หลักสากลต่อการใช้กำลัง ของ หลักการใช้กำลัง

การใช้กำลังระหว่างปรเทศ

หลักการใช้กำลังตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ถือเป็นเครื่องมือสุดท้ายในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยถือเอากฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) เป็นหลัก ซึ่งระบุไว้ในกฎบัตรข้อ 2 วรรคที่สี่ ว่าประเทศสมาชิกจะต้องละเว้นจากการคุกคามหรือใช้กำลังต่อบูรณาภาพในอาณาเขตของรัฐใด ในขณะเดียวกันข้อ 51[12] ก็ได้ระบุไว้ว่าประเทศสมาชิกสามารถใช้กำลังต่อกันได้ หากเป็นไปเพื่อการป้องกันตนเอง[13]

สำหรับหลักในการป้องกันตนเองของชาติสมาชิกจะมีเงื่อนไขดังนี้

  1. การป้องกันตนเองจะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดการใช้อาวุธโจมตี (Armed Attack) จากฝั่งตรงข้ามก่อนเสมอ
  2. จะต้องแจ้งต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติโดยทันทีเมื่อมีการใช้กำลังในการป้องกันตนเอง

สำหรับนิยามของการใช้อาวุธโจมตี (Armed Attack) ต่อประเทศสมาชิกนั้นก็คือความหมายเดียวกับการรุกราน (Aggression) โดยที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ให้ความหมายไว้ในคำพิพากษาระหว่างประเทศนิคารากัวกับสหรัฐอเมริกาไว้ว่า เป็นการล้ำพรมแดนระหว่างประเทศโดยใช้กองกำลังทางหทาร ในทุกรูปแบบ ทั้งการรบแบบตามแบบ การรบแบบกองโจร และการโจมตีด้วยอาวุธ[12]ต่อประเทศหรือรัฐอื่น[13]

นอกจากนี้ จากคดีระหว่างประเทศนิคารากัวกับสหรัฐอเมริกา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้วางหลักเพื่อไม่ให้ประเทศสมาชิกใช้ข้อบังคับข้อที่ 51 ในการแก้แค้น (retaliation) ซึ่งผิดกฎหมายระหว่างประเทศ[13] ประกอบไปด้วย

  1. ในการป้องกันตนเอง จะต้องพิจารณาถึงสถานการณ์ขณะนั้นว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในการใช้กำลังต่อกัน เนื่องจากการใช้กำลังต้องเป็นเครื่องมือสุดท้ายในการแก้ไขปัญหา
  2. ในการป้องกันตนเอง จะต้องคำถึงถึงความได้สัดส่วน คือการตอบโต้แบบสมควรแก่เหตุที่เกิดขั้น
  3. ในการป้องกันตนเอง จะต้องตอบโต้แบบฉับพลัน หรือทันทีทันใด ไม่ใช่ให้ระยะเวลาผ่านไปนานแล้วจึงตอบโต้กลับไป

หลักสากลต่อการใช้กำลังในการชุมนุม

หลักสากลในการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ถูกกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ ใน หลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย (Basic Principles of the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials) ในข้อที่ 13 และ 14 ได้กำหนดไว้ว่า[14][15]

  • หากการชุมนุมนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่นำไปสู่ความรุนแรง เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงที่จะใช้ความรุนแรง หรือหากจำเป็นจะต้องใช้กำลังจะต้องใช้เท่าที่จำเป็นและในระดับต่ำที่สุดเท่าที่ทำได้
  • หากการชุมนุมนั้นเป็นเหตุไปสู่ความรุนแรง เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายใช้อาวุธได้ หากไม่สามารถใช้มาตรการอื่นที่รุนแรงน้อยไปกว่านี้ได้ และต้องใช้เท่าที่จำเป็น

ใกล้เคียง

หลักการใช้กำลัง หลักการอิสลาม หลักการตั้งชื่อทางดาราศาสตร์ หลักการของอาร์คิมิดีส หลักการสิบสี่ข้อ หลักกิโลเมตร หลักการสอดคล้องในตัวเองของนาวิคอฟ หลักการของเฮยเคินส์ หลักการศรัทธา หลักการกีดกันของเพาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: หลักการใช้กำลัง http://songmetta.com/security/manual/07force.pdf http://edupol.org/Page/4.Published%20documents/06m... http://live.siammedia.org/index.php/article/kid/49... http://thaicrimes.org/download/%E0%B8%9A%E0%B8%97%... https://identitydefence.blog/the-force-continuum-a... https://themomentum.co/economiccrunch-police-camer... https://www.dnainfo.com/chicago/20151231/downtown/... https://caselaw.findlaw.com/us-supreme-court/471/1... https://books.google.com/books?id=nmiMgiDdig4C&new... https://prachatai.com/journal/2020/01/86038