แฟรนเซียม
แฟรนเซียม

แฟรนเซียม

แฟรนเซียม (อังกฤษ: Francium) เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 87 สัญลักษณ์ Fr แฟรนเซียมเคยเป็นที่รู้จักในชื่อ เอคา-ซีเซียม และ แอกทิเนียม K[note 1] มันเป็นหนึ่งในสองธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีต่ำที่สุด อีกหนึ่งคือ ซีเซียม แฟรนเซียมเป็นกัมมันตรังสีอย่างสูง สามารถสลายไปเป็นแอสทาทีน เรเดียม และเรดอนได้ ด้วยที่มันเป็นโลหะแอลคาไล มันจึงมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเพียงตัวเดียวยังไม่เคยมีใครเห็นแฟรนเซียมเป็นก้อนในปริมาณมากเลย คุณสมบัติทั่วไปของธาตุอื่น ๆ ในแถวเดียวกัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าแฟรนเซียมเป็นโลหะที่สะท้อนแสงได้สูง ถ้าเก็บแฟรนเซียมมาไว้รวมกันเป็นก้อนหรือของเหลวปริมาณมากพอ การได้สารตัวอย่างดังกล่าวมานั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากความร้อนจากการสลายตัว (ครึ่งชีวิตของไอโซโทปที่ยาวนานที่สุดคือเพียง 22 นาที) จะทำให้ธาตุปริมาณมากพอที่จะมองเห็น กลายเป็นไอได้แฟรนเซียมถูกค้นพบโดยมาร์เกอริต เปอแรที่ฝรั่งเศส (ซึ่งได้นำมาตั้งเป็นชื่อธาตุนี้) ในปี พ.ศ. 2482 แฟรนเซียมเป็นธาตุสุดท้ายที่ค้นพบครั้งแรกจากในธรรมชาติ แทนที่ได้จากการสังเคราะห์[note 2] นอกห้องปฏิบัติการ แฟรนเซียมหายากมาก พบเป็นปริมาณน้อยมากในสินแร่ยูเรเนียมและทอเรียม ซึ่งแฟรนเซียม-223 เกิดขึ้นและสลายตัวตลอดเวลา ในเปลือกโลกสามารถพบแฟรนเซียม-223 ได้แค่ 20-30 กรัม (1 ออนซ์) ส่วนไอโซโทปอื่น ๆ (ยกเว้นแฟรนเซียม-221) ถูกสังเคราะห์ขึ้นทั้งหมด จำนวนแฟรนเซียมที่ผลิตมากที่สุดในห้องปฏิบัติการคือ 300,000 อะตอม[1]

แฟรนเซียม

การออกเสียง /ˈfrænsiəm/
fran-see-əm
หมู่ คาบและบล็อก 1 (โลหะแอลคาไล), 7, s
โครงสร้างผลึก รูปลูกบาศก์กลางตัว
(extrapolated)
มวลอะตอมมาตรฐาน (223)
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 348 (extrapolated) pm
เลขทะเบียน CAS 7440-73-5
สถานะ ของแข็ง presumably
การแยกครั้งแรก มาร์เกอไรต์ เปเรย์ (1939)
จุดหลอมเหลว ? 300 K, ? 27 °C, ? 80 °F
ความเป็นแม่เหล็ก พาราแมกเนติก
การตั้งชื่อ ตาม ประเทศฝรั่งเศส บ้านเกิดของผู้ค้นพบ
ไอโซโทปNAครึ่งชีวิตDMDE (MeV)DP
ไอโซโทปNAครึ่งชีวิตDMDE (MeV)DP
221Frtrace4.8 minα6.457217At
222Frsyn14.2 minβ–2.033222Ra
223Frtrace22.00 minβ–1.149223Ra
α5.430219At
พลังงานไอออไนเซชัน : 380 kJ·mol−1
สถานะออกซิเดชัน 1 (strongly basic oxide)
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) ? 1.87 (extrapolated) g·cm−3
สภาพนำไฟฟ้า 3 µ (calculated)Ω·m
ความร้อนของการหลอมเหลว ca. 2 kJ·mol−1
ความร้อนของการกลายเป็นไอ ca. 65 kJ·mol−1
ชื่อ สัญลักษณ์ และเลขอะตอม แฟรนเซียม, Fr, 87
อิเล็กโตรเนกาติวิตี >0.79 (Pauling scale)
รัศมีโควาเลนต์ 260 (extrapolated) pm
การค้นพบ มาร์เกอไรต์ เปเรย์ (1939)
การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Rn] 7s1
2, 8, 18, 32, 18, 8, 1
ชั้นพลังงานอิเล็กตรอนของแฟรนเซียม (2, 8, 18, 32, 18, 8, 1)
จุดเดือด ? 950 K, ? 677 °C, ? 1250 °F
สภาพนำความร้อน 15 (extrapolated) W·m−1·K−1
อนุกรมเคมี โลหะแอลคาไล

แหล่งที่มา

WikiPedia: แฟรนเซียม http://www.andyscouse.com/pages/francium.htm http://books.google.com/books?id=Yhi5X7OwuGkC&pg=P... http://www.periodicvideos.com/videos/087.htm http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,7... http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://fr.physics.sunysb.edu/francium_news/frconte... http://fr.physics.sunysb.edu/francium_news/history...