ประวัติความเป็นมาและการบริหารจัดการ ของ หอสมุดอะยาตุลลอฮ์มัรอะชีย์นะญะฟีย์

ซัยยิด มะฮ์มูด มัรอะขีย์ บุตรชายของมัรอะชีย์ นะญะฟีย์ ผู้บริหารห้องสมุดกล่าวว่า “ในแง่คุณภาพฉบับหนังสือต่างๆ ที่บันทึกด้วยความประณีตและมีความเก่าแก่อย่างมาก ซึ่งนับว่าเป็นหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในอิหร่าน และเป็นหอสมุดที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และถูกรู้จักในนามศูนย์กลางวัฒนธรมมนานาชาติโลก” หอสมุดนี้ตั้งอยู่ในเมืองกุม (Qom) ห่างจากฮะรัมท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ซูมะฮ์ (Fatima Masomeh) ๑๐๐ เมตร ซึ่งสุสานของผู้ก่อตั้งก็อยู่ใกล้ๆ กัน หอสมุดก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพศ. ๒๕๐๘ และได้รับการพัฒนาใน พ.ศ. ๒๕๒๒ และ พ.ศ. ๒๕๓๑. นักวิชาการที่ได้ใช้ประโยชน์จากห้องสมุดนี้ได้แก่ อับบาส อิกบาล ออชติยานีย์ (Abbas Iqbal Ashtiani) บะดีอุซซะมาน ฟุรูซานฟัร (Badi'al Zaman Foruzanfar) และออกอ โบโซร เตหะรานีย์ (Aqa Taherani). หอสมุดนี้ได้รับทุนสร้างโดยมัรอะชีย์ นะญะฟีย์ และลูกๆ และจากองค์การการกุศลอื่นๆ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๐. ตั้งแต่ปีดังกล่าวหอสมุดกลายเป็นขององค์กรเอกชนโดยไม่เกี่ยวข้องกับรัฐ ซึ่งได้รับงบประมาณประจำปีทุกปี. หอสมุดนี้อยู่ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ , และสอดคล้องกับมาตรา ๒๐๕ แห่งสภาสูงสุดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม , กระทรวงวัฒนธรรมและแนวทางอิสลาม ซึ่งหากมีการจัดพิมพ์หนังสือในประเทศอิหร่าน ทางผู้จัดจำหน่ายจำเป็นต้องมอบสำเนาหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ดังกล่าวไปยังหอสมุดด้วย. การบริหารจัดการหอสมุดเป็นไปตามความประสงค์ของมัรอะชีย์ นะยะฟีย์ คือให้คนในครอบครัวเป็นผู้ดูแลจัดการ. อิมามโคมัยนีย์ได้กล่าวถึงหอสมุดแห่งนี้ว่า “หอสมุดอายาตุลลอฮ์ นะญะฟีย์ มัรอะชีย์ เป็นหอสมุดที่ไม่เหมือนกับห้องสมุดอื่นๆ และสามารถกล่าวได้ว่า ณ อิหร่าน มีอยู่ที่เดียวเท่านั้น” ในหนังสือเรียนภาษาเปอร์เซีย ม. ๒ บทเรียนที่ ๒๘ ได้กล่าวถึงรายงานการเยี่ยมชมหอสมุดดังกล่าว เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาทำความรู้จัก. ผู้อำนวยการหอสมุดได้กล่าวถึงการเยี่ยมชมของบรรดานักพรตชาวยิวซึ่งมีอาการตกตลึงเมื่อเห็นหนังสือที่เขียนด้วยภาษาฮิบรูของชาวยิวว่า “ได้มีคอคอม (พระยิว จากอเมริกา ๓ คน และอังกฤษ ๒ คน) ได้มาเยือนอิหร่าน โดยพวกเขามีเวลาเยี่ยมชมเมืองกุม ๓ ชั่วโมง. ลำดับแรกพวกเขาได้มายังหอสมุดแห่งนี้. เมื่อพวกเขามองเห็นตำราฉบับลายมือ โดยเฉพาะฉบับที่เขียนด้วยภาษาฮิบรูในตู้โชว์ ทำให้พวกเขาตกตลึกเป็นอย่างมาก”. นักแปลของพวกเขากล่าวว่า พวกเขา (คอคอม) กล่าวว่าเมืองกุมคือศูนย์กลางการปฏิวัติ พวกเขา (คอคอม) คิดว่าหนังสือต่างๆ ของเราโดนเผาไปก่อนหน้าการปฏิวัติเสียแล้ว แต่เรากลับเห็นว่าหลักฐานตำราของพวกเราถูกเก็บไว้ในตู้โชว์ โดยว่างใกล้กับหนังสือต่างๆ ของพวกเขา (หนังสืออิสลาม) ซึ่งพวกเขาได้ให้เกียรติ และเชื่อไปยังตำราของพวกเขาเองและเชื่อยังตำราของเราด้วย. พวกเรา (บรรณารักษ์) กล่าวแก่พวกเขาว่า เราเชื่อว่าท่านศาสดามูซา (อ.) คือศาสดาท่านหนึ่งจากพระเจ้าของเรา เราไม่มีปัญหากับชาวยิว. การเยี่ยมชมหอสมุดดึงดูดพวกเขาเป็นอย่างมาก จนพวกเขาบอกว่า ๓ ชั่วโมงของเรา คือที่นี้”[2]

ใกล้เคียง

หอสมุดอะเล็กซานเดรีย หอสมุดอะยาตุลลอฮ์มัรอะชีย์นะญะฟีย์ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ หอสมุดบัสกอนเซโลส หอสมุดรัฐสภา หอสมุดประชาชนสต็อกโฮล์ม หอสมุดเซี่ยงไฮ้ หอสมุดแห่งชาติคอซอวอ หอสมุดรัฐรัสเซีย หอสมุดประชาชนนิวยอร์ก