ทฤษฎีกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ของ หลักและกฎทางธรณีวิทยา

ทฤษฎีกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (อังกฤษ: Plate Tectonics) เกิดจากการรวมเอาทฤษฎีทวีปลอย (Continental Drift) ซึ่งกล่าวถึงการแยกออกจากกันเป็นแผ่นๆ พร้อมทั้งเคลื่อนตัวออกจากกันของแผ่นทวีปโลกในอดีต และรวมเอาทฤษฎีพื้นมหาสมุทรแยก (Seafloor Spreading) ที่พบการแยกตัวออกจากกันของแผ่นมหาสมุทรและแนวยาวของภูเขาไฟในกลางมหาสมุทร โดยที่ทฤษฎีกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกนั้นใช้อธิบายการเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลกเนื่องจากความเค้นอันเป็นผลจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้ได้โครงสร้างทางธรณีวิทยา เช่น ชั้นหินคดโค้ง รอยเลื่อน หรือโครงสร้างอื่นๆ

ทฤษฎีกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเป็นที่ยอมรับกันในจากผลการศึกษาและตีพิมพ์เผยแพร่ของ ไบรอัน ไอแสค, แจ็ค โอลิเวอร์ และลินน์ เซคส์ ในปี 1968 และเป็นที่น่าสังเกตว่า ทฤษฎีนี้มีความสำคัญต่อการอธิบายที่มาของปรากฏการณ์ของโครงสร้างต่างๆ และเป็นตัวการที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะของแผ่นเปลือกโลก

ทฤษฎีดังกล่าวเป็นทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับและนำมาอ้างอิงเหตุผลในการเกิดของเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างในปัจจุบัน เช่น การเกิดภูเขา ว่าเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น ทำให้เกิดการดันตัวของแผ่นเปลือกโลกที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าขึ้นมากลายเป็นภูเขา ฯลฯ หากเราก็เพิ่งจะทราบถึงกลไกการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเมื่อ 40 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ดังนั้นในอดีตจึงมีคำอธิบายลักษณะที่ปรากฏต่างๆ ของโลก เช่น การเกิดภูเขา ฯลฯ ในหลักที่เกิดขึ้นจริงได้น้อยมาก ยกตัวอย่างเช่น ในอดีตมีคำอธิบายถึงการเกิดภูเขา ว่าเกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกให้สูงขึ้น หรือชั้นหินคดโค้งและรอยเลื่อน นั้นเป็นผลจากการเลื่อนไถลขนาดใหญ่ (Mega-Landslide) ตามแรงโน้มถ่วง ฯลฯ

ใกล้เคียง