แผนกต่างๆ ของ หอสมุดอะยาตุลลอฮ์มัรอะชีย์นะญะฟีย์

  1. ศูนย์บริการสาธารณะ. ประกอบด้วย ห้องโถงใหญ่อิบนิซินา , ห้องโถงเฉพาะตำราวิชาการศาสนา , ห้องโถงคอเญะ นะศีรุดดีน ฏูซีย์ , ห้องโถงเชคมุฟีด และร้านขายหนังสือ.
  2. ศูนย์วิทยบริการพิเศษ (ศูนย์วิจัย).ประกอบด้วย การวิจัยและตรวจสอบต้นฉบับลายอักษรของอิสลาม , สารบัญต้นฉบับของตำราที่เขียนด้วยมือ , การลำดับวงศ์ตระกูล และอื่นๆ.
  3. ศูนย์เก็บรักษาทรัพยากรห้องสมุด. ศูนย์นี้ประกอบด้วยหน่วยงานต่างๆ อาทิ หน่วยป้องกันและเก็บรักษา , หน่วยซ่อมแซมและบูรณะหนังสือลายอักษรและเอกสารที่เขียนด้วยลายมือ , หน่วย Micrograph และหน่วยจัดทำเล่มหนังสือ.
  4. ศูนย์บริการด้านเทคนิค. ประกอบด้วยฝ่ายคัดเลือกและสั่งซื้อ , ฝ่ายทะเบียนและโฆษณา , ฝ่ายตรวจสอบหนังสือ , ฝ่ายสถิติ , ฝ่ายวางแผนงาน , ฝ่ายจัดรูปกระดาษ , ฝ่ายวิจัย และฝ่ายคอมพิวเตอร์.
  5. ศูนย์สารสนเทศ. ในปีพ. ศ. 2539 ได้มีการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อเป็นศูนย์ระบบรวบรวมข้อมูล , สนับสนุนด้านเทคนิค ,การจัดทำดัชนีมาตรฐาน , และระบบการจัดการเครือข่ายเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศแบบรวมศูนย์. นอกจากนี้ยังมีฝ่ายสำหรับจัดทำดัชนีต้นฉบับเขียนด้วยมืออีกด้วย ซึ่งฝ่ายนี้มีนักบรรณานุกรม โดยมีหัวหน้าคือสัยยิดมะฮ์มูด มัรอะชีย์ เป็นผู้สั่งการในการจัดทำดัชนีต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมืออยู่ในขณะนี้.
  6. ศูนย์เมืองกุมวิทยา. เป็นศูนย์รวบรวมหนังสือและบทความที่เขียนเป็นภาษาต่างๆ เกี่ยวกับเมืองกุม (Qom). นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอ้างอิงถึงการสืบลำดับวงศ์ตระกูลที่เป็นภาษาต่างๆ ซึ่งเรียกว่า ศูนย์กลางลำดับวงศ์ตระกูล ก็ถูกเก็บรักษาไว้ที่นี้ด้วย.
  7. ศูนย์สารานุกรมห้องสมุดโลก. ศูนย์นี้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยปัจจัยหลักเพื่อจัดทำสารานุกรมเฉพาะกิจ เกี่ยวกับห้องสมุดที่มีคอลเลกชันเกี่ยวกับสารบบภาษาศาสตร์อิสลาม.

ใกล้เคียง

หอสมุดอะเล็กซานเดรีย หอสมุดอะยาตุลลอฮ์มัรอะชีย์นะญะฟีย์ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ หอสมุดบัสกอนเซโลส หอสมุดรัฐสภา หอสมุดประชาชนสต็อกโฮล์ม หอสมุดเซี่ยงไฮ้ หอสมุดแห่งชาติคอซอวอ หอสมุดรัฐรัสเซีย หอสมุดประชาชนนิวยอร์ก