บทวิจารณ์ ของ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล

WWF โดนกล่าวหาโดยผู้รณรงค์ของคอร์ปอเรทวอทช์ (Corporate Watch) ว่าการรณรงค์มีการใกล้ชิดกับธุรกิจต่างๆ มากเกินไป[5][6] WWF อ้างว่าการเป็นพันธมิตรกับบริษัทอย่างโคคา-โคล่า, ลาฟาร์จ (Lafarge), บริษัทของการ์โลส สลิม และ อิเกีย จะช่วยลดผลกระทบของบริษัทเหล่านี้ ต่อสิ่งแวดล้อม[7] WWF ได้รับเงิน 56 ล้านยูโร (80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2,260 ล้านบาท) จากบริษัทต่างๆ ในพ.ศ. 2553 (เพิ่มขึ้น 8% จากพ.ศ. 2552) นับเป็น 11% ของรายได้ทั้งหมดในหนึ่งปี[4]

โครงการ"ล็อก"

ในพ.ศ. 2531 เจ้าชายแบร์นฮาร์ด อดีตประธานบริษัทคนแรกของ WWF ขายรูปวาดในราคา 700,000 ปอนด์ เพื่อระดมทุนให้ WWF เงินถูกฝากไว้ที่บัญชีธนาคารสวิสของ WWF ในพ.ศ. 2532 Charles de Haes ซึ่งคณะนั้นเป็นอธิบดีของ WWF โอนเงิน 500,000 ปอนด์ กลับไปให้แบร์นฮาร์ด สำหรับสิ่งที่เขาเรียกว่า "โครงการส่วนตัว" จากนั้นในพ.ศ. 2534 จึงถูกเปิดเผยว่าเจ้าชายแบร์นฮาร์ดใช้เงินจ้าง KAS International ซึ่งมีสเปเชียลแอร์เซอร์วิส (SAS) เป็นเจ้าของ และเดวิด สเตอร์ลิง (David Stirling) เป็นผู้ก่อตั้ง เพื่อดำเนินโครงการ"ล็อก" ที่ทหารรับจ้าง (ส่วนใหญ่เป็นคนอังกฤษ) ต่อสู้กับผู้บุกรุกเข้าไปล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์ป่า[8]

รายงานปลาโลมาในแม่น้ำโขง

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 ทัช แสง ธนา ประธานคณะกรรมการสำหรับการอนุรักษ์และพัฒนาเขตท่องเที่ยวโลมาแม่น้ำโขงเชิงนิเวชประเทศกัมพูชา กล่าวว่า WWF ทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงในการสูญพันธุ์ของโลมาอิรวดี เพื่อเพิ่มยอดบริจาค[9] เขาเรียกรายงาน WWF ว่าไม่เป็นวิทยาศาสตร์และอันตรายต่อรัฐบาลกัมพูชา รวมไปถึงขู่ว่าจะสั่งปิด WWF ประเทศกัมพูชาชั่วคราว หากไม่มาพบเขาเพื่อคุยเกี่ยวกับข้อกล่าวหานี้[10] ต่อมาทัช แสง ธนา กล่าวว่าเขาจะไม่ตั้งข้อหาในการให้ข้อมูลผิดๆ และจะไม่พยายามปิดกั้น WWF จากงานในประเทศกัมพูชา หลักจากนั้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ทัช แสง ธนาเซ็น "คำประกาศการอนุรักษ์โลมาอิรวดีแห่งแม่น้ำโขงของจังหวัดกระแจะ" (Kratie Declaration on the Conservation of the Mekong River Irrawaddy Dolphin) ร่วมกับ WWF และฝ่ายปกครองกรมประมงประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นข้อตกลงที่จะช่วยกันจัดการกับการอนุรักษ์โลมาในแม่น้ำโขง[11]

