สระ ของ อักษรขอมไทย

พระราชลัญจกรพระบรมราชโองการสำหรับพิมพ์หัวกระดาษประกาศกฎหมายต่าง ๆ แบบที่ใช้ในช่วงก่อน พ.ศ. 2483 ข้อความในแพรแถบตอนล่างสุดเป็นอักษรขอมข้อความ "พฺระบรมฺมราชโองฺการ"

แบ่งเป็นสระลอยกับสระจม รูปสระลอยใช้เขียนคำที่มีเสียง อ มีทั้งหมด 8 ตัว ได้แก่


อะ

อา

อิ

อี

อุ

อู

เอ

โอ

รูปสระจมหรือประสมคล้ายกับอักษรไทยปัจจุบัน ที่ต่างไปมีดังนี้

  • สระเอีย - นิยมเขียนด้วยตัวเชิงของตัว ย เช่น ดฺยว = เดียว หรือใช้ทั้งสระ เอ + อิ (อี) + ตัวเชิงของ ย เช่น เสิย = เสีย
  • สระเอือ - มีทั้งแบบที่ใช้รูปสระ เอ + อิ + อ เช่น เพิอ = เพื่อ และ เอ + อิ (อื) + ตัวเชิงของ อ เช่น เงื่อน = เงื่อน
  • สระเออ - ใช้สระ เอ กับตัวเชิงของ อ เมื่อไม่มีตัวสะกด เช่น เธอ = เธอ และใช้สระเอ + อี + ตัวเชิงของ อ เมื่อมีตัวสะกด เช่น เตีอม = เติม หรือตัดตัวเชิงของ อ ใช้ตัวเชิงของตัวสะกดแทน
  • สระอัว - ใช้ ไม้หันอากาศกับตัวเชิงของ ว เมื่อไม่มีตัวสะกด หรือใช้ตัวเชิงของ ว อย่างเดียวเมื่อมีตัวสะกด เช่น ตฺวฺย = ด้วย