อักษรพักปา
อักษรพักปา

อักษรพักปา

อักษรพักปา (ทิเบต: འཕགས་པ་, ไวลี: ʼPhags pa, พินอินทิเบต: pagba) หรืออักษรพักส์-ปา (อังกฤษ: Phags-pa alphabet) ประดิษฐ์ขึ้นโดยพระทิเบตชื่อโจเกินเชอกยาพักปาในปี ค.ศ. 1269 ตามคำสั่งของกุบไลข่านแห่งจักรวรรดิมองโกลเพื่อใช้สำหรับเขียนภาษามองโกเลีย ซึ่งในขณะนั้นภาษามองโกเลียเดิมเขียนด้วยอักษรอุยกูร์ซึ่งไม่เหมาะกับเสียงในภาษา พักปาออกแบบอักษรใหม่โดยใช้อักษรทิเบตเป็นแบบ เป็นอักษรชนิดเดียวในตระกูลอักษรพราหมีที่เขียนในแนวตั้งจากบนลงล่าง และจากซ้ายไปขวา พยัญชนะทุกตัวมีเสียงสระอะติดตัว และจะใส่รูปสระหากต้องการออกเสียงสระอื่น อักษรนี้ใช้เขียนและถอดเสียงกลุ่มภาษาจีน, กลุ่มภาษาทิเบต, มองโกเลีย, อุยกูร์, สันสกฤต, เปอร์เซีย[1][2] และภาษารอบข้างในสมัยราชวงศ์หยวน[3][4]

อักษรพักปา

แหล่งที่มา

WikiPedia: อักษรพักปา http://www.ancientscripts.com/hphagspa.html http://www.omniglot.com/writing/phagspa.htm http://www.chinaknowledge.de/Literature/Script/pha... http://www.iranicaonline.org/articles/chinese-iran... http://www.babelstone.co.uk/Phags-pa/Description.h... http://www.babelstone.co.uk/Phags-pa/Overview.html http://www.babelstone.co.uk/Phags-pa/index.html https://books.google.com/books?id=3q6nja-Ii8gC https://books.google.com/books?id=4mHKuAAACAAJ https://id.loc.gov/authorities/subjects/sh85100550