การแยกประเภท ของ อนุภาคย่อยของอะตอม

โดยทางสถิติ

บทความหลัก: ทฤษฎีสปินสถิติ

การแยกประเภทแบบจำลองมาตรฐานของอนุภาคต่าง ๆ

อนุภาคย่อยของอะตอมใด ๆ, ก็เหมือนอนุภาคใด ๆ ในอวกาศ 3 มิติที่เป็นไปตามกฏของกลศาสตร์ควอนตัม, มันสามารถจะเป็นอนุภาคอย่างใดอย่างหนึ่งคือเป็นโบซอน (สปินมีค่าเป็นจำนวนเต็ม) หรือเป็นเฟอร์มิออน (สปินมีค่าเป็นครึ่งของจำนวนเต็ม)

โดยส่วนผสม

อนุภาคมูลฐานต่าง ๆ ของแบบจำลองมาตรฐานได้แก่:[6]


ฟิสิกส์ที่ไกลเกินกว่าแบบจำลองมาตรฐานคาดว่าจะค้นพบอนุภาคมูลฐานที่เรียกว่า แกรวิตอน และอนุภาคมูลฐานอื่น ๆ อีกมาก

อนุภาคย่อยของอะตอมแบบผสม (เช่นโปรตอนหรือนิวเคลียสของอะตอม) เป็นสภาวะยึดเหนี่ยวของอนุภาคมูลฐานสองตัวหรือมากกว่า ตัวอย่างเช่น โปรตอนถูกทำขึ้นจากอัพควาร์กสองตัวและดาวน์ควาร์กหนึ่งตัว ในขณะที่นิวเคลีนสของอะตอมของฮีเลียม-4 ประกอบด้วยสองโปรตอนและสองนิวตรอน นิวตรอนถูกทำขึ้นจากดาวน์ควาร์กสองตัวและอัพควาร์กหนึ่งตัว อนุภาคผสมจะรวมถึงแฮดรอนทั้งหมด ซึ่งแฮดรอนเหล่านี้ได้แก่แบริออน (เช่นโปรตอนและนิวตรอน) และมีซอน (เช่น ไพออนและคาออน)

โดยมวล

ใน"สัมพันธภาพพิเศษ" พลังงานของอนุภาคนิ่งเท่ากับมวลของมันคูณด้วยความเร็วแสงยกกำลังสอง (E = MC2) นั่นคือ มวลสามารถแสดงออกในรูปของพลังงานและในทางกลับกัน ถ้าอนุภาคหนึ่งมี'กรอบของการอ้างอิง'ที่ตำแหน่ง'นิ่ง' ดังนั้นมันจะมีมวลนิ่งที่เป็นบวกและหมายความว่ามัน"มีมวล" (อังกฤษ: massive)

อนุภาคผสมทั้งหมดจะมีมวล แบริออน (ที่หมายถึง "หนัก") มีแนวโน้มที่จะมีมวลมากกว่ามีซอน (ที่หมายถึง "กลาง") ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่จะหนักกว่าเลปตัน (ที่หมายถึง "น้ำหนักเบา") แต่เลปตันที่หนักที่สุด (อนุภาคทีออน) จะหนักกว่าสองฟเลเวอร์ที่เบาที่สุดของแบริออน (นิวคลีออน) มันยังเป็นที่แน่นอนว่าอนุภาคใด ๆ ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นสิ่งที่'มีมวล'อีกด้วย

อนุภาคที่ไม่มีมวลทั้งหมด (อนุภาคที่มี'มวลไม่เปลี่ยน'เป็นศูนย์) ถือว่าเป็นอนุภาคมูลฐาน อนุภาคเหล่านี้จะรวมถึงโฟตอนและกลูออน แม้ว่ากลูออนจะไม่สามารถถูกแยกได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: อนุภาคย่อยของอะตอม http://press.web.cern.ch/press-releases/2014/06/ce... http://books.google.com/?id=7qCMUfwoQcAC&pg=PA29 http://books.google.com/?id=Dm36BYq9iu0C&printsec=... http://books.google.com/?id=KFodZ8oHz2sC&printsec=... http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/Hbase/Particl... http://adsabs.harvard.edu/abs/1927ZPhy...43..172H http://adsabs.harvard.edu/abs/1999Natur.401..680A //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18494170 //doi.org/10.1007%2FBF01397280 //doi.org/10.1038%2F44348