ข้อดี ของ อะกริวอลเทอิกส์

โดยทั่วไปแผงโฟโตวอลเทอิกจะผลิตแก๊สเรือนกระจกในปริมาณที่ค่อนข้างน้อย แม้ว่าในขั้นตอนการติดตั้งจำเป็นต้องใช้โครงสร้างติดตั้งและการวางสายไฟที่ทำจากเหล็กกล้า ซึ่งต้องการการทำเหมืองแร่เพื่อผลิตถ่านหิน คอนกรีต และแร่ต่าง ๆ อย่างไรก็ตามปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมาในขั้นตอนการผลิตก็ยังน้อยกว่าปริมาณที่ถูกปล่อยออกมาจากการผลิตไฟฟ้ารูปแบบดั้งเดิมในชั่วชีวิตของการใช้งานผลิตภัณฑ์[22]

หากระบบการผลิตไฟฟ้าแบบอะกริวอลเทอิกส์นั้นคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ การใช้งานควบคู่กันระหว่างการผลิตพลังงานและสินค้าเกษตรจะสามารถบรรเทาการแก่งแย่งทรัพยากรที่ดิน และลดแรงกระตุ้นที่จะเปลี่ยนเขตพื้นที่ธรรมชาติมาใช้งานเชิงเกษตรกรรม[3]

ในการจำลองสถานการณ์ขั้นต้นในงานวิจัยโดยดูปราซและคณะในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่คำว่า 'อะกริวอลเทอิกส์' ถูกบัญญัติขึ้นมา ได้คำนวณว่าประสิทธิภาพการใช้งานที่ดินสามารถเพิ่มขึ้นกว่า 60-70% (ส่วนใหญ่เป็นประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จากความรับอาบรังสีสุริยะ)[1][4]

ดิเนชและคณะกล่าวว่าการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ควบคู่ไปกับการปลูกพืชทนร่มสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของแปลงเกษตรได้มากกว่า 30% เมื่อเทียบกับแปลงเกษตรแบบทั่วไปที่ไม่ได้ติดตั้งระบบอะกริวอลเทอิกส์ ตามแบบจำลองของพวกเขา[1] มีการสันนิษฐานว่าระบบอะกริวอลเทอิกส์สามารถเป็นประโยชน์ต่อพืชฤดูร้อน เนื่องจากภูมิอากาศจุลภาคที่เกิดขึ้นและผลข้างเคียงด้านความร้อนและการควบคุมการไหลของน้ำ[23]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อะกริวอลเทอิกส์ http://aciar.gov.au/files/node/13992/to_mix_or_not... http://time.com/4851013/china-greening-kubuqi-dese... http://www.agrophotovoltaik.de http://taiyangnews.info/markets/fraunhofer-ise-iss... http://www.freshplaza.it/article/9903/Mola-di-Bari... http://www.koreatimes.co.kr/www/nation/2021/03/371... http://moneys.mt.co.kr/news/mwView.php?type=1&no=2... http://hdl.handle.net/10419/150976 http://www.agrivoltaics-conference.org/ //doi.org/10.1007%2Fs13593-019-0581-3