งานการเมือง ของ หลวงอังคณานุรักษ์_(สมถวิล_เทพาคำ)

หลวงอังคณานุรักษ์ ได้เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 เป็นสมาชิกวุฒิสภา (ในสัดส่วนของ ส.ส.)[6] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ครั้งแรกในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 14 เมื่อปี พ.ศ. 2489 และครั้งที่สอง ในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 19 เมื่อปี พ.ศ. 2490

ต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 ซึ่งในการดำรงตำแหน่งวาระนี้ หลวงอังคณานุรักษ์ ได้มีส่วนร่วมในการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ขึ้นใหม่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[7] จากนั้นในเดือนเมษายนของปีเดียวกัน ได้มีการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491 และมีการแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491 ซึ่งหลวงอังคณานุรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นด้วย[8]

ต่อมาย้ายมาลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

ใกล้เคียง

หลวงอาวุธวิเศษประเทศพานิช (โรเบิร์ต ฮันเตอร์) หลวงอิงคศรีกสิการ (อินทรี จันทรสถิตย์) หลวงอิศรางกูรเสนีย์ (หม่อมหลวงแช่ม อิศรางกูร) หลวงอธึกเทวเดช (บุญเจียม โกมลมิศร์) หลวงอาสาสำแดง (แตง) หลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี) หลวงอังคณานุรักษ์ (สมถวิล เทพาคำ) หลวงอรรถพรพิศาล (อัมพร สูตะบุตร) หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา) หลวงอามาตย์ราชวงษา (อำนาจ รามางกูร)