การรับรอง ของ อัลลาต

ก่อนการมาของอิสลาม

รูปั้นของอัลลาต-อะธีนา พบในวิหารอัลลาต, แพลไมรา. พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแพลไมรา
รูปปั้นของอัลลาต-มิเนอร์วาที่ถูกปั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 2 จากอัสซุวัยดาอ์, ซีเรีย พิพิธภัณฑ์แห่งชาติดามัสกัส

อัลลาตถูกกล่าวเป็น อะลิลาต โดยเฮอรอโดทัส นักประวัติศาสตร์กรีกที่กล่าวในหนังสือ ฮิสโตรีส ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลว่า:[9]

ชาวอัสซีเรียโบราณเรียกแอโฟรไดทีว่า มีลิตตา ส่วนชาวอาหรับเรียกพระองค์ว่า อะลิลาต [สะกดแบบกรีก: Ἀλιλάτ] และชาวเปอร์เซียเรียกพระองค์ว่า มิถรา[10]

รายงานจากเฮอรอโดทัส ชาวอาหรับโบราณศรัทธาต่อสองเทพเจ้า:

พวกเขาไม่เชื่อมั่นพระเจ้าองค์ใดนอกจากไดอะไนซัสกับแอโฟรไดที;...พวกเขาเรียกไดอะไนซัสว่า โอโรทัลต์; และแอโฟรไดทีว่า อะลิลาต[11]

อัลลาตเป็นที่สักการะในอาระเบียตอนเหนือ แต่ในอาระเบียตอนใต้กลับไม่ได้รับความนิยม โดยมีแค่เครื่องรางสองอัน (อันหนึ่งเขียนว่า "ลาต"ส่วนอีกอันเขียนว่่า "ลาตัน") เป็นหลักฐานว่าเทพองค์นี้เคยมีผู้คนสักการะมาก่อน[12] อย่างไรก็ตาม พระองค์ยังคงเป็นที่เคารพในชนเผ่าอาหรับที่อยู่แถวชายแดนเยเมน[12] โดยพระองค์ถูกเรียกโดยชาวอาระเบียตะวันออกในพระนามว่า ตัยมัลลัต[13] ซึ่งเป็นชื่อของชายจากเมืองญัรฮาอ์[14]

ชาวเกดาไรต์ที่เป็นสหภาพชนเผ่าในอาระเบีนตอนเหนือ อาจบูชาพระองค์[15] ส่วนชาวแนบาเทียนกัับชาวฮัฎร์ก็บูชาพระองค์เช่นกัน[16] พระองค์มักถูกเรียกเป็น "เทพีที่ยิ่งใหญ่" ในจารึกภาษากรีก[16] ชาวแนบาเทียนถือว่าอัลลาตเป็นพระมารดาของเทพเจ้า และบางครั้ง ความสัมพันธ์ทางพระราชพงศาวลีถือเป็นพระมเหสีของดุชาเราะฮ์ และบางครั้งเป็นพระมารดาของดุชาเราะฮ์[3] จารึกอักษรนาบาทาเอียนกล่าวถึงพระองค์กับอัลอุซซาว่า "พธูแห่งดุชาเราะฮ์"[17]

ซากวิหารของวิหารแห่งอัลลาต, แพลไมรา, ซ๊เรีย

วิหารที่สร้างแก่อัลลาตในอิรอม ถูกสร้างโดยชนเผ่าอ๊าด [18] อัลลาตถูกกล่าวเป็น "เทพีผู้สถิตในอิรอม" ในจารึกอักษรนาบาทาเอียน[1] บางครั้งถูกกล่าวเป็น "เทพีที่สถิตในบุศรอ"[1]

อัลลาตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอัลอุซซา และในบางแคว้นของราชอาณาจักรแนบาเทีย ทั้งคู่ถือเป็นเทพีองค์เดียวกัน[3] จอห์น เอฟ. ฮีลีย์ (John F. Healey) เชื่อว่าอัลลาตกับอัลอุซซาว่าเป็นเทพีองค์เดียวกัน[3] ซูซาน โครน (Susan Krone) แนะนำว่าทั้งอัลลาตกับอัลอุซซาที่ผสมกันอยู่ในอาระเบียตอนกลาง[19]

