อะฟลาทอกซิน
อะฟลาทอกซิน

อะฟลาทอกซิน

อะฟลาทอกซิน (อังกฤษ: aflatoxins) เป็นสารเคมีมีพิษและก่อมะเร็งที่ผลิตจากราบางชนิด (Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus) ซึ่งเจริญในดิน พืชพรรณที่ย่อยสลาย ฟางและเมล็ดพืช มักพบในโภคภัณฑ์สำคัญที่เก็บอย่างไม่เหมาะสม เช่น มันสำปะหลัง พริกไทย ข้าวโพด เมล็ดฝ้าย ข้าวเดือย ถั่วลิสง ข้าวฟ่าง เมล็ดดอกทานตะวัน ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว ข้าวสาลี และเครื่องเทศหลายชนิด เมื่ออาหารที่ปนเปื้อนถูกแปรรูป อะฟลาทอกซินจะเข้าสู่แหล่งอาหารทั่วไปซึ่งมีการพบทั้งในอาหารคนและสัตว์ เช่นเดียวกับในอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ทางการเกษตร สัตว์ที่ได้อาหารที่ปนเปื้อนสามารถผ่านผลิตภัณฑ์การแปลงอะฟลาทอกซินสู่ไข่ ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อสัตว์ได้[1]เด็กได้รับผลกระทบจากการสัมผัสอะฟลาทอกซินมากเป็นพิษ ทำให้การเติบโตช้า พัฒนาการช้า ตับเสียหายและมะเร็งตับ ผู้ใหญ่มีความทนต่อการสัมผัสมากกว่า แต่ก็ยังมีความเสี่ยง ไม่มีสัตว์ชนิดใดมีภูมิต้านทาน อะฟลาทอกซฺนจัดเป็นสารก่อมะเร็งได้มากที่สุดชนิดหนึ่งเท่าที่ทราบ[2] หลังเข้าสู่ร่างกาย อะฟลาทอกซินจะถูกตับสร้างและสลายเป็นสารตัวกลางอีพอกไซด์กัมมันต์หรือถูกย่อยสลายด้วยน้ำกลายเป็นอะฟลาทอกซิน เอ็ม1 ซึ่งเป็นอันตรายน้อยกว่าอะฟลาทอกซินส่วนใหญ่ได้จากการกิน แต่อะฟลาทอกซินชนิดบี1 ซึ่งเป็นพิษมากที่สุด สามารถผ่านเข้าทางผิวหนังได้[3]ค่าระดับการแสดงฤทธิ์ที่องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) กำหนดสำหรับอะฟลาทอกซินในอาหารหรืออาหารสัตว์อยู่ที่ 20 ถึง 300 ส่วนต่อพันล้านส่วน[4] FDA ยังสามารถประกาศเรียกคืนอาหารคนและสัตว์ได้เป็นมาตรการล่วงหน้าเพื่อป้องกันการสัมผัสคำว่า "อะฟลาทอกซิน" มาจากชื่อของราตัวหนึ่งที่ผลิตสารนี้ คือ Aspergillus flavus มีการประดิษฐ์คำนี้ประมาณ ค.ศ. 1960 หลังการค้นพบว่าสารนี้เป็นบ่อเกิดของ "โรคไก่งวงเอกซ์"[5] อัฟลาทอกซินเป็นพิษเห็ดรากลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง