ตระกูลเจ้านายฝ่ายอีสาน ของ หัวเมืองลาวอีสาน

เจ้านายฝ่ายอีสาน หมายถึง เจ้านายผู้สืบเชื้อสายในราชวงศ์ หรือสายสกุลที่เคยปกครองหัวเมืองในอาณาจักรล้านช้างเดิมมาก่อน ซึ่งเข้ามาเป็นประเทศราชของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 อันได้แก่ เจ้านายในราชวงศ์สุวรรณปางคำที่ปกครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช เมืองยศสุนทรประเทศราช เมืองกาฬสินธุ์ เมืองเขมราษฎร์ธานี เมืองหนองคาย และเมืองอำนาจเจริญ ส่วนราชวงศ์เจ้าสร้อยสินสมุทรพุทธางกูรที่ปกครองเมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ เมืองขอนแก่น เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองชลบถวิบูลย์ และเมืองมุกดาหาร

ในอดีตเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดปกครองดินแดนของตน แต่มีหน้าที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการถวายราชสำนักสยามเพื่อแสดงความจงรักภักดีเท่านั้น อย่างไรก็ตามราชสำนักสยามได้เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งภายในราชสำนักประเทศราชหลายครั้ง จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงยกเลิกการปกครองแบบประเทศราชเพื่อรวมศูนย์อำนาจการปกครองไว้ที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ตำแหน่งเจ้าประเทศราชก็ให้สิ้นสุดเมื่อเจ้าผู้ครองเมืองนั้นถึงแก่พิราลัย

