ข้อถกเถียง ของ อัตราส่วนครูต่อนักเรียน

แหล่งข้อมูลจำนวนมากอภิปรายว่าอัตราส่วนครูต่อนักเรียนที่ต่ำมักเหมาะสมในการสอนนักเรียนในรายวิชาที่ซับซ้อนอย่าง ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์และเคมีมากกว่าที่ที่มีอัตรา่สวนครูต่อนักเรียนที่สูง ในสหรัฐ โรงเรียนที่มีอัตราส่วนครูต่อนักเรียนต่ำมีความเฉพาะตัวมากกว่า, มีนักเรียนผิวขาวจำนวนมากและตั้งอยู่นอกพื้นที่เมืองชั้นใน หรือเป็นสถาบันการศึกษาที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย (สถานศึกษาเอกชน)[5]

ข้อโต้แย้งและการโต้เถียงจำนวนมากเกี่ยวกับเงินสนับสนุนและอัตราส่วนครูต่อนักเรียนเป็นรากฐานของการศึกษาและอภิปรายจำนวนมาก มุมมองหนึ่งมองว่า

นักวิเคราะห์จำนวนมากค้นพบว่าทรัพยากรทางการศึกษาที่เพิ่มเข้ามาเป็นพิเศษมีบทบาทเล็กน้อยต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในขณะที่เด็กอยู่ในโรงเรียน ทว่านักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากได้รวบรวมข้อมูลแสดงถึงนักเรียนที่เข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ เมื่อเติบโตขึ้นมาจะประสบความสำเร็จในตลาดงานมากกว่านักเรียนที่เข้าศึกษาในสถานศึกษาที่ทรัพยากรมีจำกัด ตัวอย่างเช่น เด็กที่เข้าเรียนในสถานศึกษาที่มีอัตราส่วนครูต่อนักเรียนต่ำและผู้สอนมีระดับการศึกษาที่สูงกว่า เด็กกลุ่มนั้นจะมีรายได้สูงกว่าเมื่อเป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็กที่ศึกษาในสถานศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์[5]

ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดห้องเรียนและความสามารถในการอ่านจากแบบทดสอบการอ่านของนักเรียนเกรด 4 และ 8 ในสหรัฐ

ห้องเรียนขนาดเล็กกว่าถูกเชื่ออย่างกว้างขวางว่าจะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนทุกคน เนื่องจากการได้รับความสนใจจากผู้สอนเป็นรายบุคคล และอัตราส่วนครูต่อนักเรียนที่ต่ำจะให้ประโยชน์มากขึ้นในระดับมัธยมศึกษา จากการที่ระดับของเนื้อหามีความท้าทายมากยิ่งขึ้น นักเรียนในชั้นเรียนขนาดใหญ่กว่ามักหลุดลอยหรือลืมภาระงานนั้นไป เพราะครูจะเน้นจัดการเรียนการสอนให้กับทั้งชั้นเรียนมากกว่าที่จะให้ความสนใจเป็นรายบุคคล นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำจะได้ผลกระทบเป็นอย่างมากจากห้องเรียนลักษณะนี้[6]

นักเรียนมีข้อได้เปรียบในระดับชั้นที่สูงขึ้นจากการเรียนในห้องเรียนขนาดเล็กในระดับชั้นต้น ๆ การอยู่ในห้องเรียนขนาดเล็กเป็นเวลานานกว่าส่งผลให้เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จทางวิชาการในระดับที่สูงขึ้น ในวิชาการอ่านและวิทยาศาสตร์ ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ต่ำจะได้ประโยชน์มากกว่าจากการอยู่ในห้องเรียนขนาดเล็ก ประโยชน์ที่ได้จากขนาดห้องเรียนที่เล็กคือการช่วยลดช่องว่างของผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นที่สูงขึ้น[7] ในทางตรงกันข้าม ประเทศเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น ห้องเรียนขนาดใหญ่จะมีคุณค่าในแง่ที่ว่าเป็นโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์เป็นกลุ่มระหว่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับชั้นต้น ๆ และหากเจาะจงลงไปคือในระดับเตรียมอนุบาล[8]

ใกล้เคียง

อัตราส่วนของกรดไขมันในอาหารต่าง ๆ อัตราเร็วของเสียง อัตราการกักขังในสหรัฐอเมริกา อัตราเร็วของแสง อัตราส่วนทอง อัตราเร็ว อัตราส่วนครูต่อนักเรียน อัตราร้อยละ อัตราส่วนประสิทธิภาพของพลังงานตามฤดูกาล อัตราส่วน

แหล่งที่มา

WikiPedia: อัตราส่วนครูต่อนักเรียน http://news.msu.edu/media/documents/2009/10/4dc7ac... //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... http://www.classsizematters.org/fact-sheets-on-the... http://www.classsizematters.org/wp-content/uploads... //doi.org/10.1016%2Fj.learninstruc.2011.04.001 //doi.org/10.1086%2F605103 http://data.uis.unesco.org/ https://books.google.com/books?id=5ax2BAAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=N3UIwF9P1WUC&pg=... https://books.google.com/books?id=OBZCxM1-Pg8C&pg=...