การแบ่งเขตการปกครอง ของ อำเภอสังขะ

เมืองสังขะเมื่อก่อนมีฐานะเทียบเท่าจังหวัดในปัจจุบันได้ถูกยุบฐานะเป็นอำเภอเมื่อ พ.ศ. 2450 ต่อมาบางส่วนของพื้นที่ถูกแยกไปตั้งเป็นอำเภอ เช่น อำเภอลำดวน อำเภอบัวเชด อำเภอศรีณรงค์ และบางตำบล เช่น ตำบลบ้านด่าน ตำบลคูตัน อำเภอกาบเชิง เป็นต้น

การแบ่งการปกครอง ปัจจุบันอำเภอสังขะแบ่งการปกครองเป็น 12 ตำบล 187 หมู่บ้าน มีพื้นที่ 1,009 ตารางกิโลเมตรดังนี้

1.สังขะ(Sangkha)17 หมู่บ้าน7.สะกาด(Sakat)16 หมู่บ้าน
2.ขอนแตก(Khon Taek)17 หมู่บ้าน8.ตาตุม(Ta Tum)17 หมู่บ้าน
3.ดม(Dom)16 หมู่บ้าน9.ทับทัน(Thap Than)16 หมู่บ้าน
4.พระแก้ว(Phra Kaeo)17 หมู่บ้าน10.ตาคง(Ta Khong)14 หมู่บ้าน
5.บ้านจารย์(Ban Chan)13 หมู่บ้าน11.บ้านชบ(Ban Chop)11 หมู่บ้าน
6.กระเทียม(Krathiam)21 หมู่บ้าน12.เทพรักษา(Thep Raksa)13 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอสังขะประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลสังขะ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสังขะและบางส่วนของตำบลบ้านชบ
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสังขะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสังขะ (นอกเขตเทศบาลตำบลสังขะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลขอนแตก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขอนแตกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพระแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระแก้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจารย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านจารย์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกระเทียม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกระเทียมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะกาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะกาดทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาตุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาตุมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทับทัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับทันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาคง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาคงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านชบ (นอกเขตเทศบาลตำบลสังขะ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพรักษาทั้งตำบล

สภาพเศรษฐกิจ

  • ภาคเกษตรกรรม

ประชนชนในพื้นที่ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง ซึ่งพื้นที่อำเภอสังขะเป็นเขตพื้นที่ที่ปลูกยางพารามากที่สุดในจังหวัดสุรินทร์

  • ภาคอุตสาหกรรม

ปัจจุบันนี้โรงงานอุตสาหกรรมได้เกิดขึ้นในอำเภอสังขะอย่างมากมาย ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมเย็บตัดเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ส่งออกต่างประเทศ) อุตสาหกรรมไม้แปรรูป โรงงานอุตสาหกรรมอัดยางพารา อุตสาหกรรมน้ำตาโรงเลื่อย โรงงานอัดบล็อก อิฐ โรสีข้าวและโรงน้ำแข็ง

อำเภอ
ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์
เศรษฐกิจ
คมนาคม
ธุรกิจ
สังคม
การศึกษา
กีฬา
วัฒนธรรม
สาธารณสุข
การเมือง
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย