ประวัติ ของ หม่อมหลวงไกรฤกษ์_เกษมสันต์

หม่อมหลวงไกรฤกษ์เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของหม่อมราชวงศ์นิธิเกษม เกษมสันต์ และคุณวรรณี เกษมสันต์ ณ อยุธยา[2] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม)จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส.2) รุ่น 17 สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน (พ.ศ. 2538) หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูงสถาบันพระปกเกล้า รัฐสภา รุ่น 1 (พ.ศ. 2540) ปริญญาบัตรหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรรุ่น 4010 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (พ.ศ. 2541)

ประสบการณ์การทำงาน เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดแม่สะเรียง และศาลจังหวัดลำปาง เป็นอธิบดีกรมคุมประพฤติ เป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 6 ผู้พิพากษาศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เคยเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) รองประธานศาลฎีกา และตุลาการรัฐธรรมนูญ (ต่อมาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 300) และผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์

หม่อมหลวงไกรฤกษ์เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานิติศาสตร์ ขณะดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษาและผู้บริหารกระบวนการยุติธรรม ได้ชื่อว่าใจซื่อมือสะอาด ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม รวมทั้งมีความกล้าหาญในการพิจารณาพิพากษาตัดสินคดีต่างๆ ด้วยความรอบคอบ ลึกซึ้ง ผลงานด้านการพิพากษาจึงถือเป็นบรรทัดฐานในลำดับถัดมา ในขณะที่เป็นผู้บริหารกระบวนการยุติธรรม ได้เพียรพยายามสร้างเสริมความก้าวหน้าให้แก่งานในหน้าที่รับผิดชอบเสมอมานอกจากนี้ ยังได้อุทิศตนให้เป็นประโยชน์แก่วงวิชาการนิติศาสตร์และกิจสาธารณะประโยชน์อื่นๆ อาทิ ดำรงตำแหน่งกรรมการเนติบัณฑิตยสภาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ  เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา  และกรรมการมูลนิธิแก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์ผู้กระทำผิด กรมควบคุมประพฤติกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น จนได้รับการยกย่องให้เป็น“บุคคลตัวอย่าง” ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ จากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย และได้รับการเชิดชูให้เป็น “นักบริหารดีเด่นด้านสาขาการปกครอง” บำพ็ญประโยชน์ต่อสังคมไทยจากมูลนิธิเพื่อสังคมไทยและหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจ ในด้านวิชาการ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ มีผลงานทางวิชาการจำนวนมาก กล่าวจำเพาะที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับและเป็นเอกสารอ้างอิงสำคัญแก่ผู้สนใจทั่วไปได้แก่ คำอธิบายประมวลกฎหมายอาญาภาคความผิด มาตรา 288 ถึงมาตารา 366

ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549)

คำพิพากษาส่วนตัวในคดียุบพรรค หม่อมหลวงไกรฤกษ์ ตัดสินให้ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด 111 คน เป็นเวลา 5 ปี หลังจากนี้ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ ได้ออกมาเปิดเผยว่า ระหว่างพิจารณาคดียุบพรรคมีผู้มาให้สินบนเป็นเงินจำนวนหลายล้านบาท เพื่อไม่ให้ยุบพรรคไทยรักไทยด้วย[3]

ในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยรังสิตมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ การเมือง แก่ หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์ พร้อมกับ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และ นายสนธิ ลิ้มทองกุล และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งหม่อมหลวงไกรฤกษ์เป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2554[4]

วันที่ 25 ธันวาคม 2561 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1, กฎหมายเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง) ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ถึงปัจจุบัน [5] [6]

ใกล้เคียง

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช หม่อมเป็ดสวรรค์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

แหล่งที่มา

WikiPedia: หม่อมหลวงไกรฤกษ์_เกษมสันต์ http://thaitribune.org/contents/detail/302?content... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/... http://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/files/Data_... https://hilight.kapook.com/view/30915 https://mgronline.com/crime/detail/9500000092522 https://mgronline.com/politics/detail/950000006204...