ประวัติ ของ อัมพปาลี

ชีวิตข่วงต้น

อัมพปาลีเกิดเมื่อราว 600-500 ปีก่อนคริสต์ศักราช บิดาชื่อมหานามะ (Mahanama) ส่วนมารดาไม่ปรากฏนาม ชื่อของนางในทางศัพทมูลมาจากภาษาสันสกฤตสองคำ คือ อามร (มะม่วง) กับ ปลฺลว (ต้นอ่อน)[8] กล่าวกันว่านางคลอดออกมาเองที่โคนต้นมะม่วงต้นหนึ่งในราชอุทยานในแคว้นเวสาลี จึงเป็นที่มาของชื่อนาง[9]

นางอัมพปาลีมีโฉมงามตั้งแต่ยังเป็นเด็ก กล่าวกันว่าเจ้านายนามว่า มหานามัน หลงในความงามของเด็กหญิงอามราปาลีมากจนยอมทิ้งแคว้นของตนเพื่อไปอาศัยอยู่กับนางในหมู่บ้านเล็ก ๆ ของเวสาลี (ปัจจุบันคืออมุซซัฟฟารปุระ)[10]

นางบำเรอ

ในเวลานั้น เวสาลีเป็นราชธานีพวกเจ้าลิจฉวี หนึ่งในแปดตระกูลกษัตริย์ที่รวมกันตั้งแคว้นวัชชี[11] ตามธรรมเนียมแล้ว สตรีที่โฉมงามที่สุดในดินแดนจะถวายตัวเป็นนางบำเรอให้กับผู้ชายหลายคน มากกว่าที่จะเลือกแต่งงานกับขายคนเดียว[12]

อัมพปาลีเติบโตมาด้วยโฉมที่งดงามและมีความสามารถมากในศิลปะแขนงต่าง ๆ[12] บรรดาขุนนางหนุ่ม ๆ ล้วนหมายปองนาง เมื่อมนูเทพ (Manudev) กษัตริย์แห่งเวสาลี ได้ชมนางร่ายรำในนคร มนูเทพได้วางแผนที่จะมีนางไว้ครอบครองเอง เขาสังหารคู่รักวัยเด็กและว่าที่เจ้าบ่าวของอัมพปาลี ชื่อว่า บุษปกุมาร (Pushpakumar) ในวันที่ทั้งสองจะแต่งงานกัน และประกาศให้นางแต่งงานเป็นเจ้าสาวของนครเวสาลี — หรือคือเป็น นครวธู และนางได้รับยศเป็น "เวสาลีชนบทกัลยาณี" (Vaishali Janpad Kalayani)

หลังได้รับสถานะนครวธู นางได้กลายมาเป็น "ราชนารฏิกี" (Rajanartiki) หรือนางรำประจำราชสำนัก[13] ค่าเข้าชมการร่ายรำของเธออยู่ที่ห้าสิบกหาปณะต่อคืน เธอจึงร่ำรวยมาก จนอาจมากกว่ามหาราชาบางพระองค์[12]

พบพระพุทธเจ้า

ตามเอกสารของพุทธ อัมพปาลีมีโอกาสได้ถวายเพลแก่พระโคตมพุทธเจ้าขณะพระองค์เสด็จเยือนเวสาลีเป็นคืนสุดท้าย ไม่นานก่อนเสด็จปรินิพพาน[14] อัมพปาลีได้เข้าฟังเทศนาของพระพุทธองค์ในป่ามะม่วง (อัมพวัน) และซึ้งในรสพระธรรมมาก นางจึงได้นิมนต์พระพุทธองค์มาฉันที่บ้านของนาง[15] ในงานเขียนบางส่วนระบุว่าพระพุทธองค์เสด็จประทับในสวนมะม่วงของนางก่อน แล้วอัมพปาลีจึงได้ร้องขอให้ประทับต่อ[16] พระพุทธองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ[15] ขณะที่นางกำลังเดินทางกลับ รถของนางชนเข้ากับรถของเจ้าชายองค์หนึ่งของเวสาลี ซึ่งกำลังเดินทางไปนิมนต์พระพุทธเจ้าฉันภัตตาหารกับตนเช่นกัน เขาก่นด่าและเหยียดเธออย่างรุนแรงว่า 'คณิกา' (กะหรี่) เพื่อให้เธอถอยทางให้เขาผ่าน จากนั้นจึงมีการประกาศว่าพระพุทธองค์จะเสด็จฉันภัตตาหารที่บ้านของนางอัมพปาลี เจ้าชายผู้นั้นผิดหวังและเสนอที่จะมอบทองให้กับนางเพื่อขอแลกสิทธิ์ในการรับเสด็จพระพุทธเจ้า แต่เธอปฏิเสธ[16][17]

พระพุทธเจ้ารับรู้ถึงโฉมงามของนาง และตรัสกับพุทธสาวกไม่ให้หลงไหลไปกับความงามของนาง[17] นางอัมพปาลีนิมนต์พระพุทธองค์พร้อมด้วยผู้ติดตามของนาง ให้เสด็จเข้าประทับในที่พำนักของนางที่ตกแต่งอย่างวิจิตรตระการตาเป็นพิเศษ[18] หลังพระองค์ฉันภัตตาหารเสร็จสิ้น นางอัมพปาลีได้ถวายสวนมะม่วงและที่พำนักของนางทั้งหมดให้แก่พระพุทธศาสนา และเพื่อให้ทรงใช้เป็นที่แสดงเทศนา[18] ไม่นานนับจากนั้น นางอัมพปาลีได้ออกจากการเป็นนางบำเรอ และบวชเป็นภิกษุณี[18] ระบุกันว่าท้ายที่สุดนางได้บรรลุเป็นอรหันต์

นางมีบุตรชายชื่อวิมลโกณฑัญญะ ซึ่งได้อุปสมบทและต่อมาเป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง[14]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: อัมพปาลี http://hindu.com/thehindu/lf/2002/07/15/stories/20... http://www.indiantelevision.com/prog/locat/y2k2/aa... http://timesofindia.indiatimes.com/articleshow/169... http://www.palikanon.com/english/pali_names/am/amb... http://www.palikanon.com/english/pali_names/am/amb... http://www.tribuneindia.com/2008/20081214/spectrum... http://www.women-philosophers.com/Ambapali-Amrapal... http://www.anuraganand.in/index.php?option=com_boo... http://www.thehindubusinessline.in/life/2002/07/08... https://books.google.com/books?id=G3Uph1xLa74C&q=A...