แพนด้าลีกส์

ในพ.ศ. 2555 นักข่าวแนวสืบสวนชาวเยอรมัน วิลฟรายด์ ฮุสแมน (Wilfried Huissmann) ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า "ความเงียบของแพนด้า" (The Silence of the Pandas) โดยแม้กลายเป็นหนังสือขายดีติดอันดับในประเทศเยอรมัน กลับถูกห้ามขายในประเทศอังกฤษ จนพ.ศ. 2557 ได้ถูกปล่อยออกมาในชื่อ "แพนด้าลีกส์" (Pandaleaks) หลังพ้นคำสั่งห้ามและคำสั่งศาล[12] หนังสือวิจารณ์ WWF ว่ามีความเกี่ยวข้องกับบริษัทซึ่งมีส่วนในการทำลายธรรมชาติในปริมาณมาก เช่น โคคา-โคล่า และยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับสโมสรลับ 1001 และอ้างว่าสมาชิกของสโมสรนี้ยังคงสร้างผลกระทบต่อการสร้างนโยบายของ WWF[12] อย่างไรก็ตาม WWF ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านั้น[13]

การล่าสัตว์

สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนเคยเป็นประธานบริษัทเกียรติคุณของ WWF ในประเทศสเปน[14] และเป็นผู้ที่ชื่นชอบการล่าสัตว์ ในพ.ศ. 2505 ขณะอายุ 24 ปี เขาถูก Baron Werner von Alvensleben ชาวเยอรมันเชิญชวนไปล่าสัตว์ที่ประเทศโมซัมบิก[15] ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ได้ร่วมล่าสัตว์ในทวีปแอฟริกาและยุโรปตะวันออก ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 เขาเป็นสมาชิกกลุ่มกล่าสัตว์ในประเทศโรมาเนียซึ่งฆ่าหมาป่าหนึ่งตัว และหมีสีน้ำตาลถึงเก้าตัว รวมไปถึงตัวที่กำลังตั้งท้อง ตามรายงานของหนังสือพิมพ์โรมาเนีย (Romania Libera).[16] เขายังถูกกล่าวหาโดยเจ้าหน้าที่ชาวรัซเซียว่าได้ทำการฆ่าหมีที่ชื่อว่า มิโทรฟาน (Mitrofan) หลังจากให้วอดก้ากับมัน เรื่องนี้จุดประเด็นในประเทศสเปนแม้ความจริงจะไม่เคยถูกพิสูจน์ก็ตาม[17] ในปีเดียวกัน เดอะการ์เดียน ระบุว่ารัฐบาลประเทศโปแลนด์อนุญาตให้เขาฆ่าควายป่ายุโรป (European bison) ในป่าBiałowieżaได้ แม้มันจะอยู่ในสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์[18] ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 พระองค์เข้าร่วมล่าช้างในประเทศบอตสวานา ซึ่งตกเป็นข่าวเนื่องจากต้องบินกลับประเทศสเปนฉุกเฉินหลังลื่นล้มจนกระดูกที่เอวแตก[19] กลุ่มนักธรรมชาติวิทยาและพรรคฝ่ายซ้ายวิจารณ์งานอดิเรกของพระมหากษัตริย์[20] และ WWF ได้ทำการถอนตำแหน่งเกียรติคุณในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยได้รับผลโหวดจากสมาชิกถึง 94%[21]

เจ้าชายชาลส์ หัวหน้าของ WWF สหราชอาณาจักร[22] ชอบล่าสัตว์เช่นเดียวกัน[23]

ใกล้เคียง

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ องค์กรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ องค์กรคริสตจักรสัมพันธ์ในประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล http://english.cri.cn/6966/2009/06/24/2001s496246.... http://politica.elpais.com/politica/2012/04/14/act... http://www.monstersandcritics.com/news/asiapacific... http://www.phnompenhpost.com/index.php/20090716271... http://www.theguardian.com/environment/2014/oct/04... http://www.publico.es/ciencias/238318/cazador-blan... http://www.publico.es/espana/429497/la-izquierda-v... http://www.wwf.es/wwf_adena/historia_y_logros/ http://www.corporatewatch.org/?lid=1873 http://assets.panda.org/downloads/int_ar_2010.pdf