ประวัติอาสนวิหารในประเทศอังกฤษ ของ อาสนวิหาร

อาสนวิหารเดอรัมอาสนวิหารคณะเบเนดิกติน ซากปรักหักพังของวังของบาทหลวงที่อาสนวิหารลิงคอล์นซึ่งปกครองโดยเคอลจีแบบเซคิวลาร์อาสนวิหารเวลส์ปกครองระยะหนึ่งโดย Provostหอประชุมนักบวชที่อาสนวิหารลิงคอล์น

ประวัติของอาสนวิหารในประเทศอังกฤษแตกต่างกันเป็นบางอย่างจากประวัติของอาสนวิหารในประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป อังกฤษมีอาสนวิหารน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรปเช่นฝรั่งเศสหรืออิตาลี แต่ตัววิหารจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เมื่อสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส ฝรั่งเศสมีอาสนวิหาร 136 อาสนวิหารในขณะที่อังกฤษมีเพียง 27

ประเทศอังกฤษตามกฎแล้วจะห้ามสร้างอาสนวิหารในหมู่บ้าน ฉะนั้นสถานที่มีอาสนวิหารจึงได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นเมืองไม่ว่าจะเป็นสถานที่ขนาดไหน บางครั้งเราจึงพบว่าอาสนวิหารบางอาสนวิหารจะตั้งอยู่ในเมืองที่ค่อนข้างเล็กแต่จะเรียกตัวเองว่า "นครอาสนวิหาร" ("cathedral city") เช่น "เมืองอาสนวิหารเว็ลส์" ที่เป็นที่ตั้งของอาสนวิหารเว็ลส์ ตัวเมืองเวลส์จะไม่ใหญ่ไปกว่าเมืองเล็ก ๆ หรือเมืองอีลี ที่ตั้งอาสนวิหารอีลีซึ่งเป็นอาสนวิหารขนาดใหญ่ที่สร้างแบบศิลปะยุคกลาง

ระบบการปกครอง

ระบบการปกครองระยะแรก

การที่เกาะอังกฤษ (British Isles) เป็นเกาะที่มีเนื้อที่น้อย แทนที่จะแบ่งมุขมณฑลอย่างชัดเจนเช่นประเทศอื่นในทวีปยุโรป อังกฤษใช้ระบบ "มุขมณฑลเคลื่อนที่" โดยจะแบ่งมุขมณฑลตามที่ตั้งของกลุ่มชน เช่น บิชอปของชาวแซกซันใต้ หรือชาวแซกซันตะวันตก "คาเทดรา" จะเป็นแบบที่ย้ายไปไหนมาไหนได้ตามการเคลื่อนย้ายของชุมชน

ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงมุขมณฑลจะเห็นได้จากการการประชุมบิชอปที่ลอนดอน เมื่อปี ค.ศ. 1075 ที่อาร์ชบิชอปลองฟรอง (Lanfranc) เป็นประธาน ผลจากการประชุมทำให้มีการย้ายหรือเปลี่ยนแปลงมุขมณฑลในบางเขต เช่น มีคำสั่งให้บิชอปของกลุ่มชนแซ็กซอนใต้ย้ายจากมุขมณฑลเซลซี (Selsey) ไปอยู่ที่ชิคเชสเตอร์ ให้บิชอปแห่งวิลท์เชอร์และดอร์เซ็ทย้ายคาเทดรา" จากแชร์บอร์น (Sherborne) ไปโอลด์เซรัม (Old Sarum) (ใกล้เมืองซอลส์บรี (Salisbury)) และให้บิชอปแห่งเมอร์เซีย (Mercia) ย้ายอาสนวิหารจากลิคฟิลด์ (Lichfield) ไปเชสเตอร์ (Chester) การย้ายบิชอปเหล่านี้ทำให้เราเห็นร่องรอยการย้ายถิ่นฐานของชนกลุ่มต่าง ๆ เช่น การแบ่งมุขมณฑลที่ไอร์แลนด์ของมีธ (Meath) ซึ่งมีผลทำให้เขตมีธไม่มีอาสนวิหาร และออสซอรี (Ossory) ที่อาสนวิหารอยู่ที่คิลเค็นนี (Kilkenny) มุขมณฑลสกอตแลนด์ก็เช่นเดียวกันเป็นมุขมรฑลแบบเคลื่อนที่

ระบบการปกครองปลายยุคกลาง

ระหว่างปลาย คริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 อังกฤษมีอาสนวิหารแบบอารามปกครองโดยนักพรตพอ ๆ กับอาสนวิหารแบบเซคิวลาร์ที่ปกครองโดยสภาเคลอจีที่ประกอบด้วย แคนัน นำโดยดีน อาสนวิหารบาธ (Bath) มีมุขมณฑลร่วมกับเวลส์ และอาสนวิหารโคเว็นทรี (Coventry) มีมุขมณฑลร่วมกับ ลิคฟิลด์เป็นต้น