ในศตวรรษที่ 2 อัลลาตในแพลไมราเริ่มถูกวาดเป็นอะธีนา และถูกกล่าวเป็น "อะธีนา-อัลลาต"[20] วาบัลลาธุส จักรพรรดิแพลไมรีน ที่มีพระนามถูกแปลงเป็นอักษรลาตินจาก วะฮ์บัลลาต ("ของขวัญจากอัลลาต") เริ่มใช้นาม อะธีโนโดรุส ในฐานะชื่อกรีกของพระองค์[21]

ธรรมเนียมอิสลาม

ในหลักฐานของศาสนาอิสลามได้กล่าวถึงอาระเบียก่อนการมาของอิสลาม อัลลาตถือเป็นหัวหน้าเทพีของเผ่าบนูษะกีฟ[22] พระองค์ถูกกล่าวว่าเป็นที่เลื่อมใสในอัฏฏออิฟ โดยพระองค์ถูกกล่าวเป็น อัรร็อบบะ ("สตรี"),[23][24] และถูกรายงานว่ามีวิหารที่ตกแต่งด้วยเครื่องประดับและทรัพย์สินที่เป็นทองกับพลอยโมรา[25] โดยตัวพระองค์มีรูปร่างเป็นลูกบาศก์หินแกรนิต[22][8] บริเวณรอบ ๆ วิหารจึงกลายเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยห้ามตัดต้นไม้, ห้ามล่าสัตว์ และห้ามหลั่งเลือดในบริเวณนี้[26]

รายงานใน กิตาบ อัลอัศนาม ของฮิชาม อิบน์ อัลกัลบี วิหารของพระองค์อยู่ภายใต้การดูแลของบนูอัตตาบ อิบน์ มาลิก แห่งบนูษะกีฟ[13] ซึ่งถูกบูชาโดยชนเผ่าอาหรับอื่น ๆ โดยรวมไปถึงเผ่ากุเรช และตั้งชื่อลูกตามพระนามของเทพี เช่น ซัยด์ อัลลาต กับ ตัยม์ อัลลาต[13] อัลลาตถูกกล่าวในกวีอาหรับก่อนการมาของอิสลาม เช่น อัลมุตะลัมมิส ของ อัมร์ อิบน์ ฮินด์:[27]

เจ้าได้เนรเทศข้าเนื่องจากความกลัวแก่ถากถางและเสียดสี
ไม่! แด่อัลลาตและแบทิลส์ (อันศอบ) ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด
เจ้าไม่มีวันหนีไปได้

อัลลาตบนสิงโต โดยมีสตรีสององค์อยู่ข้าง ๆ ซึ่งอาจเป็นอัลอุซซากับมะนาต รูปปั้นนูนจากฮัฏร์ในศตวรรษที่ 2

กวีที่เขียนโดยซัยด์ อิบน์ อัมร์ กล่าวถึงอัลลาต คู่กับอัลอุซซากับฮุบัลไว้ว่า:[28]

ข้าสักการะพระเจ้าองค์เดียวหรือพันองค์?
ถ้ามันมีมากตามที่คุณได้กล่าวอ้าง
ข้าละทิ้งอัลลาตและอัลอุซซา ทั้งสององค์
อย่างที่คนที่คิดได้ควรทำ
ข้าจะไม่สักการะอัลอุซซากับพระธิดาของพระองค์ทั้งสอง…
ข้าจะไมาสักการะฮุบัล, ถึงแม้ว่าพระองค์เป็นพระเจ้าของเรา
ในวันที่ข้ามีความรู้สึกเล็กน้อย

อัลลาตถูกกล่าวว่าเป็นพระธิดาของอัลลอฮ์ (ก่อนการมาของอิสลาม) คู่กับอัลอุซซากับมะนาต[29][30][31][32] รายงานจาก กิตาบ อัลอัศนาม ชาวกุเรชกล่าวคำสรรเสริญในขณะเดินวนรอบกะอ์บะฮ์ว่า:[33]

