หลักความไม่แน่นอน

หลักการทางคณิตศาสตร์Measurement · หลักความไม่แน่นอน
หลักการกีดกัน · ทวิภาพ
Decoherence · Ehrenfest theorem · Tunnelingในวิชาควอนตัมฟิสิกส์ หลักความไม่แน่นอนของไฮเซนแบร์ก (อังกฤษ: Heisenberg uncertainty principle) กล่าวว่า คู่คุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่แน่นอนใดๆ เช่น ตำแหน่งและโมเมนตัม จะไม่สามารถทำนายสภาวะล่วงหน้าได้อย่างแน่นอน ยิ่งเรารู้ถึงคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งอย่างละเอียด ก็ยิ่งทำนายคุณสมบัติอีกข้อหนึ่งได้ยากยิ่งขึ้น หลักการนี้มิได้กล่าวถึงข้อจำกัดของความสามารถของนักวิจัยในการตรวจวัดปริมาณสำคัญของระบบ แต่เป็นธรรมชาติของตัวระบบเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นไปไม่ได้ที่จะวัดทั้งตำแหน่งและความเร็วของอนุภาคในเวลาเดียวกันด้วยระดับความแน่นอนหรือความแม่นยำใดๆ ก็ตามสำหรับกลศาสตร์ควอนตัม เราสามารถอธิบายอนุภาคได้ด้วยคุณสมบัติของคลื่น ตำแหน่ง คือที่ที่คลื่นอยู่อย่างหนาแน่น และโมเมนตัมก็คือความยาวคลื่น ตำแหน่งนั้นไม่แน่นอนเมื่อคลื่นกระจายตัวออกไป และโมเมนตัมก็ไม่แน่นอนในระดับที่ไม่อาจระบุความยาวคลื่นได้คลื่นที่มีตำแหน่งแน่นอนมีแต่เพียงพวกที่เกาะกลุ่มกันเป็นจุดๆ เดียว และคลื่นชนิดนั้นก็มีความยาวคลื่นที่ไม่แน่นอน ในทางกลับกัน คลื่นที่มีความยาวคลื่นแน่นอนมีเพียงพวกที่มีคาบการแกว่งตัวปกติแบบไม่จำกัดในอวกาศ และคลื่นชนิดนี้ก็ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้ ดังนั้นในกลศาสตร์ควอนตัม จึงไม่มีสภาวะใดที่สามารถบอกถึงอนุภาคที่มีทั้งตำแหน่งที่แน่นอนและโมเมนตัมที่แน่นอน ยิ่งสามารถระบุตำแหน่งแน่นอนได้แม่นเท่าไร ความแน่นอนของโมเมนตัมก็ยิ่งน้อยนิพจน์ทางคณิตศาสตร์สำหรับหลักการนี้คือ ทุกๆ สถานะควอนตัมมีคุณสมบัติการเบี่ยงเบนของค่าเฉลี่ยกำลังสอง (RMS) ของตำแหน่งจากค่าเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของการกระจายของ X) :คูณด้วยค่าเบี่ยงเบน RMS ของโมเมนตัมจากค่าเฉลี่ย (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ P) :จะต้องไม่น้อยกว่าเศษส่วนค่าคงที่ของพลังค์ :ค่าวัดใดๆ ของตำแหน่งด้วยความแม่นยำ Δ X {\displaystyle \scriptstyle \Delta X} ที่ทลายสถานะควอนตัม ทำให้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของโมเมนตัม Δ P {\displaystyle \scriptstyle \Delta P} ใหญ่กว่า ℏ / 2 Δ x {\displaystyle \scriptstyle \hbar /2\Delta x}

หลักความไม่แน่นอน

ภูมิหลังหลักการพื้นฐานการทดลองFormulationsสมการการตีความหัวข้อศึกษายุคใหม่นักวิทยาศาสตร์ ความรู้เบื้องต้น

หลักการทางคณิตศาสตร์

ภูมิหลัง
กลศาสตร์ดั้งเดิม
ทฤษฎีควอนตัมแบบเก่า
Interference · สัญกรณ์บรา-เค็ท
Hamiltonian
หลักการพื้นฐาน
Quantum state · ฟังก์ชันคลื่น
Superposition · เอนแทงเกิลเมนต์

Measurement · หลักความไม่แน่นอน
หลักการกีดกัน · ทวิภาพ
Decoherence · Ehrenfest theorem · Tunneling

การทดลอง
Double-slit experiment
Davisson–Germer experiment
การทดลองของสเติร์น-เกอร์แลค
Bell's inequality experiment
Popper's experiment
แมวของชเรอดิงเงอร์
Elitzur-Vaidman bomb-tester
Quantum eraser
Formulations
Schrödinger picture
Heisenberg picture
ภาพแบบอันตรกิริยา
กลศาสตร์เมทริกซ์
Sum over histories
สมการ
สมการของเพาลี
สมการของไคลน์–กอร์ดอน
สมการของดิแรก
ทฤษฎีของบอร์และสมการของบัลเมอร์-ริดเบอร์ก
การตีความ
โคเปนเฮเกน · Ensemble
Hidden variable theory · Transactional
Many-worlds · Consistent histories
Relational · Quantum logic · Pondicherry
หัวข้อศึกษายุคใหม่
ทฤษฎีสนามควอนตัม
ทฤษฎีโน้มถ่วงเชิงควอนตัม
ทฤษฎีแห่งสรรพสิ่ง
นักวิทยาศาสตร์
พลังค์ · ไอน์สไตน์ · บอร์ · ซอมเมอร์เฟลด์ · โพส · เครเมอร์ส · ไฮเซนแบร์ก· บอร์น · จอร์แดน · เพาลี · ดิแรก · เดอ เบรย ·ชเรอดิงเงอร์ · ฟอน นอยมันน์ · วิกเนอร์ · ไฟน์แมน · Candlin · บอห์ม · เอฟเรตต์ · เบลล์ · เวน

ใกล้เคียง

หลักความไม่แน่นอน หลักคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ หลักความสอดคล้องในตัวเองของนาฟวิคัฟ หลักการคิสส์ หลักสูตร หลักระวังไว้ก่อน หลักการใช้กำลัง หลักสูตรออกแบบตกแต่งภายในในประเทศไทย หลังคาเขียว หลักฐานโดยเรื่องเล่า

แหล่งที่มา

WikiPedia: หลักความไม่แน่นอน http://www.lightandmatter.com/html_books/6mr/ch04/... http://www.mathpages.com/home/kmath488/kmath488.ht... http://www.springerlink.com/content/f7492v6374716m... http://scienceworld.wolfram.com/physics/Uncertaint... http://osulibrary.oregonstate.edu/specialcollectio... http://plato.stanford.edu/entries/qt-uncertainty/ http://math.ucr.edu/home/baez/uncertainty.html http://xxx.lanl.gov/abs/quant-ph/0512223 http://www.aip.org/history/heisenberg/p08.htm http://web.archive.org/20060720232618/daarb.narod....