การปฏิรูปศาสนา

ระบบการปกครองอาสนวิหารมีผลกระทบกระเทือนมากที่สุดเมื่อมีการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ (English Reformation) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้ประเทศอังกฤษแยกตัวมาจากการปกครองของนิกายโรมันคาทอลิก โบสถ์ที่เคยขึ้นตรงต่อคริสตจักรคาทอลิกก็ย้ายมาขึ้นกับคริสตจักรแห่งอังกฤษ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ ที่มีผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อสถานภาพของอาสนวิหารทั่วทั้งเกาะอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุหรือรูปการปกครองของอาสนวิหาร

หลังจากอังกฤษแยกตัวออกมาเป็นนิกายอิสระจากคาทอลิก พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ ก็มีพระราชโองการสั่งให้ยุบอารามและยึดทรัพย์อารามทั้งหมดในประเทศอังกฤษตามการยุบอาราม ยกเว้นอาสนวิหารบาธและอาสนวิหารโคเว็นทรีซึ่งได้รับการสถาปนาใหม่ให้เป็นอาสนวิหารแบบเซคิวลาร์ โดยมี Dean เป็นผู้ปกครองและมีแคนันระหว่าง 12 คน อย่างเช่นที่ อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี และอาสนวิหารเดอร์แรม จนลงไปถึง 4 คนที่ อาสนวิหารคาร์ไลส์ (Carlisle Cathedral) ตำแหน่ง “Precentor” ที่เคยเป็นตำแหน่งสำคัญของ “ระบบเก่า” (Old Foundation) ก็ถูกลดความสำคัญลงมา

นอกจากยุบอาสนวิหารเดิมแล้วพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงสร้างอาสนวิหารขึ้นใหม่ 6 แห่งจากอารามเดิม แต่ละแห่งปกครองโดยแคนันประจำมุขมณฑล (secular canon) ทั้ง 6 แห่งมี เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ เท่านั้นที่มิได้รักษาฐานะอาสนวิหารเอาไว้

โบสถ์ใหญ่ ๆ ที่ต่อมาได้รับเลื่อนฐานะเป็นอาสนวิหารหลังจากการปฏิรูปศาสนาก็มี อาสนวิหารเซาท์เวลล์ (Southwell cathedral) อาสนวิหารซัทเธิร์ค (Southwark cathedral) อาสนวิหารริพอน (Ripon cathedral) อาสนวิหารเซนต์อัลบัน

การบริหาร

อาสนวิหารเซ็นต์โซเฟีย (Sophia Cathedral) ที่เมืองคิเอฟ (Kiev) ประเทศรัสเซียชเตฟันสโดม (St. Stephen Cathedral) ที่เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรียที่ฝังศพใต้อาสนวิหารแบบโรมาเนสก์ที่ อาสนวิหารแคนเตอร์บรี ประเทศอังกฤษพีธีสวดมนต์เย็น (Evensong) ที่ อาสนวิหารยอร์ก ประเทศอังกฤษอาสนวิหารโคโลญอาสนวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลที่ประเทศศรีลังกา

ตามปกติแล้วสภาเคลอจีของอาสนวิหารแบบเซคิวลาร์ จะมีตำแหน่งสำคัญสี่ตำแหน่งหรือมากกว่านอกเหนือไปจากแคนัน สี่ตำแหน่งดังกล่าวนี้คือ Dean, Precentor, Chancellor และ Treasurer ผู้ถือตำแหน่งทั้งสี่นี้เรียกรวมกันว่า quatuor majores personae จะมีที่นั่งประจำตำแหน่งเฉพาะในบริเวณที่พิธีภายในโบสถ์

