พระสันตะปาปาแห่งอาวีญง ของ อาวีญงปาปาซี

พระสันตะปาปาอาวีญงปาปาซี 7 พระองค์มีพระนามดังนี้

  1. สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 5 - ค.ศ. 1305 - ค.ศ. 1314
  2. สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 22 - ค.ศ. 1316 - ค.ศ. 1334
  3. สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 12 - ค.ศ. 1334 - ค.ศ. 1342
  4. สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 6 - ค.ศ. 1342 - ค.ศ. 1352
  5. สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 6 - ค.ศ. 1352 - ค.ศ. 1362
  6. สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 5 - ค.ศ. 1362 - ค.ศ. 1370
  7. สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 11 - ค.ศ. 1370 - ค.ศ. 1378

ในปี ค.ศ. 1376 พระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 11 ทรงย้ายกลับไปประทับที่กรุงโรมตามเดิม หลังจากนั้นก็เกิดการแตกแยกระหว่างพระคาร์ดินัลจึงทำให้มีผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปา (Antipope) ขึ้นที่อาวีญงพร้อมกับโรม:

  1. ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7 - ค.ศ. 1378 - ค.ศ. 1394 (คนละองค์กับสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 7)
  2. ผู้อ้างตนเป็นพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13 - ค.ศ. 1394 - ค.ศ. 1423 (คนละคนกับสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 13) - (ถูกขับจากอาวีญงเมื่อ ค.ศ. 1403)

ช่วงเวลาระหว่างปี ค.ศ. 1378 ถึงปี ค.ศ. 1417 เป็นช่วงเวลาที่นักวิชาการโรมันคาทอลิกเรียกว่า ศาสนเภทตะวันตก (Western Schism) หรือ “การโต้แย้งครั้งใหญ่เรื่องพระสันตะปาปาเท็จ” หรือที่บรรดานักประวัติศาสตร์ฝ่ายโปรเตสแตนต์เรียกกันว่า “มหาศาสนเภทครั้งที่สอง” เพราะเป็นการแตกแยกของพระคาร์ดินัลกลุ่มต่าง ๆ ผู้สนับสนุนพระสันตะปาปาที่โรม ที่อาวีญง และที่อื่นว่าใครเป็นพระสันตะปาปาที่แท้จริง จนกระทั่งมายุติลงจากผลการสังคายนาคอนชตันซ์ในปี ค.ศ. 1417 (Council of Constance) [7][8]

รัฐสันตะปาปา (ในปัจจุบันมีเพียงที่นครรัฐวาติกัน) ในขณะนั้นรวมไปถึงที่ดินบริเวณอาวีญงและบริเวณเล็ก ๆ และทางตะวันออก มาจนกระทั่งการปฏิวัติฝรั่งเศสจึงกลับไปเป็นของประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ. 1791