อสงไขย

อสงไขย (สันสกฤต: असंख्येय อสํเขฺยย) หมายถึง นับไม่ถ้วน, ไม่ง่ายที่จะนับ, หรือเป็นจำนวนธรรมชาติเท่ากับหนึ่งโกฏิยกกำลัง 20 (10,000,00020)[1] หรือ 10140 (เลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 ต่อท้ายทั้งหมด 140 ตัว)บางตำรากล่าวว่าหมายถึงเลข 10 ( a ⋅ 2 b ) {\displaystyle 10^{(a\cdot 2^{b})}} ซึ่งมีหลายความหมาย พระพุทธภัทระตีความว่า a=5, b=103 ส่วนพระศิกษานันทะตีความว่า a=7, b=103 และ Thomas Cleary ตีความว่า a=10, b=104 [ต้องการอ้างอิง]อสงไขยเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนไม่อาจคำนวณได้ มีอุปมาว่า ประมาณเม็ดฝนของการเกิดฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลานานถึง 3 ปี ไม่ได้ขาดสายเลย[ต้องการอ้างอิง] ในศาสนาพุทธจึงมักใช้กล่าวถึงระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สั่งสมบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้านอกจากนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถายังมีการใช้คำว่า "อสงไขย" เฉย ๆ ด้วยเช่นกัน แต่ในความหมายที่ว่า มากมาย หรือ นับไม่ถ้วน (infinity) ไม่ได้ใช้ในแง่ของการบอกปริมาณว่าเท่ากับ 10140 และไม่ได้หมายถึงอสงไขยกัป[ต้องการอ้างอิง]