การทหารภายใต้คำสั่งของมุฮัมมัด ของ อะบูบักร์

ยุทธการที่บะดัร

ดูบทความหลักที่: ยุทธการที่บะดัร

ใน ค.ศ. 624 อะบูบักร์มีส่วนร่วมในสงครามครั้งแรกระหว่างมุสลิมกับกุเรชแห่งมักกะฮ์ แต่ไม่ได้ต่อสู้ เพราะเขาทำหน้าที่เป็นหนึ่งในการ์ดที่เต้นท์ของมุฮัมมัด ต่อมา อะลีกล่าวโดยนัยว่า ใครเป็นชายที่กล้าหาญที่สุด ทุกคนตอบว่าอะลี อะลีจึงตอบว่า:

ไม่ อะบูบักร์เป็นชายที่แข็งแกร่งที่สุด ในยุทธการที่บะดัร เราเตรียมพลับพลาแก่ท่านศาสดา แต่เมื่อเราถูกถามว่าใครจะเป็นคนเฝ้าดู ไม่มีใครเลยที่จะทำงานนี้นอกจากอะบูบักร์... ดังนั้น ท่านคือชายที่กล้าหาญที่สุด[30]

ยุทธการที่อุฮุด

ดูบทความหลักที่: ยุทธการที่อุฮุด

ใน ค.ศ. 625 เขามีส่วนร่วมในยุทธการที่อุฮุด ซึ่งฝ่ายมุสลิมพ่ายแพ้และเขาได้รับบาดเจ็บ[31] ก่อนเริ่มสงคราม ลูกชายของเขา [อับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ อบีบักร์]] ในตอนนั้นยังไม่เข้ารับอิสลาม และอยู่ฝ่ายกุเรช เดินมาข้างหน้าและท้าดวล อะบูบักร์รับคำท้า แต่ท่านศาสดามุฮัมมัดหยุดเขาไว้[32] จากนั้น อับดุรเราะฮ์มานเผชิญหน้ากับพ่อเขาและบอกว่า "นายเล็งผมเป็นเป้าหมาย แต่ผมหลีกหนีไปจากเจ้า และไม่ฆ่าเจ้า" อะบูบักร์จึงตอบว่า "อย่างไรก็ตาม ถ้าเจ้าเล็งข้าเป็นเป้าหมาย ข้าจะไม่หนีไปจากเจ้า"[33]ในช่วงที่สองของสงคราม ทหารม้าของคอลิด อิบน์ อัลวะลีด โจมตีฝ่ายมุสลิมจากทางด้านหลัง ทำให้เปลี่ยนจากชัยชนะไปเป็นความพ่ายแพ้ของฝายมุสลิม[34][35] หลายคนหนีไปจากสนามรบ รวมไปถึงอะบูบักร์ อย่างไรก็ตาม มีรายงานหนึ่งบันทึกว่า เขาเป็น "คนแรกที่กลับมา"[36]

ยุทธการสนามเพลาะ

ดูบทความหลักที่: ยุทธการสนามเพลาะ

ใน ค.ศ. 627 เขามีส่วนร่วมในยุทธการสนามเพลาะและการบุกรุกของบนูกุร็อยเซาะฮ์[29] ในยุทธการสนามเพลาะ มุฮัมมัดแบ่งสนามเพลาะเป็นส่วน ๆ และตั้งยามในแต่ละส่วน หนึ่งในนั้นอยู่ภายใต้คำสั่งของอะบูบักร์ ฝ่ายศัตรูพยายามจะข้ามสนามเพลาะ แต่ถูกขับไล่ไปทั้งหมด เพื่อรำลึกเหตุการณ์นี้ จึงมีการสร้าง 'มัสยิด อัศศิดดีก'[37] ใบริเวณที่อะบูบักร์ขับไล่ศัตรู[29]

ยุทธการที่ค็อยบัร

ดูบทความหลักที่: ยุทธการที่ค็อยบัร

อะบูบักร์มีส่วนร่วมในยุทธการที่ค็อยบัร ตัวเมืองมีป้อม 8 แห่ง ป้อมที่แข็งแกร่งและป้องกันมากที่สุดมีชื่อว่า อัลเกาะมุส มุฮัมมัดส่งอะบูบักร์พร้อมกับกลุ่มนักรบไปยึดมัน แต่ทำไม่ได้ ท่านจึงส่งอุมัรกับกลุ่มนักรบ และอุมัรก็ยึดป้อมนั้นไม่ได้เช่นกัน[38][39][40][41] มุสลิมบางคนพยายามยึดป้อม แต่ไม่สำเร็จ[42] ท้ายที่สุด มุฮัมมัดจึงส่งอะลี และสามารถเอาชนะหัวหน้าศัตรูได้[40][43]

การทหารในช่วงสุดท้ายของมุฮัมมัด

ใน ค.ศ. 629 มุฮัมมัดส่งอัมร์ อิบน์ อัลอาสไปที่ซาอะตุลซัลละซัล ตามมาด้วยกำลังเสริมของอบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรเราะฮ์ อะบูบักร์และอุมัรควบคุมทหารของญัรเราะฮ์ โจมตีและชนะเหนือฝ่ายศัตรู[44]

