ลักษณะ ของ แฟรนเซียม

แฟรนเซียมเป็นธาตุที่ไม่เสถียรที่สุดที่เกิดตามธรรมชาติ เนื่องจากไอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ แฟรนเซียม-223 มีครึ่งชีวิตแค่ 22 นาทีเท่านั้น เทียบกับแอสทาทีนซึ่งเป็นธาตุที่ไม่เสถียรเป็นอันดับที่ 2 ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีครึ่งชีวิต 8.5 ชั่วโมง[2]ไอโซโทปของแฟรนเซียมทั้งหมดสลายตัวไปเป็นแอสทาทีน เรดอน หรือ เรเดียม อย่างใดอย่างหนึ่ง[2] แฟรนเซียมยังเสถียรน้อยกว่าธาตุสังเคราะห์ทุกธาตุนับจนถึงธาตุที่ 105 ขึ้นไป[3]

แฟรนเซียมเป็นธาตุในหมู่โลหะแอลคาไลซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกับซีเซียม[3] แฟรนเซียมเป็นธาตุหนักที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนเดียว[4]มันมีน้ำหนักสมมูลสูงกว่าธาตุอื่นใด[3] แฟรนเซียมเหลว ถ้าสร้างขึ้นได้แล้วควรจะมีแรงตึงผิว 0.05092 นิวตัน/เมตร ที่จุดหลอมเหลว[5] มีการคำนวณว่า จุดหลอมเหลวของแฟรนเซียมมีค่าใกล้เคียงกับ 27 °C (80 ° F, 300 K) [6] จุดหลอมเหลวของแฟรนเซียมนั้นไม่แน่นอน เนื่องจากแฟรนเซียมเป็นธาตุหายากและเป็นกัมมันตรังสีสูง ดังนั้นค่าประมาณของจุดเดือดคืออุณหภูมิที่ 677 °C (1250 °F, 950 K) ก็ไม่แน่นอนเช่นกัน

ไลนัส พอลิงได้ประมาณค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของแฟรนเซียมไว้คือ 0.7 ในพอลิงสเกล เหมือนกับอิเล็กโทรเนกาติวิตีของซีเซียม[7] จากนั้นมีการคำนวณค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของซีเซียมได้เท่ากับ 0.79 แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลการทดลองใด ๆ ที่จะมาเป็นค่าของแฟรนเซียม[8] แฟรนเซียมมีพลังงานไอออไนเซชันสูงกว่าซีเซียมเล็กน้อย[9] แฟรนเซียมมีพลังงานไอออไนเซชั่นอยู่ 392.811 (4) กิโลจูล/โมล ส่วยซีเซียมมีค่า 375.7041 กิโลจูล/โมล ดังที่คาดการณ์จากปรากฏการณ์สัมพัทธภาพ และสามารถบอกได้ว่าซีเซียมมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยกว่าแฟรนเซียม แฟรนเซียมควรจะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนมากกว่าซีเซียมและ Fr- ควรจะเป็นขั้วได้มากกว่า Cs-[10] มีการทำนายว่าโมเลกุลของ CsFr มีปลายขั้วลบเป็นแฟรนเซียม ต่างจากโมเลกุลโลหะแอลคาไลที่อะตอมคู่ต่างกัน แฟรนเซียมซูเปอร์ออกไซด์ (FrO2) คาดว่าจะมีพันธะโคเวเลนต์ มากกว่าสารในตระกูลเดียวกัน เกิดจากอิเล็กตรอน 6p ในแฟรนเซียมเกี่ยวพันกับพันธะระหว่างแฟรนเซียมและออกซิเจนมากกว่า[10]

แฟรนเซียมตกตะกอนร่วมกับเกลือซีเซียมหลายชนิด เช่น ซีเซียมเปอร์คลอเรต ได้เป็นแฟรนเซียมเปอร์คลอเรตปริมาณเล็กน้อย การตกตะกอนร่วมนี้สามารถใช้แยกแฟรนเซียม โดยปรับใช้วิธีการตกตะกอนร่วมรังสีซีเซียมของเกล็นเดนิน และเนลสัน มันจะตกตะกอนร่วมกับเกลือซีเซียมชนิดอื่น ๆ เพิ่มอีก เช่น ไอโอเดต พิเครต ทาร์เทรต (รูบิเดียมทาร์เทรต เช่นกัน) คลอโรพลาทิเนต และซิลิโคทังสเตต มันยังตกตะกอนร่วมกับกรดซิลิโคทังสติก และกรดเปอร์คลอริก โดยไม่ต้องใช้โลหะแอลคาไลอื่นเป็นตัวพา ทำให้มีวิธีการแยกสารแบบอื่นด้วย[11][12] เกลือแฟรนเซียมเกือบทุกชนิดละลายน้ำได้[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แฟรนเซียม http://www.andyscouse.com/pages/francium.htm http://books.google.com/books?id=Yhi5X7OwuGkC&pg=P... http://www.periodicvideos.com/videos/087.htm http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,7... http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://fr.physics.sunysb.edu/francium_news/frconte... http://fr.physics.sunysb.edu/francium_news/history...