เศรษฐกิจ ของ อำเภอสิเกา

ท่าเรือ

อำเภอสิเกา แต่เดิมนั้นมีท่าเรือหลักอยู่ที่ ต.บ่อหิน สำหรับการขนส่งปลาของชาวประมง และมีท่าเรือหรือสะพานปลาเล็กๆ สำหรับขึ้นท่าส่งไปขายยังเมืองตรัง เมื่อการท่องเที่ยวทางทะเลเริ่มมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีการสร้างท่าเรือเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวทางทะเลไปยังเกาะแก่งต่างๆ ในน่านน้ำทะเลตรัง เช่น เกาะมุก เกาะเชือก เกาะแหวน เกาะม้า เกาะกระดาน เกาะยา เกาะปลิง และทะเลกระบี่ เกาะไหง เกาะรอกใน เกาะรอกนอก หินแดง หินม่วง เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่ขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ

  • ท่าเรือสิเกา (ขนส่งสินค้าประมง สัตว์น้ำ)
  • ท่าเรือท่องเที่ยวปากเมง (สินค้าประมง และท่าเรือท่องเที่ยว)
  • ท่าเรือท่องเที่ยวคลองสน (ท่าเรือท่องเที่ยวแห่งใหม่)

อุตสาหกรรมการเกษตร

อำเภอสิเกาเป็นอำเภอหนึ่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติและการทำเกษตรเป็นหลัก โดยมีวัตถุดิบทางการเกษตรหลักในท้องถิ่น ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทำให้มีกลุ่มทุนเข้ามาดำเนินการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตรหลายโรงงานด้วยกัน ทั้งโรงงานแปรรูปยางพารา ไม้ยางพาราและผลิตภัฑณ์ การแปรรูปและสกัดปาล์มน้ำมันและผลิตก๊าซชีวภาพจากกากของเสียจากกระบวนการผลิตปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า รวมถึงโรงงานสกัดน้ำมันสำหรับผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น ซึ่งพื้นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจะตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.นาเมืองเพชร ต.กะลาเส และ ต.เขาไม้แก้ว ตามเส้นทางหลวง ตรัง-สิเกา และ ทางหลวง สิเกา-ควนกุน

  • บริษัท ไทยเทครับเบอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)สาขาตรัง
  • บริษัท ล่ำสูง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท พิทักษ์ปาล์มออยล์ จำกัด
  • บริษัท ตรังน้ำมันปาล์มจำกัด
  • บริษัท ตรังไบโอเทคโนโลยี จำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด นาเมืองเพชรพาราวู้ด
  • บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท จีโว รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด
  • บริษัท แพลทินัมรับเบอร์ จำกัด
  • บริษัท โอทาโก้ จำกัด
  • บริษัท พารารับเบอร์ จำกัด
  • บริษัท ลามิน วู๊ด อินดัสตรี้ จำกัด
  • บริษัท กว๋างเขิ่นรับเบอร์ (ตรัง) จำกัด