หลักการใช้กำลังของแต่ละประเทศ ของ หลักการใช้กำลัง

ไทย

สำนักงานตำรวจแห่งชาติของประเทศไทยอิงหลักการใช้กำลังมาจากประเทศสหรัฐ[16] โดยสามารถแบ่งเป็นสององค์ประกอบหลักตามแผนผังได้ดังนี้

การจำแนกพฤติกรรมของผู้ต้องสงสัย

การจำแนกพฤติกรรมของผู้ต้องสงสัย หรือผู้กระทำผิด แบ่งเป็น 3 ประเภท[17] คือ

  1. ให้ความร่วมมือ ประกอบไปด้วย
    1. การให้ความร่วมมือโดยไม่ต้องออกคำสั่ง เจ้าหน้าที่ต้องรักษาระยะห่างตามความเหมาะสม และต้องไม่ลดระดับการระมัดระวังป้องกันตัวเอง จนกว่าจะมีการควบคุมตัวที่ถูกต้องตามยุทธวิธี และตรวจค้นจนมั่นใจว่าปลอดภัย
    2. การให้ความร่วมมือตามการออกคำสั่ง โดยตอบสนองต่อคำสั่งเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องสั่งด้วยคำพูดและท่าทางที่สมควรแก่เหตุ ต้องไม่ลดระดับการระมัดระวังป้องกันตัวเอง จนกว่าจะมีการควบคุมตัวที่ถูกต้องตามยุทธวิธี และตรวจค้นจนมั่นใจว่าปลอดภัย
  2. ขัดขืน ประกอบไปด้วย
    1. การนิ่งเฉย ไม่ยอมทำตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ แม้จะเป็นการนิ่งเฉยเพื่อขัดขืนโดยสันติ แต่ก็ถือว่าเป็นอุปสรรคต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน จนทำให้ต้องเข้าดำเนินการใกล้กับผู้ต้องสงสัยจนเกินระยะปลอดภัย ต้องระวังการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว ไม่ลดท่าทีการเฝ้าระวังจนกว่าจะมีการควบคุมตัวที่ถูกต้องตามยุทธวิธี และตรวจค้นจนมั่นใจว่าปลอดภัย
    2. การเคลื่อนไหว เพื่อหลีกเลี่ยงการทำตามคำสั่ง แม้จะเป็นการเคลื่อนไหวโดยสันติหรือพยายามที่จะหลบหนี ให้ปฏิบัติด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะการใช้เครื่องมือทางยุทธวิธี เนื่องจากมีความละเอียดอ่อนในการตัดสินใจ และอาจมีแนวโน้มในการตอบโต้ของผู้ต้องสงสัย
  3. ทำร้าย ประกอบไปด้วย
    1. การทำโดยปราศจากอาวุธ ผู้ต้องสงสัยขัดขืนและไม่ทำตามคำสั่ง ต้องระวังการซุกซ่อนอาวุธในการใช้ทำร้ายหรือตอบโต้เจ้าหน้าที่ จนกว่าจะมีการควบคุมตัวที่ถูกต้องตามยุทธวิธี และตรวจค้นจนมั่นใจว่าปลอดภัย
    2. การทำให้อันตรายบาดเจ็บต่อร่างกาย ผู้ต้องสงสัยขัดขืนและไม่ทำตามคำสั่ง โดยการทำร้ายโดยอาจจะจากอาวุธหรือวัสดุที่เป็นอาวุธได้โดยสภาพ ต้องระหวังการตอบโต้ จนกว่าจะมีการควบคุมตัวที่ถูกต้องตามยุทธวิธี และตรวจค้นจนมั่นใจว่าปลอดภัย
    3. การกระทำที่เชื่อว่าจะก่อให้เกิดอันตรายด้วยการบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิต ผู้ต้องสงสัยขัดขืนและไม่ทำตามคำสั่ง มีการตอบโต้เจ้าหน้าที่โดยเชื่อว่าจะส่งผลสาหัสหรือถึงชีวิตเจ้าหน้าที่ ด้วยอาวุธ วัตถุอื่นที่ไม่ใช่อาวุธโดยสภาพ ต้องระมัดระวังจนกว่าจะมีการควบคุมตัวที่ถูกต้องตามยุทธวิธี และตรวจค้นจนมั่นใจว่าปลอดภัย

การปฏิบัติ

หลักการใช้กำลังของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประเทศไทย

ระดับการใช้กำลังจะถูกเริ่มต้นจากระดับที่น้อยที่สุดเป็นลำดับจนไปสู่ระดับสูงที่สุด โดยสามารถปรับเพิ่มระดับตามสถานการณ์ที่อยู่ตรงหน้าที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว[18][19][20] ประกอบไปด้วย

