ประวัติ ของ อาณาจักรอังวะ

อาณาจักรอังวะสถาปนาโดยพระเจ้าตะโดมินพญาในปี ค.ศ. 1364[3]:227 หลังการล่มสลายของ อาณาจักรซะไกง์ และอาณาจักรปี้นยะ ในการรุกรานของรัฐฉานจากทางเหนือ ในปีแรกของการดำรงอยู่อังวะซึ่งมองตนเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากอาณาจักรพุกาม ได้พยายามที่จะรวบรวมดินแดนเมื่อครั้งที่สมัยอาณาจักรพุกามพิชิตได้ โดยการทำสงครามต่อเนื่องยาวนานกับอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญทางภาคใต้ รัฐฉานในภาคเหนือและภาคตะวันออก และรัฐยะไข่ทางภาคตะวันตก[1]

ในขณะที่สามารถยึดครองตองอูและบางส่วนของรัฐฉาน (กะเล่, โม่ญี่น, โมกองและตี่บอ) ช่วงจุดสูงสุดของการยึดครองดินแดนของอาณาจักรอังวะได้หยุดลงในช่วง สงครามสี่สิบปี กับอาณาจักรหงสาวดี (ค.ศ. 1385-1424) หลังจากนั้นในช่วงจากยุค ค.ศ. 1420 ถึงต้นยุค ค.ศ. 1480 อาณาจักรอังวะต้องเผชิญหน้ากับการกบฏกษัตริย์องค์ใหม่เข้ามามีอำนาจแทน ในยุค ค.ศ. 1480 และยุค ค.ศ. 1490 อาณาจักรแปรทางตอนใต้และรัฐฉานภายใต้อิทธิพลของอังวะในภาคเหนือประกาศอิสรภาพ และตองอูซึ่งเริ่มมีอำนาจเหนือกว่าอังวะ ในปี ค.ศ. 1510 ตองอูก็แยกตัวออกไป[1]

อังวะตกอยู่ภายใต้การรุกรานอย่างรุนแรงจากรัฐฉานในช่วงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในปี ค.ศ. 1527 รัฐฉานนำโดยเมืองโม่ญี่นซึ่งเป็นพันธมิตรกับแปร ได้เข้ายึดครองอังวะและปกครองพม่าตอนบน ในฐานะที่อาณาจักรแปรเป็นพันธมิตรกับรัฐฉาน จึงมีเพียงตองอูอาณาจักรเล็ก ๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอังวะ หรือบริเวณทิศตะวันออกของทิวเขาพะโค ยังคงเป็นเมืองอิสระสุดท้ายของชาวพม่า

ความล้มเหลวในการยับยั้งอาณาจักรตองอูพิสูจน์แล้วว่ามีบทเรียนราคาแพง ทำให้อาณาจักรอังวะถูกล้อมรอบด้วยอาณาจักรที่เป็นศัตรู อาณาจักรตองอูที่แข็งแกร่งมากขึ้นเริ่มมีความคิดที่จะรวบรวมดินแดน หลังได้รับชัยชนะในการรุกรานอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญในปี ค.ศ. 1534-1541 อาณาจักรตองอูหันหลังให้กับอาณาจักรแปรและรัฐฉาน และส่งกองทัพไปเข้าโจมตีแปรในปี ค.ศ. 1542 และพุกามเมืองตอนใต้ของอาณาจักรอังวะในปี ค.ศ. 1544[4] ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1555 พระเจ้าบุเรงนอง แห่งตองอูก็สามารถพิชิตอาณาจักรอังวะได้สำเร็จ อันเป็นการสิ้นสุดอาณาจักรอังวะที่มีมานานเกือบสองร้อยปี

ใกล้เคียง

อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรธนบุรี อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรพระนคร อาณาจักรปตานี อาณาจักรแห่งกาลเวลา