หน้าที่ ของ อวัยวะของคอร์ติ

หน้าที่ของอวัยวะของคอร์ติก็คือ การถ่ายโอนเสียงเป็นสัญญาณประสาทในระดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้[2]แต่เป็นใบหูและหูชั้นกลางที่เป็นหม้อแปลงเปลี่ยนเสียงและตัวขยายเสียงเชิงกล ที่ขยายแอมพลิจูดเสียงเพิ่มเป็น 22 เท่าของเสียงที่เข้ามาในหู

การถ่ายโอนสัญญาณเสียง

ในบุคคลที่ได้ยินเป็นปกติ สัญญาณเสียงที่มาถึงอวัยวะของคอร์ติโดยมากมาจากหูชั้นนอกคือ คลื่นเสียงจะเข้ามาในช่องหูแล้วเขย่าแก้วหู ซึ่งจะเขย่ากระดูกหู 3 ชิ้น (ossicle) ในหูชั้นกลางที่เชื่อมกับช่องรูปไข่ (oval window) ของหูชั้นใน ซึ่งในที่สุดก็จะเขย่าช่องรูปกลม (round window) โดยในระหว่างกระบวนการนี้ น้ำในคลอเคลียก็จะเคลื่อนด้วย[9]

การเร้าเช่นนี้ก็สามารถเกิดผ่านการสั่นของกะโหลกศีรษะโดยตรงได้เหมือนกันซึ่งแบบหลังเรียกว่าการได้ยินผ่านกระดูก (Bone Conduction, BC) ซึ่งช่วยเสริมการได้ยินแบบแรกซึ่งเรียกว่า การได้ยินผ่านอากาศ (Air Conduction, AC)ทั้งแบบ AC และ BC จะเร้าเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) ได้เหมือนกัน (Békésy, G.v., Experiments in Hearing. 1960)โดยเยื่อกั้นหูชั้นในที่อยู่ในท่อ tympanic duct จะดันเซลล์ขนเมื่อคลื่นเสียงวิ่งผ่านน้ำ perilymphแล้ว stereocilia ที่อยู่บน IHC ก็จะเคลื่อนไปตาม perilymph ซึ่งทำให้โครงสร้างโปรตีน cadherin ที่เรียกว่า ใยเชื่อมปลาย (tip link) ซึ่งเชื่อม stereocilia ที่อยู่ติด ๆ กัน ก็จะดึงเปิดช่องแคตไอออนหรือช่องไอออนบวกของเซลล์

อวัยวะของคอร์ติ ซึ่งอยู่ในน้ำ endolymph ที่เต็มไปด้วยโพแทสเซียม จะอยู่บนเยื่อกั้นหูชั้นในที่ฐานของ scala mediaใต้อวัยวะของคอร์ติเป็นท่อ scala tympani และเหนืออวัยวะเป็นท่อ scala vestibuliซึ่งทั้งสองอยู่ในน้ำมีโพแทสเซียมต่ำที่เรียกว่า perilymph[9]

เพราะว่า stereocilia จุ่มอยู่ในโพแทสเซียมที่เข้มข้น เมื่อช่องแคตไอออนเปิด ทั้งไอออนโพแทสเซียมและแคลเซียมจะไหลเข้าไปในส่วนบนของเซลล์ขนซึ่งทำให้ IHC เกิดการลดขั้ว (depolarization) และเปิดช่องแคลเซียมที่เปิดปิดโดยศักย์ไฟฟ้า (voltage-gated calcium channel) ที่ฐานด้านข้าง (basolateral) ของเซลล์ขน จุดชนวนให้ปล่อยสารสื่อประสาทกลูตาเมตทำให้สัญญาณไฟฟ้าแล่นไปทางโสตประสาท (auditory nerve) เข้าไปในคอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory cortex) ในสมอง

การขยายเสียงของคอเคลีย

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: การขยายเสียงของคอเคลีย

นอกจากจะรับเสียงแล้ว อวัยวะของคอร์ติยังสามารถปรับสัญญาณเสียงได้อีกด้วย[8]คือ OHC สามารถขยายสัญญาณเสียงผ่านกระบวนการที่เรียกว่า electromotility ซึ่งเซลล์เพิ่มการเคลื่อนไหวของเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) และดังนั้น เพิ่มการไหวของ stereocilia ของ IHC[9]โดยทำงานร่วมกับเยื่อคลุม (tectorial membrane) การเคลื่อนไหวของเยื่อกั้นหูชั้นในก็จะสามารถเพิ่มแรงสั่นในคอเคลีย[9]

ตัวการสำคัญในการขยายเสียงก็คือโปรตีนมอร์เตอร์ (motor protein) ที่เรียกว่า prestin ซึ่งจะเปลี่ยนรูปร่างขึ้นอยู่กับศักย์ไฟฟ้าในเซลล์ขนเมื่อเซลล์ลดขั้ว (คือ depolarized) prestin ก็จะสั้นลง และเพราะว่ามันอยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของ OHC มันก็จะดึงเยื่อกั้นหูชั้นในทำให้เยื่อไหวมากขึ้น ซึ่งเพิ่มแรงสั่นต่อ IHCเมื่อเซลล์เพิ่มขั้ว (คือ hyperpolarized) prestin ก็จะยาวขึ้นและลดแรงดึงต่อ IHC ซึ่งในที่สุดก็จะลดกระแสประสาทไปยังสมองโดยกระบวนการนี้ เซลล์ขนสามารถเปลี่ยนสัญญาณเสียงเองก่อนส่งไปยังสมอง

ใกล้เคียง

อวัยวะ อวัยวะเพศ อวัยวะของคอร์ติ อวัยวะกลับข้าง อวัยวะสืบพันธุ์สตรีหย่อน อวัยวะเทียมคล้ายสมอง อวัยวะล้มเหลว อวัยวะรับความรู้สึก อวัยวะประสาทสัมผัส อวัยวะที่ถ่ายปลูก

แหล่งที่มา

WikiPedia: อวัยวะของคอร์ติ http://pubmedcentralcanada.ca/pmcc/articles/PMC309... http://lobe.ibme.utoronto.ca/presentations/OHC_Ele... http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://beyondthedish.wordpress.com/tag/cochlear-ha... http://0-www.ncbi.nlm.nih.gov.library.colgate.edu/... http://0-www.ncbi.nlm.nih.gov.library.colgate.edu/... http://mayoresearch.mayo.edu/mayo/research/ent_res... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... http://www.iurc.montp.inserm.fr/cric51/audition/en... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12475185