หลังการสิ้นอำนาจของซัดดัม ของ อัลกุรอานเลือด

หลังจากการนำทัพบุกแบกแดดนำโดยกองทัพสหรัฐในเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ผู้รับผิดชอบดูแลสุเหร่าได้นำอัลกุรอานเลือดไปเก็บไว้เพื่อความปลอดภัย การเสียชีวิตของซัดดัมได้ทำให้องค์การศาสนาและฝ่ายฆราวาสอิรักอยู่ในสภาวะลำบากอย่างรุนแรง ในแง่หนึ่ง ศาสนาอิสลามถือว่าเป็นฮะรอม (ข้อห้าม) ที่จะเขียนอัลกรุอานด้วยเลือด พฤติการณ์ของซัดดัมได้รับการประณามใน พ.ศ. 2543 โดยองค์การศาสนาในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และซาอุดิอาระเบีย[6] ศาสตราจารย์อับดุล กอฮ์ฮะร์ อัล-อะนี ศาสตราจารย์ด้านความคิดอิสลามจากมหาวิทยาลัยแบกแดด ได้ให้เหตุผลว่า "ซัดดัมไม่ใช่บุคคลศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นเลือดของเขาจึงสกปรก" อะลี อัลวะอะฮ์ นักบวชนิกายชีอะฮฺผู้ซึ่งถูกจองจำในสมัยซัดดัม อธิบายว่าอัลกุรอานเลือดเป็น "เวทมนตร์ดำของซัดดัม อัลกุรอานเป็นสิ่งที่เกี่ยวกับทองคำและเงิน ไม่ใช่สิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ดังเช่นเลือด [อัลกุรอานเลือด] สามารถถูกเผาทิ้งหรือสามารถโยนลงแม่น้ำได้ ผมจะโยนมันลงในแม่น้ำ" ในอีกแง่หนึ่ง เป็นข้อห้ามมิให้ทำให้อัลกุรอ่านแปดเปื้อนหรือเสียหาย โดยที่ชาวอิรักคนหนึ่งได้สรุปถึงปัญหาดังกล่าวว่า "มันเป็นข้อห้ามที่จะเขียนอัลกุรอานด้วยเลือด แต่เราจะทำลายคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์จากพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างไร"[2][5]

รัฐบาลอิรักและบุคคลทางการเมืองยังได้แสดงมุมมองที่แตกต่างกันว่าควรจะดำเนินการอย่างไรกับอัลกุรอานเลือด รัฐบาลชีอะฮฺไม่ต้องการเห็นการเกิดใหม่ทางสัญลักษณ์ของการปกครองสมัยซัดดัมและตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดูแลการทำลายสัญลักษณ์เหล่านี้ อดีตศัตรูการเมืองของซัดดัมบางคน อย่างเช่น อะห์มัด ชลาบี ได้ให้เหตุผลสำหรับการทำลายอนุสาวรีย์และสัญลักษณ์บนพื้นดินทั้งหมดสมัยซัดดัมเนื่องจากมันเป็น "เครื่องเตือนใจที่ชัดเจนถึงผลที่ตามมาของการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จและสร้างภาพบุคคลที่มีความชั่วร้ายอยู่ในตัวว่าเป็นอุดมคติ" ส่วนคนอื่น อย่างเช่น มุวัฟฟัก อัลรุบาอีย์ ได้โต้แย้งว่าชาวอิรัก "จำเป็นต้องจดจำ [สมัยซัดดัม] ทั้งสิ่งที่เลวร้ายและสิ่งที่ดีและเรียนรู้จากบทเรียนดังกล่าว" โฆษกประจำนายกรัฐมนตรีอิรัก อะลี อัลมูซาวี ได้เสนอว่าอัลกุรอานเลือดควรจะเก็บไว้ "เป็นเอกสารสำหรับความป่าเถื่อนของซัดดัม เนื่องจากเขาไม่ควรจะสร้างสิ่งนี้ขึ้นมา มันสามารถบอกอะไรเราได้มากเกี่ยวกับเขา" อย่างไรก็ตาม เขากล่าวว่ามันไม่ควรจะถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เนื่องจากคงไม่มีชาวอิรักคนใดต้องการได้เห็นมัน แต่มันอาจถูกนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เอกชน อย่างเช่น เรื่องน่าจดจำของฮิตเลอร์หรือสตาลิน[2]

ใกล้เคียง

อัลกุรอาน อัลกุรอานเลือด อัลกุรอานแอลจีเรีย อัลกุรนะตุสเซาดาอ์ อัลกุรอานที่เขียนด้วยมือแห่งเบอร์มิงแฮม อัลกออิดะฮ์ อัลกะฮฟ์ อัลก็อยเราะวาน อัลอุซซา อัลกาลาเดเอนาเรส