ประวัติ ของ อะยี

นิกายอะยีเกิดขึ้นช่วงศตวรรษที่ 7 จากการติดต่อค้าขายกับอินเดียหรือทิเบต[1] วัตรปฏิบัติส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับลัทธิตันตระ มีการบูชานัต การนับถือนาค การใช้เวทมนตร์ และรับอิทธิพลศาสนาฮินดูอย่างสูง[2] นักบวชครองจีวรสีน้ำตาลเข้มและสวมหมวกทรงกรวย และจะทำหน้าที่เป็นแม่งานในการบูชานัตด้วยการบูชายันต์สัตว์นับร้อย[3]

นักวิชาการบางคนอ้างว่านิกายอะยีมีความสัมพันธ์กับศาสนาพุทธในอาณาจักรน่านเจ้าและต้าหลี่ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ขณะที่นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เป็นต้นว่าตัน ทุน (Than Tun) อธิบายว่านิกายอะยีคือพระอรัญวาสีที่มีวัตรปฏิบัติต่างจากภิกษุนิกายเถรวาทโดยเฉพาะด้านวินัยสงฆ์ ที่นักบวชนิกายอะยีสามารถฉันน้ำจัณฑ์ เสพสังวาส และฉันหลังเที่ยงได้ ซึ่งในรัชกาลพระเจ้าอโนรธาทรงปฏิรูปพระศาสนาให้นิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำรัฐตามคำแนะนำของภิกษุมอญนามว่าพระชินอรหันต์ (Shin Arahan) กอรปกับทรงไม่พอพระทัยที่นักบวชอะยีประพฤติตนไม่เหมาะควรให้เลื่อมใส[4] กระนั้นพระเจ้าอโนรธาก็ยังสนับสนุนการนับถือนิกายมหายานดังเดิม ดังปรากฏในเหรียญเงินประจำรัชกาลที่ใช้ภาษาสันสกฤตมากกว่าบาลี[5]

ใกล้เคียง