แด่อัลลาตและอัลอุซซา
และมะนาต สามเทวรูปเคียงคู่กัน
แท้จริงสามองค์นั้นคือ อัลเฆาะรอนีก
ซึ่งการขอร้องจะต้องแสวงหา

คำว่า เฆาะรอนีก ถูกแปลเป็น "สตรีที่ยกย่องที่สุด" โดยฟาริสใน กิตาบ อัลอัศนาม รุ่นแปลภาษาอังกฤษ แต่ได้เขียนหมายเหตุว่า "แปลตรงตัว: นกกระเรียนนูมีเดีย"[33]

รายงานจากธรรมเนียมของอิสลาม วิหารของอัลลาตที่อยู่ในอัฏฏออิฟถูกทำลายภายใตคำสั่งของศาสดามุฮัมมัด ในระหว่างการเดินทางของอบูซุฟยาน อิบน์ ฮัรบ์ ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับสงครามตะบูก[25] (ซึ่งเกิดในเดือนตุลาคม ค.ศ. 630)[34] รายงานจาก กิตาบ อัลอัศนาม เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากเผ่าบนูษะกีฟเข้ารับอิสลาม และวิหาร "ถูกเผาทำลาย"[27]

อัลกุรอานกับอุบัติการณ์โองการชัยฏอน

ดูบทความหลักที่: โองการชัยฏอน

ในอัลกุรอาน พระองค์ถูกกล่าวพร้อมกับอัลอุซซาและมะนาตในซูเราะฮ์ที่ 53:19–22,[35] โดยมีอยู่หลานรายงาน (ทั้งหมดไปยังรายงานของมุฮัมมัด อิบน์ กะอับ ซึ่งถูกลบออกไปสองรุ่นจากชีวประวัติของอิบน์อิสฮัก)[36] ซึ่งรายงานว่า ในขณะที่มุฮัมมัดกำลังอ่านซูเราะฮ์อันนัจม์ในอายะฮ์ที่ว่า:

แล้วพวกเจ้ามิได้เห็นอัลลาต และอัลอุซซา และตัวอื่นคือตัวที่สาม, มะนาต ดอกหรือ?— ซูเราะฮ์ 53, 19–20

อิบลีสล่อให้ท่านไปอ่านประโยคอื่นแทนด้วย:[36]

แท้จริงสามองค์นั้นคือ อัลเฆาะรอนีก ซึ่งการขอร้องจะต้องแสวงหา (ภาษาอาหรับ:تلك الغرانيق العلى وإن شفاعتهن لترتجى)

เทวทูตญิบรีลตำหนิมุฮัมมัดในการอ่านประโยคนั้น และมีการประทานโองการใหม่ทับอันเก่าต่อด้วยคำว่า:[37]

สำหรับพวกเจ้ามีเพศชาย และสำหรับพระองค์ให้เพศหญิงกระนั้นหรือ? ดูซิ นั่น เป็นการแบ่งส่วนที่ไม่ยุติธรรม!— ซูเราะฮ์ 53, 21–22

นักวิชาการมุสลิมส่วนใหญ่ปฏิเสธอุบัติการณ์นี้ ตามหลักคำสอนเทววิทยาของ อิศมะฮ์ (ความผิดพลาดของศาสดา เช่น โองการที่ประทานแก่มุฮัมมัดด้วยข้อผิดพลาด) และเป็น อิสนาด (สายรายงาน) ระดับอ่อน[38]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อัลลาต http://www.oxfordislamicstudies.com/article/opr/t1... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text.jsp?doc=P... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text.jsp?doc=P... http://www.perseus.tufts.edu/hopper/text?doc=Perse... //doi.org/10.2307%2F1595926 //www.jstor.org/stable/1595926 https://www.bbc.com/news/magazine-35720366 https://books.google.com/?id=8zHxlL8my-YC&pg=PA59&... https://books.google.com/?id=sEIngqiKOugC&pg=PA37&... https://books.google.com/books?id=0OrVyvGkC&pg=PA1...