หลักการตั้งหลายสมมติฐาน ของ หลักและกฎทางธรณีวิทยา

หลักการนี้เป็นกรอบความคิดที่สำคัญ ที่จะช่วยให้สามารถมองเห็นปัญหา และสามารถหาคำตอบได้เมื่อมีการตั้งสมมติฐานของความน่าจะเป็นขึ้นมา เช่น เมื่อพบรอยสัมผัสของหินสองหน่วย ความน่าจะเป็นของรอยสัมผัส ที่ควรจะตั้งสมมติฐาน คือ
(1) เป็นรอยสัมผัสจากหินอัคนี (Intrusive Contact)
(2) เป็นรอยสัมผัสจากการเลื่อน (Fault Contact)
(3) เป็นรอยสัมผัสจากความไม่ต่อเนื่อง (Unconformity Contact)

จากสมมติฐานทั้ง 3 ข้อ ช่วยทำให้สามารถหาคำตอบโดยตั้งสมมติฐาน เพื่อทำการสำรวจในสนาม เช่น ถ้าสมมติฐานข้อที่ 1 ถูก ในสนามจะต้องเห็นรอยสัมผัสที่มีการแปรสภาพ ถ้าสมมติฐานข้อที่ 2 ถูก ในสนามจะต้องเห็นการบดอัดหรือครูดกันของหินและถ้าสมมติฐานข้อที่ 3 ถูก ในสนามจะต้องเห็นร่องรอยการผุกร่อนของบริเวณรอยต่อ การตั้งสมมติฐานมากๆ จะช่วยเป็นแนวทางให้เราสามารถวิเคราะห์และหาคำตอบของปัญหาได้อย่างถูกต้อง

ใกล้เคียง