ยุทธการที่ฮุนัยน์กับฏออิฟ

ดูบทความหลักที่: ยุทธการที่ฮุนัยน์ และ การล้อมฏออิฟ

ใน ค.ศ. 630 กองทัพมุสลิมถูกซุ่มโจมตีโดยพลธนูของชนเผ่าท้องถิ่นในหุบเขาฮุนัยน์ ประมาณ 11 ไมล์ทางตะวันออกเฉียงเหนือขของมักกะฮ์ ทำให้กองทัพมุสลิมระส่ำระส่าย อย่างไรก็ตาม มุฮัมมัด ยังคงอยู่นิ่ง พร้อมกับเศาะฮาบะฮ์ 9 คน รวมไปถึงอะบูบักร์ ภายใต้คำสั่งของมุฮัมมัด อับบาส อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ ตะโกนเรียกมุสลิมให้รวมตัวกัน แล้วโจมตีศัตรู จนทำให้พวกเขาแพ้และหนีไปที่เอาตาส

มุฮัมมัดตั้งกองทหารที่ทางผ่านฮุนัยน์ และนำกองทัพหลักไปที่เอาตาส ในการเผชิญหน้ากันที่เอาตาส ชนเผ่าไม่สามารถสู้รบกับฝ่ายมุสลิมได้ จึงทำลายค่ายและหนีไปที่ฏออิฟ

มุฮัมมัดสั่งอะบูบักร์ให้ไปสู้รบที่ฏออิฟ ชนเผ่านั้นได้ปิดประตูในป้อมและไม่ยอมออกมาสู้กลางแปลง ทำให้ต้องล้อมเมืองเป็นเวลาสองสัปดาห์ แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณของความอ่อนแอ ตอนนั้น มุฮัมมัดดำรงตำแหน่งสภาแห่งสงคราม อะบูบักร์แนะนำว่าควรหยุดล้อมเมืองเสีย เผื่ออัลลอฮ์ทรงเตรียมการทำลายป้อมเอง โดยมีการยอมรับคำแนะนำนี้ และในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 630 จึงเลิกล้อมเมือง และกองทัพมุสลิมจึงเดินทางกลับมักกะฮ์ ไม่กี่วันต่อมา มาลิก อิบน์ เอาฟ์ ผู้บัญชาการ มาที่มักกะฮ์ และเข้ารับอิสลาม[45]

อะบูบักร์ในฐานะอะมีรุลฮัจญ์

ใน ค.ศ. 631 มุฮัมมัดได้ส่งคณะผู้แทน 300 คนจากมะดีนะฮ์ เพื่อทำพิธีฮัจญ์ตามแบบอิสลามและให้อบูบักร์เป็นผู้นำคณะผู้แทน ในวันที่อะบูบักร์กับกลุ่มของเขาออกไปทำฮัจญ์ มุฮัมมัดได้รับโองการใหม่: ซูเราะฮ์เตาะบะฮ์ บทที่ 9 ในอัลกุรอาน[46] กล่าวกันว่า เมื่อมีการประทานโองการ บางคนแนะนำมุฮัมมัดว่า ท่านควรส่งข่าวให้กับอะบูบักร์ มุฮัมมัดก่าวว่า มีแค่ชายในบ้านนี้เท่านั้นที่สามารถประกาศโองการได้[47] จุดประสงค์หลักของการประกาศคือ:

  1. จากนี้ไป ไม่อนุญาตผู้ไม่ใช่มุสลิมเข้าไปเยี่ยมชมกะอ์บะฮ์หรือทำพิธีแสวงบุญ
  2. ห้ามใครก็ตามแก้ผ้าเดินวนรอบกะอ์บะฮ์
  3. ไม่มีที่ยืนแก่พหุเทวนิยม โดยให้เวลาออกจากที่นี่เป็นเวลา 4 เดือน

การเดินทางของอะบูบักร์ อัศศิดดีก

อะบูบักร์นำทางแค่ครั้งเดียวในการเดินทางของอะบูบักร์ อัศศิดดีก[48] ซึ่งเกิดขึ้นที่นัจด์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 628 (เราะบีอุลเอาวัล ฮ.ศ. 7)[48] ทำให้หลายคนถูกฆ่าและจับเป็นเชลย[49] โดยมีการบันทึกในฮะดีษของ ซุนัน อบูดาวูด[50]

การเดินทางของอุซามะฮ์ อิบน์ ซัยด์

ใน ค.ศ. 632 มุฮัมมัดสั่งให้เดินทางไปซีเรียเพื่อล้างแค้นจากการพ่ายแพ้ของมุสลิมในยุทธการที่มุอ์ตะฮ์ ซึ่งนำโดยอุซามะฮ์ อิบน์ ซัยด์ บุตรของซัยด์ อิบน์ ฮาริษะฮ์ ผู้เป็นพ่อของเขาและบุตรบุญธรรมของมุฮัมมัด ถูกฆ่าในสงครามที่แล้ว[51] เนื่องจากอายุไม่ถึง 20 ปี ไม่มีประสบการณ์และไม่ได้ฝึกซ้อม ทำให้การจัดทหารมีปัญหา[52][53] แม้กระนั้น ก็ยังมีการเดินทางต่อ หลังจากได้ข่าวว่ามุฮัมมัดเสียชีวิต ทำให้กองทัพต้องกลับไปยังมะดีนะฮ์[52]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อะบูบักร์ http://www.abubakr.com/ http://www.britannica.com/EBchecked/topic/2153/Abu... http://www.oxfordbibliographies.com/view/document/... http://quilliampress.com/the-khilafa-of-abu-bakr/ http://www.searchtruth.com/searchHadith.php?keywor... http://www.seratonline.com/23486/is-there-any-virt... http://www.thaiislamic.com/articlesshow.asp?kind=7... http://www.usc.edu/dept/MSA/quran/003.qmt.html#003... http://www.usc.edu/dept/MSA/quran/009.qmt.html#009... http://twelvershia.net/2015/01/27/book-virtues-haz...