ปริมาณกำลังที่ใช้ ของ หลักการใช้กำลัง

เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายควรใช้กำลังตามแต่สมควรเพื่อควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งการจับกุม การป้องกันตนเองหรือผู้อื่นจากอันตราย โดยระดับการใช้กำลังของตำรวจประกอบไปด้วย การใช้คำพูดหรือคำสั่งในการยับยั้งเหตุการณ์นั้น การใช้กำลังทางกายภาพในการยับยั้งหรือยุติเหตุการณ์นั้น ไปจนถึงการใช้กำลังไม่ถึงชีวิต และการใช้กำลังถึงชีวิต[7][8]

ระดับการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่จะแปรผันตามความรุนแรงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ในการเผชิญเหตุการณ์ต่าง ๆ[9] และประสบการณ์ส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ โดยมีเป้าหมายคือการควบคุมสถานการณ์ให้รวดเร็วที่สุดและปกป้องประชาชน การใช้กำลังจึงเป็นทางเลือกสุดท้ายของเจ้าหน้าที่ เมื่อแนวทางอื่นในการควบคุมเหตุการณ์หรือสถานการณ์ขณะนั้นไม่ได้ผล[7]

สิ่งที่ตามมาหลังจากการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่คือการบาดเจ็บ เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในขณะนั้นต้องตรวจสอบหลังจากควบคุมสถานการณ์ว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ผู้ได้รับบาดเจ็บได้รับการปฐมพยาบาลหรือความช่วยเหลือทางการแพทย์แล้วหรือยัง และแจ้งให้ญาติผู้ได้รับบาดเจ็บได้รับทราบ[7]

การใช้กำลังเกินกว่าเหตุ

หลายครั้งเจ้าหน้าที่ถูกระบุว่าใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[10]โดยไม่สมควรแก่เหตุ ซึ่งขัดกับกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน[11]

ใกล้เคียง

หลักการใช้กำลัง หลักการอิสลาม หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์ หลักการของอาร์คิมิดีส หลักการสิบสี่ข้อ หลักกิโลเมตร หลักการสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟ หลักการของเฮยเคินส์ หลักการศรัทธา หลักการกีดกันของเพาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: หลักการใช้กำลัง http://songmetta.com/security/manual/07force.pdf http://edupol.org/Page/4.Published%20documents/06m... http://live.siammedia.org/index.php/article/kid/49... http://thaicrimes.org/download/%E0%B8%9A%E0%B8%97%... https://identitydefence.blog/the-force-continuum-a... https://themomentum.co/economiccrunch-police-camer... https://www.dnainfo.com/chicago/20151231/downtown/... https://caselaw.findlaw.com/us-supreme-court/471/1... https://books.google.com/books?id=nmiMgiDdig4C&new... https://prachatai.com/journal/2020/01/86038