หลอดลมโป่งพอง
หลอดลมโป่งพอง

หลอดลมโป่งพอง

หลอดลมโป่งพอง (อังกฤษ: bronchiectasis) คือภาวะที่บางส่วนของทางหายใจในปอดขยายขนาดขึ้นอย่างถาวร[5] ผู้ป่วยมักมีอาการไอเรื้อรังแบบมีเสมหะ[3] อาการอื่นๆ เช่น หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด และเจ็บหน้าอก[2] อาจมีอาการหายใจมีเสียงหวีดหรือนิ้วปุ้มร่วมด้วยก็ได้ ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการติดเชื้อในปอดซ้ำได้บ่อยๆ[8]หลอดลมโป่งพองอาจเป็นผลจากโรคติดเชื้อหรือโรคที่ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิดได้หลายอย่าง เช่น ปอดอักเสบ วัณโรค ภูมิคุ้มกันผิดปกติ และอาจเป็นจากโรคทางพันธุกรรมตั้งแต่กำเนิด เช่น ซิสติกไฟโบรซิส[11][3][12] ซึ่งผู้ป่วยซิสติกไฟโบรซิสแทบทุกคนในที่สุดแล้วจะมีภาวะหลอดลมโป่งพองรุนแรงตามมาได้[13] หากไม่นับรายที่เกิดจากซิสติกไฟโบรซิสแล้วผู้ป่วยหลอดลมโป่งพองร้อยละ 10-50 เกิดขึ้นโดยที่ไม่พบสาเหตุ[3] กลไกของโรคนี้คือเกิดการอักเสบมากเกินไปจนทางหายใจถูกทำลาย[3] หลอดลมที่ได้รับผลกระทบจะขยายใหญ่และสูญเสียความสามารถในการระบายสารคัดหลั่ง[3] สารคัดหลั่งเหล่านี้จะทำให้มีเชื้อแบคทีเรียในเนื้อปอดมากขึ้น ทำให้เกิดการอุดตันทางหายใจ และทำลายทางหายใจให้แย่ลงไปอีก[3] โรคนี้ถือเป็นโรคปอดอุดกั้นชนิดหนึ่ง โรคอื่นๆ ในกลุ่มนี้ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) และโรคหืด[14] การวินิจฉัยเริ่มจากการสงสัยจากอาการ และยืนยันการวินิจฉัยด้วยการทำซีทีสแกน[7] การเพาะเชื้อจากเสมหะอาจมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยรายที่มีอาการแย่ลงโดยเฉียบพลัน และควรทำอย่างน้อยปีละครั้ง[7]

หลอดลมโป่งพอง

อาการ ไอมีเสมหะ, หายใจลำบาก, เจ็บหน้าอก[2][3]
สาขาวิชา วิทยาปอด
การออกเสียง
ระยะดำเนินโรค ระยะยาว[5]
การรักษา ยาปฏิชีวนะ, ยาขยายหลอดลม, การปลูกถ่ายปอด[3][8][9]
การตั้งต้น ค่อยเป็นค่อยไป[4]
ความชุก 1–250 ต่อ 250,000 ประชากร (ผู้ใหญ่)[10]
โรคอื่นที่คล้ายกัน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคปอดจากแร่ใยหิน, ท่อลมและหลอดลมอ่อน
สาเหตุ การติดเชื้อ, ซิสติกไฟโบรซิส, โรคพันธุกรรม, ไม่ทราบสาเหตุ[3][6]
วิธีวินิจฉัย วินิจฉัยจากอาการ, ซีทีสแกน[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: หลอดลมโป่งพอง http://www.diseasesdatabase.com/ddb1684.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=494 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=748.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23145413 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23898922 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25289486 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28613561 http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... //doi.org/10.1164%2Frccm.201303-0411CI