ขุมทรัพย์แห่งตำราต่างๆ ของ หอสมุดอะยาตุลลอฮ์มัรอะชีย์นะญะฟีย์

  1. เป็นคลังตำราฉบับลายมือ , ฉบับเขียนบนแผ่นหิน ซึ่งจบเจอได้น้อยมาก. ในปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๔๖) มีอยู่ ๖๐,๐๐๐ เรื่อง และ ๓๑,๐๐๐ เล่ม เป็นตำราฉบับลายมือเกี่ยวกับเรื่อง ฟิกฮ์และอุศูล (สาขานิติศาสตร์) , กะลามและอะกออิด (สาขาเทววิทยา) , มันติกและฟัลซะฟะฮ์ (สาขาตรรกศาสตร์และปรัชญา) , อิรฟานและตะเซาวุฟ (สาขารหัสย) , ฮะดีษ (สาขาวัจนะศาสดา) , ซึ่งเป็นภาษาอาหรับประมาณ ๖๕ เปอร์เซ็น และที่เหลือเป็นภาษาเปอร์เซีย ตุรกี อุรดู และภาษาอื่นๆ. อีกทั้งตำราต่างๆ เหล่านี้ก็มีต้นฉบับที่บันทึกโดยเจ้าของตาราเอง ซึ่งเป็นระดับคณาจารย์ที่เป็นที่รู้จักในโลกอิสลามอีกด้วย. ฉบับเก่าแก่ที่สุดซึ่งไม่ได้บันทึกวันเวลาไว้ ที่มีการเก็บรักษาคือคัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับอักษรกูฟีย์ จากปลายทศวรรษที่สองและสามของปีฮิจเราะฮ์. และฉบับเก่าแก่ที่สุดที่มีการบันทึกวันเวลาไว้คือสองส่วนของคัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับอักษรกูฟีย์โดย อะลี บิน ฮิลาล ถูกรู้จักในนาม อิบนิ เบาวาบ และอะบุลฮะซัน อะลี บินฮิลาล. และตำราสองเล่มจากตัฟซีร อัตติบยาน , นะญุลบะลาเฆาะ โดยชะรีฟ รอฎีย์ , เอี๊ยะรอบุลกุรอาน , ฟุรรอฮ์ , บทวิวรจากคัมภีร์อิลญีล (พระวรสาร เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิล) ด้วยอักษรลาติน และคัมภีร์อเวสตะ ด้วยอักษรพะละวีย์ (อักษรเปอร์เซียกลาง).

มากกว่า ๔,๐๐๐ ฉบับ เป็นฉบับภาพเขียน ที่มีอยู่ในห้องสมุดต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีการเก็บรักษาไว้อย่างดี. โดย ๑๒,๐๐๐ ฉบับ ได้ทำเป็นฟิล์มขนาดเล็กแล้ว และมีชุดรวบรวมสารบัญของหนังสือ ที่ตีพิมพ์แล้วของโลกเป็นภาษาต่างๆ และในห้องสมุดนี้มีฉบับตัวอย่างการพิมพ์ที่เก่าแก่และสมบูรณ์ เป็นภาษาอาหรับ เปอร์เซีย ตุรกี ละติน และอาร์เมเนียจากศตวรรษที่ 10 และ 11 ซึ่งเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติในรูปแบบการพิมพ์เก่า. นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์หินมากกว่า 30,000 แผ่นและหาได้ยากในภาษาเปอร์เซีย อาหรับ ตุรกี อุรดู อุสเบกิสตาน และตาตาร์ , ซึ่งเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติล้ำค่าจากการพิมพ์หินที่หายาก.

  1. คลังหนังสือ. มีหนังสือที่ถูกพิมพ์จำนวนกว่า 1,500,000 เล่ม เป็นภาษาเปอร์เซีย อารบิก ตุรกี อูรดู และอื่นๆ ไม่ใช่ภาษาละตินอยู่. นอกจากนี้ยังมีที่เก็บจดหมายเหตุจากหนังสือของพรรคคอมมิวนิสต์และกลุ่มต่อต้านศาสนาและหนังสือต่อต้านศาสนาอิสลามอยู่ด้วย.
  2. คลังวารสาร. ในส่วนนี้มีนิตยสารและหนังสือพิมพ์มากกว่า 2,500 ฉบับ เป็นภาษาเปอร์เซีย อาหรับตุรกี อูรดู และภาษาอื่นๆ. นอกจากนี้ยังมีนิตยสารและหนังสือพิมพ์ต่างๆ ที่พิมพ์จากหินจำนวนมากจากยุคกอญาร และสามารถพบเจอนิตยสารเก่าแก่เป็นภาษาอาหรับเช่นกัน.
  3. คลังเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร. มีเอกสารที่เขียนด้วยลายมือมากกว่า 100,000 ฉบับจากห้าศตวรรษก่อนจนถึงปัจจุบัน. ทั้งหมดนี้ร่วมถึงคำสั่งของกษัตริย์ , กฎหมายการปกครอง , สนธิสัญญาต่างๆ และอื่น...
  4. คลังเอกสารที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร. ประกอบด้วยวัตถุต่างๆ เช่นเหรียญ แสตมป์เก่า อัลบั้มภาพเก่าโทนสี เทปเสียง วิดีโอดิสก์คอมพิวเตอร์ และภาพขาว – ดำ.
  5. คลังทางภูมิศาสตร์. แผนที่และแผนที่ทางภูมิศาสตร์ทั้งเก่าและใหม่ และแผ่นที่ของประเทศต่างๆ ทั่วโลกซึ่งใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางภูมิศาสตร์ที่เป็นภาษาต่างๆ จะถูกเก็บรักษาไว้ในที่นี้.
  6. คลังผลงานผู้ก่อตั้งหอสมุด. ในส่วนนี้จะจัดเก็บผลงานการเขียนของมัรอะชีย์ นะญะฟีย์เอาไว้.

ใกล้เคียง

หอสมุดอะเล็กซานเดรีย หอสมุดอะยาตุลลอฮ์มัรอะชีย์นะญะฟีย์ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ หอสมุดบัสกอนเซโลส หอสมุดรัฐสภา หอสมุดประชาชนสต็อกโฮล์ม หอสมุดเซี่ยงไฮ้ หอสมุดแห่งชาติคอซอวอ หอสมุดรัฐรัสเซีย หอสมุดประชาชนนิวยอร์ก