  1. การปรากฎตัวของเจ้าหน้าที่ (Officer Presence) เป็นระดับที่เบาสุดซึ่งไม่ต้องใช้กำลัง เพียงการปรากฎตัวของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในเครื่องแบบ หรือการปรากฎตัวของรถสายตรวจก็เพียงพอแล้วในการป้อมปรามหรือยับยั้งอาชญากรรมที่กำลังจะเกดขึ้น เพราะผู้กระทำผิดมีโอกาสสูงที่จะถูกพบเห็นและจับกุม
  2. การสั่งการด้วยคำพูด (Verbalization) เป็นระดับที่ยังไม่ใช้แรงด้านกายภาพ เป็นการออกคำสั่งสั้น ๆ ที่ไม่คุกคาม หากสั่งการด้วยคำพูดและบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติอาจจะเพิ่มระดับเสียงในการสั่งการและคำพูดที่สั้นลง โดยต้องใช้คำพูดที่เด็ดขาดแต่ไม่เป็นการข่มขู่ อาทิ หยุด หรือ อย่าขยับ
  3. การควบคุมด้วยมือเปล่า (Empty-Hand Control) เป็นการใช้กำลังทางกายภาพในการควบคุมสถานการณ์ โดยปราศจากอาวุธ
  4. การใช้กำลังไม่ถึงชีวิต (Less-Lethal Methods) เป็นการใช้กำลังโดยใช้เทคโนโลยี อุปกรณ์ หรืออาวุธที่ไม่ส่งผลถึงชีวิตเพื่อควบคุมสถานการณ์ โดยอาวุธที่ใช้จะทำให้ผู้ถูกกระทำสูญเสียการต่อต้านหรือเกิดอาการสับสน มึนงง และเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่เข้าควบคุมสถานการณ์ อาทิ การใช้กระบองหรือกระสุนยางเพื่อหยุดยั้ง การใช้สเปรย์เคมี สเปรย์พริกไทย[18] หรือปืนช็อตกระแสไฟฟ้า
  5. การใช้กำลังถึงชีวิต (Lethal Force) เป็นการใช้อาวุธสำหรับสังหารเพื่อเข้าควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ควรใช้ต่อเมื่อเป้าหมายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อเจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่น อาทิ อาวุธปืน เพื่อหยุดการกระทำของบุคคลที่ก่อเหตุนั้น

สหรัฐ

ในสหรัฐอเมริกา มีกรณีศึกษาถึงหลักการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่หลากหลายมาตั้งแต่ในอดีต อาทิ

รัฐเทนเนสซี กับ การ์เนอร์ (พ.ศ. 2528)

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2528 เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี ได้รับแจ้งว่ามีการลักทรัพย์ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไปถึงที่เกิดเหตุ พบผู้กระทำผิด คือการ์เนอร์ กำลังหลบหนี จึงเรียกให้ผู้กระทำผิดหยุด แต่ผู้กระทำผิดไม่ยอมทำตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงยิงไปที่ผู้กระทำผิด ถูกที่ด้านหลังศีรษะเสียชีวิต แม้จะมั่นใจว่าผู้กระทำผิดไม่มีอาวุธ

ศาลฎีกาตัดสินว่าเจ้าหน้าที่สามารถใช้กำลังถึงตายแก่ผู้กระทำผิดได้ก็ต่อเมื่อ เชื่อว่าผู้กระทำผิดมีอาวุธหรือสามารถทำอันตรายถึงชีวิตต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือผู้อื่นได้เท่านั้น[21]

พลัมฮอฟฟ์ กับ ริคการ์ด (พ.ศ. 2557)

วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เจ้าหน้าที่ตำรวจ เวสท์ พลัมฮอฟฟ์ ได้เรียกให้รถยนต์ของ ริคการ์ด ผู้ต้องสงสัยหยุด เนื่องจากไฟหน้ารถใช้การไม่ได้ โดยผู้ต้องสงสัยปรับกระจกหน้ารถเยื้องผิดปกติ และมีอาการพิรุธ เจ้าหน้าที่จึงได้ขอให้ผู้ต้องสงสัยลงจากรถเพื่อตรวจค้น แต่ผู้ต้องสงสัยกลับขับรถหลบหนี และเกิดการไล่ล่าขึ้น พร้อมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกหลายนาย จนกระทั่งรถของผู้ต้องสงสัยเสียหลักเข้าไปในลานจอดรถแห่งหนึ่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ปิดล้อม และลงจากรถเพื่อเข้าจับกุม ผู้ต้องสงสัยได้พยายามหลบหนีอีกครั้ง และทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ ทำให้เจ้าหน้าที่เปิดฉากยิงใส่ริคการ์ด จำนวน 15 นัด ทำให้ริคการ์ด และผู้โดยสารบนรถเสียชีวิต

ศาลตัดสินว่าการใช้กำลังดังกล่าวสมเหตุสมผลตามระดับการใช้กำลังถึงตาย ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงที่เกิดตามสถานการณ์ดังกล่าวที่ได้เผชิญหน้า ไม่ใช่หลังจากเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว[22]

สหราชอาณาจักร

ในสหราชอาณาจักร ส่วนของอังกฤษและเวลล์ มีการะบุถึงการใช้กำลัง (ตามสมควร) ของตำรวจหรือบุคคลอื่นใด ตามาตตรา 3 ของกฎหมายอาญา พ.ศ. 2510 (ค.ส.1967) ระบุไว้ว่า

บุคคลอาจใช้กำลังตามความเหมาะสมในการป้องกันการเกิดอาชญากรรม หรือการบังคับใช้ หรือการช่วยเหลือในการจับกุมผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องสงสัยโดยชอบด้วยกฎหมาย

การใช้กำลังนั้นจึงอาจจะถือได้ว่าชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นไปตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและสมเหตุสมผล[23]

ใกล้เคียง

หลักการใช้กำลัง หลักการอิสลาม หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์ หลักการของอาร์คิมิดีส หลักการสิบสี่ข้อ หลักกิโลเมตร หลักการสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟ หลักการของเฮยเคินส์ หลักการศรัทธา หลักการกีดกันของเพาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: หลักการใช้กำลัง http://songmetta.com/security/manual/07force.pdf http://edupol.org/Page/4.Published%20documents/06m... http://live.siammedia.org/index.php/article/kid/49... http://thaicrimes.org/download/%E0%B8%9A%E0%B8%97%... https://identitydefence.blog/the-force-continuum-a... https://themomentum.co/economiccrunch-police-camer... https://www.dnainfo.com/chicago/20151231/downtown/... https://caselaw.findlaw.com/us-supreme-court/471/1... https://books.google.com/books?id=nmiMgiDdig4C&new... https://prachatai.com/journal/2020/01/86038