อีสเตอร์
อีสเตอร์

อีสเตอร์

สถานีย่อยอีสเตอร์ หรือ วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์[1] (อังกฤษ: Easter; อังกฤษเก่า: Ēostre หรือ อังกฤษ: Pasch[2][3], Pascha[4]; ละติน: Pascha ปัสคา; กรีก: Πάσχα, Paskha; แอราเมอิก: פַּסחא Pasḥa; มาจาก ฮีบรู: פֶּסַח‎ Pesaḥ) คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า วันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (เพราะเป็นวันที่ทรงกลับคืนพระชนม์ตามพระคัมภีร์) เรียก วันอีสเตอร์นอกจากนี้วันอีสเตอร์ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วันที่คริสต์ศาสนิกชนถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่าสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เรียกวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียกวันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้าประเพณีในการเฉลิมฉลองแตกต่างกันทั่วโลก แต่การตกแต่งไข่อีสเตอร์และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่เด็ก ๆ

อีสเตอร์

ส่วนเกี่ยวข้อง ปัสคา Septuagesima, Sexagesima, Quinquagesima, วันอังคารสารภาพบาป, วันพุธรับเถ้า, Clean Monday, เทศกาลมหาพรต, Great Lent, วันอาทิตย์ใบลาน, สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์, Maundy Thursday, วันศุกร์ประเสริฐ และวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมาก่อนวันอีสเตอร์; และThomas Sunday, พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์, เทศกาลเพนเทคอสต์, Trinity Sunday และCorpus Christi ก็ตามมาอีกเช่นกัน
ความสำคัญ ฉลองวันที่พระเยซูฟื้นคืนชีพ
ประเภท คริสต์, วัฒนธรรม
การเฉลิมฉลอง Church services, เลี้ยงอาหารแก่ครอบครัว, ตกแต่งไข่อีสเตอร์ และให้ของขวัญ
การถือปฏิบัติ Prayer, all-night vigil, sunrise service
วันที่ ใช้วิธีคำนวณแบบComputus
วันที่ในปี 2020