  • Dean ตำแหน่ง Dean (หรือที่เรียกว่า decanus) มาจากตำแหน่งในคณะเบเนดิกติน Dean ปกครองนักพรตอีก 10 องค์ ตำแหน่งนี้ตั้งขึ้นมาสำหรับช่วยแบ่งเบาภารกิจของ Provost ในด้านการบริหาร ในประเทศอังกฤษ Dean จะเป็นประธานสภาเคลอจี มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องศาสนพิธี และเป็นผู้ร่วมทำศาสนพิธีบางส่วนด้วย ตามปกติแล้วเมื่อเริ่มศาสนพิธี Dean จะเป็นผู้ที่เดินเข้ามาทางขวาเมื่อเข้ามาในบริเวณที่ทำพิธี
  • Precentor ตำแหน่งรองจาก Dean ก็คือ Precentor (หรือที่เรียกว่า primicerius, cantor, อื่นๆ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบเกี่ยวกับดนตรีและพิธีศาสนา Precentor จะทำหน้าที่แทน Dean ในกรณีที่ Dean ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และมีที่นั่งทางซ้ายตรงข้ามกับ Dean แต่บางครั้งก็มีข้อยกเว้นเช่นที่อาสนวิหารเซนต์พอลที่ตำแหน่งรองจาก Dean คือ archdeacon และ มีที่นั่งซึ่งตามปกติจะเป็นที่นั่งของ Precentor
  • Chancellor ตำแหน่งสำคัญตำแหน่งที่สามของอาสนวิหารคือ Chancellor (หรือที่เรียกว่า scholasticus, écoldtre, capiscol, หรือ magistral, อื่นๆ) มีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการศึกษา และมักจะเป็นเลขานุการและบรรณารักษ์ของวัดด้วย ในกรณีที่ Dean และ Precentor ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ก็จะทำหน้าที่เป็นประธานแทน Chancellor จะมีที่นั่งทางด้านตะวันออกสุดด้านเดียวกับ Dean
  • Treasurer ตำแหน่งสำคัญตำแหน่งที่สี่ของอาสนวิหารคือ Treasurer (หรือที่เรียกว่า custos, sacrisla, cheficier) หรือ เหรัญญิก รับผิดชอบเรื่องเฟอร์นิเจอร์และเครื่องตกแต่งของโบสถ์ และเป็นผู้เตรียม ขนมปัง เหล้าองุ่น ธูป และเทียน สำหรับพิธีศีลมหาสนิท และควบคุมขั้นตอนของการทำพิธี เช่น การสั่นกระดิ่ง ที่นั่งของ Treasurer จะอยู่ตรงข้ามกับ Chancellor

นอกจากตำแหน่งดังกล่าวแล้วบางอาสนวิหารก็อาจจะมีตำแหน่งอื่นเช่น Praelector, รอง dean, รอง chancellor, Succentor-canonicorum และอื่นๆ นอกจากตำแหน่งต่างๆเหล่านี้ก็มีแคนันที่ไม่มีตำแหน่งอะไรแคนันส่วนใหญ่แล้วจะมีที่อยู่นอกโบสถ์ฉะนั้นทำให้มีความแตกต่างระหว่างแคนันในโบสถ์ และแคนันที่ไม่อยู่ในโบสถ์ แคนันที่อยู่นอกโบสถ์รู้จักกันว่า prebendaries ถึงแม้จะไม่อยู่ในโบสถ์แต่ แคนันก็ยังมีตำแหน่งเป็นแคนันและยังสามารถออกเสียงในการประชุมได้

ระบบการอยู่นอกโบสถ์เช่นนี้ทำให้เกิดระบบที่เรียกว่า Vicars choral แคนันแต่ละคนจะมี Vicar ที่ทำหน้าแทน จะนั่งประจำที่ของแคนนอนในที่ทำพิธีในกรณีที่แคนันไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ และจะนั่งที่นั่งต่ำกว่าถ้าแคนนอนปฏิบัติหน้าที่ได้ Vicar ไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมและเป็นตำแหน่งที่ปลดไม่ได้ ความสำคัญของ Vicar คือเป็นผู้ทำหน้าที่แทนแคนันเมื่อแคนนอนไม่อยู่ Vicar บางที่ก็จะจัดเป็น สภาเคลอจีของตนเอง ภายใต้การปกครองของ Dean และ สภาเคลอจีของอาสนวิหาร

ความสัมพันธ์ระหว่างมุขนายกและนักบวช

ความสัมพันธ์ระหว่างมุขนายกและสภาเคลอจีของอาสนวิหารแบบ“เซ็คคิวลาร์” ก็ไม่ต่างกับ ความสัมพันธ์ระหว่างมุขนายกและมุขมณฑลของอาสนวิหารแบบอาราม ทั้งสองกรณีเคลอจีจะทำหน้าที่เป็นปรึกษาของมุขนายกฉะนั้นโยบายทุกอย่างของมุขนายกก่อนที่จะนำมาปฏิบัติได้จะต้องได้รับการอนุมัติจากนักบวชก่อน

ใกล้เคียง

อาสนวิหาร อาสนวิหารกลอสเตอร์ อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส อาสนวิหารนักบุญเปาโล อาสนวิหารอัสสัมชัญ อาสนวิหารแร็งส์ อาสนวิหารลิงคอล์น อาสนวิหารโคโลญ อาสนวิหารพระนางมารีอาปฏิสนธินิรมล อาสนวิหารซอลส์บรี