0,104,000 ! 29 ชั่วโมงไอโซโทปของดุบเนียม
106ซีบอร์เกียม271Sg 0,000,110 ! 1.9 นาทีไอโซโทปของซีบอร์เกียม
107โบห์เรียม270Bh 0,000,061 ! 61 วินาทีไอโซโทปของโบห์เรียม
108ฮัสเซียม277mHs 0,001,000 ! ~12 นาที[9]ไอโซโทปของฮัสเซียม
109ไมต์เนเรียม278Mt 0,000,008 ! 7.6 วินาทีไอโซโทปของไมต์เนเรียม
110ดาร์มสตัดเทียม281Ds 0,000,011 ! 11 วินาทีไอโซโทปของดาร์มสตัดเทียม
111เรินต์เกเนียม281Rg 0,000,022.8 ! 26 วินาทีไอโซโทปของเรินต์เกเนียม
112โคเปอร์นิเซียม285Cn 0,000,029 ! 29 วินาทีไอโซโทปของโคเปอร์นิเซียม
113นิโฮเนียม286Nh 0,000,019.6 ! 19.6 วินาทีไอโซโทปของนิโฮเนียม
114ฟลีโรเวียม289Fl 0,000,002.6 ! 2.6 วินาทีไอโซโทปของฟลีโรเวียม
115มอสโกเวียม289Mc 0,000,000.220 ! 220 มิลลิวินาทีไอโซโทปของมอสโกเวียม
116ลิเวอร์มอเรียม293Lv 0,000,000.061 ! 61 มิลลิวินาทีไอโซโทปของลิเวอร์มอเรียม
117เทนเนสซีน294Ts 0,000,000.078 ! 78 มิลลิวินาทีไอโซโทปของเทนเนสซีน
118ออกาเนสซอน294Og 0,000,000.000,89 ! 0.89 มิลลิวินาทีไอโซโทปของออกาเนสซอน

(สำหรับธาตุที่ 109–110, 112–114 และ 116–118 ไอโซโทปที่เสถียรที่สุดจะเป็นไอโซโทปที่หนักที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมาเสมอ จึงคาดว่าน่าจะยังมีไอโซโทปที่เสถียรกว่าในระหว่างไอโซโทปที่หนักกว่านี้)

เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ ธาตุที่มีหมายเลขอะตอมต่ำกว่า 100 ที่มีช่วงชีวิตน้อยที่สุดคือแฟรนเซียม (ธาตุที่ 87) ด้วยครึ่งชีวิตเพียง 22 นาที

ครึ่งชีวิตของนิวเคลียสที่อยู่ภายในตัวเกาะแห่งเสถียรภาพนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด เพราะว่ายังไม่มีการค้นพบไอโซโทปใดที่ "อยู่บนเกาะ" นักฟิสิกส์หลายคนคาดคิดว่าครึ่งชีวิตของไอโซโทปเหล่านี้น่าจะค่อนข้างสี้นเป็นนาทีหรือวัน[1] แต่การคำนวณในเชิงทฤษฎีได้บ่งบอกว่าครึ่งชีวิตของไอโซโทปพวกนั้นยาวนานถึง 109 ปี[ต้องการอ้างอิง]

ครึ่งชีวิตการสลายให้อนุภาคแอลฟาของนิวเคลียส 1,700 อัน ด้วย 100 ≤ Z ≤ 130 ได้ถูกคำนวณโดยแบบจำลองควอนตัมทันเนลลิ่งโดยค่าของ Q ของการสลายตัวให้อนุภาคแอลฟาทั้งในเชิงการทดลองและเชิงทฤษฎี[10][11][12][13][14][15] การคำนวณในเชิงทฤษฎีจึงไปด้วยกันได้กับผลการทดลอง [ไม่แน่ใจพูดคุย]

การสลายตัวที่รุนแรงกว่าซึ่งเป็นไปได้สำหรับธาตุที่หนักยิ่งยวดของยิ่งยวดได้ถูกแสดงให้เห็นโดยดอริน โพเอนารุว่าเป็นการสลายตัวของสารกัมมันตรังสีแบบกลุ่ม[16]

ตารางธาตุพร้อมกับทำสัญลักษณ์สีธาตุตามครึ่งชีวิตของไอโซโทปที่เสถียรที่สุด
  ธาตุเสถียร
  ธาตุกัมมันตรังสีซึ่งมีไอโซโทปที่มีครึ่งชีวิตยาวนานมาก โดยมีครึ่งชีวิตนานกว่าสี่ล้านปี ปลดปล่อยรังสีออกมาในปริมาณเล็กน้อยมาก
  ธาตุกัมมันตรังสีซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพเล็กน้อย ไอโซโทปที่เสถียรที่สุดของธาตุเหล่านี้มีครึ่งชีวิตอยู่ระหว่าง 800 ถึง 34,000 ปี มีการนำไปใช้ในทางพาณิชย์อยู่บ้าง
  ธาตุกัมมันตรังสีซึ่งทราบกันดีว่ามีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยสูง ไอโซโทปที่เสถียรที่สุดมีครึ่งชีวิตอยู่ระหว่าง 1 วันถึง 103 ปี ด้วยรังสีที่ปลดปล่อยออกมาทำให้ธาตุเหล่านี้มีศักยภาพในการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้เพียงเล็กน้อย
  ธาตุกัมมันตรังสีอย่างยิ่ง ไอโซโทปที่เสถียรที่สุดมีครึ่งชีวิตอยู่ระหว่างไม่กี่นาทีถึงหนึ่งวัน ธาตุเหล่านี้อันตรายต่อสุขภาพอย่างรุนแรง มีไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ถูกใช้นอกเหนือไปจากการวิจัยเบื้องต้น
  ธาตุกัมมันตรังสีอย่างรุนแรง ธาตุเหล่านี้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพวกมันน้อยมากเนื่องจากความไม่เสถียรและกัมมันตภาพรังสี

ใกล้เคียง

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา หมู่เกาะมาลูกู หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ หมู่เกาะกาลาปาโกส หมู่เกาะพิตแคร์น หมู่เกาะแฟโร หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะฮาวาย หมู่เกาะจินเหมิน

แหล่งที่มา

WikiPedia: หมู่เกาะแห่งเสถียรภาพ http://www.britannica.com/nobelprize/art-93 http://www.guerrillaexplorer.com/2011/11/island-of... http://www.physorg.com/news173028810.html http://deposit.ddb.de/cgi-bin/dokserv?idn=98521356... http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/nuclear... http://adsabs.harvard.edu/abs/1969NuPhA.131....1N http://adsabs.harvard.edu/abs/2005Natur.433..705C http://adsabs.harvard.edu/abs/2006PhRvC..73a4612C http://adsabs.harvard.edu/abs/2006PhRvL..97x2501D http://adsabs.harvard.edu/abs/2007JPSJ...76l4201S