การจัดประเภทและองค์ประกอบ ของ อุกกาบาตเมอร์ชิสัน

อุกกาบาตเมอร์ชิสันได้รับการจัดประเภทให้อยู่ในกลุ่มซีเอ็มของคอนไดรต์คาร์บอน (carbonaceous chondrite) อุกกาบาตลูกนี้ได้รับการจัดให้อยู่ในประเภททางศิลาวิทยาที่ 2 เช่นเดียวกับคอนไดรต์ซีเอ็มส่วนใหญ่ ซึ่งหมายความว่าอุกกาบาตลูกนี้ได้เปลี่ยนแปลงอย่างหนักโดยของไหลที่อุดมไปด้วยน้ำบนเทหวัตถุต้นกำเนิด[4] ก่อนที่จะตกลงมายังโลก คอนไดรต์กลุ่มซีเอ็มกับกลุ่มซีไอนั้นอุดมไปด้วยคาร์บอน และเป็นหนึ่งในอุกกาบาตดึกดำบรรพ์ทางเคมีมากที่สุด[5] อุกกาบาตเมอร์ชิสันประกอบไปด้วยตำหนิอุดมด้วยแคลเซียม–อะลูมิเนียมเช่นเดียวกับคอนไดรต์กลุ่มซีเอ็มอื่น ๆ ในอุกกาบาตลูกนี้ยังพบกรดอะมิโนมากกว่า 15 ชนิด ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานหนึ่งของชีวิต ผ่านการศึกษาอุกกาบาตลูกนี้หลายชิ้น[6]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 นักดาราศาสตร์ค้นพบว่าอนุภาคซิลิกอนคาร์ไบด์จากอุกกาบาตเมอร์ชิสันมีอายุ 7 พันล้านปี มากกว่าอายุ 4.54 พันล้านปีของโลกและระบบสุริยะ 2.5 พันล้านปี และยังเป็นวัสดุที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเท่าที่ค้นพบในปัจจุบันด้วย[1][7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อุกกาบาตเมอร์ชิสัน http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=m... http://www.psrd.hawaii.edu/PSRDglossary.html http://www.pha.jhu.edu/~pmachal2/ism_review_redone... //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... http://www.lpi.usra.edu/meteor/metbull.php?code=16... http://astrobiology.gsfc.nasa.gov/analytical/PDF/M... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11780054 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15194825 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15834501 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16591973