หลอดลมฝอยอักเสบ
หลอดลมฝอยอักเสบ

หลอดลมฝอยอักเสบ

หลอดลมฝอยอักเสบ (อังกฤษ: bronchiolitis) คือภาวะที่มีการอักเสบของหลอดลมส่วนล่างซึ่งมีขนาดเล็กเรียกว่าหลอดลมฝอย มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส[1] ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี[2] ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ไอ น้ำมูกไหล หายใจมีเสียงหวีด และหายใจลำบาก หากมีอาการรุนแรงอาจมีอาการหอบเหนื่อย สังเกตได้จากการที่มีปีกจมูกบาน หายใจมีเสียงอุดกั้น หรือมีหน้าอกบุ๋มขณะหายใจ[1] หากไม่สามารถกินอาหารหรือน้ำได้เพียงพออาจมีอาการแสดงของภาวะขาดน้ำร่วมด้วย[1]เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือไวรัสอาร์เอสวี (72%) หรือไวรัสหวัด (26%)[2] การวินิจฉัยทำได้โดยพิจารณาจากอาการ[1] การตรวจพิเศษอย่างอื่นเช่นการตรวจเอกซเรย์ปอดหรือการตรวจเพาะเชื้อไวรัสมักไม่มีความจำเป็น[2]โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาจำเพาะ[3] ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาแบบประคับประคองอาการได้ที่บ้าน[1] บางรายอาจต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลเพื่อใช้ออกซิเจน ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือเพื่อเสริมอาหาร[1] ข้อมูลจากการวิจัยในปัจจุบันบ่งชี้ว่าการพ่นด้วยสารละลายน้ำเกลือความเข้มข้นสูงอาจช่วยได้[5] ส่วนการรักษาอื่นๆ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาต้านไวรัส ยาขยายหลอดลม หรือการพ่นด้วยอะดรีนาลีน ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะใช้ได้ผล[6]เด็กราว 10-30% จะเคยป่วยเป็นหลอดลมฝอยอักเสบอย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อน 2 ปี[1][2] โรคนี้พบได้บ่อยในฤดูหนาว[1] ในรายที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลจะมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 1%[4] โรคนี้มีการระบาดเป็นระยะ การระบาดครั้งที่มีบันทึกไว้เกิดขึ้นเมื่อทศวรรษ 1940[7]

หลอดลมฝอยอักเสบ

อาการ Fever, cough, runny nose, wheezing, breathing problems[1]
สาขาวิชา Emergency medicine, pediatrics
ความชุก ~20% (children less than 2)[2][1]
สาเหตุ Viral infection (respiratory syncytial virus, human rhinovirus)[2]
วิธีวินิจฉัย Based on symptoms[1]
ภาวะแทรกซ้อน Respiratory distress, dehydration[1]
การรักษา Supportive care (oxygen, support with feeding, intravenous fluids )[3]
การเสียชีวิต 1% (among those hospitalized)[4]
การตั้งต้น Less than 2 years old[2]
โรคอื่นที่คล้ายกัน Asthma, pneumonia, heart failure, allergic reaction, cystic fibrosis[1]