พยัญชนะ ของ อักษรขอมไทย

พยัญชนะมีทั้งหมด 35 ตัว โดยแต่ละตัวมีทั้งรูปตัวเต็มกับตัวเชิงหรือพยัญชนะซ้อน มีการจัดแบ่งเป็นวรรคตามระบบภาษาสันสกฤต

วรรค กะ




วรรค จะ




วรรค ฏะ




วรรค ตะ




วรรค ปะ




เศษวรรค









อักษรไทย อักษรขอมไทย และเลขไทย ตีพิมพ์ในสารานุกรมของดิเดอโรต์และดาลองแบรท์ (ภาพต้นฉบับมาจากหนังสือ Du Royaume de Siam ของ ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ พิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1691) อักษรขอมไทยในหน้านี้จัดไว้ในหัวข้อ Alphabet Bali (อักขระบาลี) แสดงรูปอักษรและการแจกลูกตัวสะกดตามอักขรวิธีขอมไทย

รูปพยัญชนะอักษรขอมไทยน้อยกว่าอักษรไทย 9 ตัว โดยรูปพยัญชนะที่ขาดไป 9 ตัว คือ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ และ ฮ ซึ่งการเขียนคำที่มีพยัญชนะที่ขาดไปเป็นดังนี้

  • ตัว ด ใช้ ฑ หรือ ต แทน เช่น ไฑ หรือ ไต = ได้, เฑากไม่ หรือ เตากไม่ = ดอกไม้
  • ตัว ฝ ใช้ ผ แทน เช่น ผี อาจหมายถึง ผี หรือฝี ขึ้นกับบริบท
  • ตัว ซ ใช้ ฌ ช หรือ ส เช่น ฌืตฺรง = ซื่อตรง, แลวใส้ย = แล้วไซร้
  • ตัว บ และ ฟ นิยมนำรูปตัว (ป) ของอักษรขอมมาเขียนแทน บ และเพิ่มหางขึ้นไปเป็นรูป ตัว (ป) ส่วนตัว ฟ ใช้รูปตัว (พ) ของอักษรขอมมาเติมหางเช่นกันเป็นรูป (ฟ) แต่ในหลายกรณี รูปตัว ป ของอักษรขอมทั้งที่มีหางและไม่มีหางมักใช้ปะปนกัน บางครั้งแทนเสียง ป บางครั้งแทนเสียง บ เช่น เบน หรือ เปน = เป็น, ไฟเผา = ไฟเผา
  • รูปตัว ฝ ใช้อักษรขอม ตัว พ เติมหางเช่นเดียวกับตัว ฟ เช่น ฟาย = ฝ่าย
  • ตัว ฃ ฅ ฎ ฮ ไม่มีที่ใช้ โดยใช้ ข ค ฏ และ ห แทน

พยัญชนะทุกตัวใช้เป็นพยัญชนะต้นได้ทั้งหมด ในกรณีของอักษรนำและตัวควบกล้ำ ตัวแรกใช้รูปตัวเต็ม ตัวต่อไปใช้รูปตัวเชิง

ตัวสะกด มี/ร

นิยมเขียนด้วยรูปตัวเชิงใต้พยัญชนะต้นหรือสระ เว้นแต่พยัญชนะมีรูปสระหรือตัวควบกล้ำอยู่ข้างล่างอยู่แล้วจึงใช้รูปตัวเต็ม