    • ณ อุบล - สกุลนี้สืบเชื้อสายพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ และเจ้าอุปราชธรรมเทโวแห่งนครจำปาศักดิ์ ทางฝ่ายพระมารดา สายอุปฮาด (สุดตา) และอุปฮาด (โท) ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลสายนี้คือ พระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) กรมการเมืองพิเศษเมืองอุบลราชธานีในสมัยรัชกาลที่ 5
    • สุวรรณกูฏ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่3 บุตรของพระประทุมฯ ,พระบริคุฏคามเขต (โหง่นคำ สุวรรณกูฏ) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
    • สิงหัษฐิต - สายนี้สืบเชื้อสายมาจากพระเกษโกมลสิงห์ขัตติยะ หลานของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล คือ พระวิภาคย์พจนกิจ (หนูเล็ก สิงหัษฐิต - บิดาของเติม วิภาคย์พจนกิจ ผู้เขียนหนังสือ ประวัติศาสตร์อีสาน)
    • ทองพิทักษ์ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางอุปฮาด (สุดตา) พี่ชายของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) บุตรของพระประทุมฯ ท้าวไกรยราช (พู) บุตรของอุปฮาด (สุดตา) เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล
    • อมรดลใจ - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจ (ท้าวสุริยวงศ์ อ้ม) เจ้าเมืองตระการพืชผลคนแรก ท่านนี้เป็นบุตรพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 และเป็นเขยเจ้าครองนครจำปาศักดิ์
    • โทนุบล - สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัย (คำพูน สุวรรณกูฏ) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของพระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า "พระเรืองไชยชำนะ" เมืองมหาชนะชัยขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี โดยต่อมาภายหลังเมืองมหาชนะชัยได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้เมืองอุบลราชธานี โดยหลวงวัฒนวงศ์ โทนุบล (โทน สุวรรณกูฏ) ผู้เป็นหลานของพระเรืองชัยชนะ เป็นนายอำเภอคนแรก
    • บุตโรบล - สายนี้สืบมาจากเจ้าราชบุตร (สุ่ย) และราชบุตร (คำ) บุตรของเจ้าสีหาราช (พลสุข) และเจ้าโครต (ท้าวโคต) ทั้งสองท่านเป็นบุตรของเจ้าพระตา และเป็นอนุชาของพระปทุมฯ ผู้รับพระราชทานสกุลคือ พระอุบลกิจประชากร (บุญเพ็ง บุตโรบล) สายสกุลนี้เป็นสายสกุลของอัญญานางเจียงคำ บุตโรบล (หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา) ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
    • ณ หนองคาย - คือ พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย) มีพระยาวุฒาธิคุณ(แพ) รับพระราชทานนามสกุล จาก ร.6
    • รักขพันธ์ ณ หนองคาย - คือ ลูกหลานพระยาวุฒาธิคุณ (แพ) ซึ่งจัดตั้งนามสกุลนี้ขึ้นมาใหม่
    • วุฒาธิวงศ์ ณ หนองคาย - คือ บุตรชายของพระยาวุฒาธิคุณ(แพ) ได้จัดตั้งใหม่ โดยนำนามของบิดาคือ พระยาวุฒาธิคุณ(แพ)มาบวกกับคำว่า อนุวงศ์
    • โพธิเสน ณ หนองคาย - คือ ลูกหลานพระยาวุฒาธิคุณ (แพ) ซึ่งจัดตั้งนามสกุลนี้ขึ้นมาใหม่ [1]
    • โพธิเสน สืบสายมาจาก พระยาวุฒิธรรมมประดิษฐ์ (มั่น)
    • สุริยวงศ์ - พระปทุมสุริยวงศ์ บุตรชายคือ เจ้าคุณพระนคร มีบุตรสาวคือ สุข สุริยวงศ์ (หม่อมสุข ทองใหญ่) ซึ่งเป็นหม่อมใน กรมหลวงประจักษ์ฯ
    • สิงหศิริ - พระยาสุนทรธรรมธาดา (ผู้บริหารราชการในหัวเมืองโพนพิสัย)
    • นาครทรรพ - เจ้าคุณอุ้ย นาคทรรรพ
    • วัฒนสุข - เจ้าคุณสุข วันสุข
    • สีมะสิงห์ - ขุนธนาภาลบริรักษ์ ภูไท
    • โทธิเบศร์วงษา สายท้าวราชวงศ์กอ ภูไท เจ้าเมืองกุดสิมนารยณ์
    • วุฒิสาร ท้าวสาร ท้าวเพียในเจ้าเมืองกุดสิมนารยณ์ ภูไท
    • ไชยขันธุ์, ไชยเขตุขันธุ์ ท้าววรเสนไชยะ ท้าวเพียในเจ้าเมืองกุดสิมนารยณ์ ภูไท
    • ศรีหลิ่ง, ศรีหริ่ง ท้าวหลอยหลิ่ง ท้าวเพียในเจ้าเมืองกุดสิมนารยณ์ ภูไท
    • วงศ์ปัดสา - สายสกุล วงศ์ปัดสา สืบสายสกุลมาจากเจ้าครองเมืองขมราฐ คือพระเทพวงศา (พ่วย) ต้นปฐมสายนี้คือพระเทพวงศา (ก่ำ) ผู้เป็นบุตรพระวอ
    • พรมประกาย ณ นครพนม
    • สูตรสุคนธ์ ณ นครพนม
    • พิมพานนท์ ณ นครพนม
    • กิติศรีวรพันธุ์ (เจ้าเมืองท่าอุเทน นครพนม)
    • วัฒนศักดิ์ ( เชื้อพระวงศ์นครหลวงพระบาง)
    • แก้วมณีชัย (เจ้าเมืองเรณูนคร นครพนม)
    • เตโช (อุปราชเมืองเรณูนคร นครพนม)
    • พรหมสาขา ณ สกลนคร
    • จันทรสาขา (เจ้าเมืองมุกดาหาร)
    • ยอดเพ็ช (พระยอดเมืองขวาง หรือขำ เจ้าเมืองคำม่วน ลาว)
    • ณ จำปาศักดิ์
    • ณ พล ( เจ้าเมืองพล ขอนแก่น)
    • สุวรรณเลิศ (เจ้าเมืองกันทรวิชัยหรือคันธารวิไชย์ มหาสารคาม)
    • สุวรรณวงศ์ (สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ราชอาณาจักรลาว)
    • เรืองสุวรรณ (เจ้านายฝ่ายอีสานที่มีเชื้อสายพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง)
    • ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม
    • ณ เมืองแปะ (เจ้าเมืองบุรีรัมย์)
    • ราชาโคตร (เจ้าเขมรหนีมาอยู่อีสานล่าง)
    • วรบุตร (เจ้าเมืองแก่นท้าว เลย ปัจจุบันอยู่ลาว นามสกุลหลวงปู่หลุย จันทสโร)
    • แก่นแก้ว ( เพียแก่นท้าวเปนต้นตระกูล นามสกุลหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
    • ลาวัณบุตร (เจ้าเมืองจตุรัสสี่มุม ชัยภูมิ)
    • พรหมวงศานนท์ (เจ้าอุบล)
    • เสนจันทฒิไชย (เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองไชยบุรี นครพนม)
    • อินทร์เอี่ยม ณ จำปาศักดิ์