สารประกอบอินทรีย์ ของ อุกกาบาตเมอร์ชิสัน

สะเก็ดของอุกกาบาตเมอร์ชิสัน (ขวา) และแยกอนุภาคแต่ละอนุภาคออกมา (ในหลอดทดลอง)

อุกกาบาตเมอร์ชิสันประกอบไปด้วยกรดอะมิโนทั่วไป เช่น ไกลซีน อะลานีน และกรดกลูตามิก ตลอดจนกรดอะมิโนหายากอย่างไอโซวาลีนและซิวโดลิวซีน[8] สารผสมแอลคีนที่ซับซ้อนก็แยกออกมาได้จากอุกกาบาตลูกนี้เช่นกัน ซึ่งคล้ายกับที่พบในการทดลองมิลเลอร์–อูเรย์ ซีรีนและทรีโอนีนซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นสารปนเปื้อนในโลกก็พบได้เป็นจำนวนมากในตัวอย่าง ตระกูลเฉพาะของกรดอะมิโนชื่อว่ากรดไดอะมิโนก็พบได้ในอุกกาบาตเมอร์ชิสันเช่นกัน[9]

รายงานฉบับแรกสุดนั้นระบุว่ากรดอะมิโนที่พบนั้นเป็นสารผสมแรซีมิก ดังนั้นจึงก่อตัวขึ้นโดยวิธีการอชีวนะ เพราะกรดอะมิโนของโปรตีนในโลกนั้นล้วนมีสัณฐานแบบแอลทั้งหมด ภายหลังมีการพบว่ากรดอะมิโนอะลานีนซึ่งเป็นกรดอะมิโนโปรตีนนั้นมีสัณฐานแบบแอลเป็นส่วนเกิน[10] ทำให้นำไปสู่การปนเปื้อนที่น่าสงสัยจากบนโลกตามประเด็นที่ว่า "จะแปลกที่การสลายตัวหรือการสังเคราะห์สเตรีโอซีเลกทีฟแบบอชีวนะเกิดขึ้นกับกรดอะมิโนของโปรตีน แต่จะไม่แปลกถ้าเกิดขึ้นกับกระอะมิโนที่ไม่ใช่ของโปรตีน"[11] ในปี พ.ศ. 2540 ยังมีการพบสัณฐานแบบแอลส่วนเกินในไอโซวาลีน อันเป็นกรดอะมิโนที่ไม่ใช่ของโปรตีน[12] แสดงถึงต้นกำเนิดต่างดาวของอสมมาตรเชิงโมเลกุลในระบบสุริยะ ในเวลาเดียวกัน มีการพบสัณฐานแบบแอลส่วนเกินของอะลานีนอีกครั้งในอุกกาบาตเมอร์ชิสัน แต่ครั้งนี้พบเป็นจำนวนมากในไอโซโทป 15N[13] ถึงกระนั้นการจับคู่ไอโซโทปถูกคัดค้านด้วยการวิเคราะห์ในภายหลัง[14] รายชื่อสารประกอบอินทรีย์ที่พบในอุกกาบาตได้ขยายไปถึงพอลีโอลด้วยในปี พ.ศ. 2544[15]

ชนิดสารประกอบ[16]ความเข้มข้น (ppm)
กรดอะมิโน  17–60
ไฮโดรคาร์บอนแอลิแฟติก>35
ไฮโดรคาร์บอนแอโรมาติก3319
ฟุลเลอรีน>100
กรดคาร์บอซีลิก>300
กรดไฮโดรคาร์บอซีลิก15
พิวรีนและไพริมิดีน1.3
แอลกอฮอล์11
กรดซัลฟอนิก68
กรดฟอสฟอนิก2
รวม>3911.3

ถึงแม้ว่าอุกกาบาตลูกนี้จะประกอบไปด้วยสารผสมของกระอะมิโนซ้ายมือและขวามือ กรดอะมิโนส่วนมากที่สิ่งมีชีวิตใช้นั้นมีไครัลลิตีฝั่งซ้ายมือ และน้ำตาลส่วนมากที่สิ่งมีชีวิตใช้มีไครัลลิตีฝั่งขวามือ กลุ่มของนักเคมีในประเทศสวีเดนสาธิตในปี พ.ศ. 2548 ว่าโฮโมไครัลลิตีนี้อาจถูกกระตุ้นหรือเร่งปฏิกิริยาโดยการกระทำของกรดอะมิโนซ้ายมืออย่างโพรลีน[17]

หลักฐานหลายชิ้นระบุว่าส่วนภายในของสะเก็ดของอุกกาบาตเมอร์ชิสันที่เก็บรักษาอย่างดีนั้นดึกดำบรรพ์ การศึกษาในปี พ.ศ. 2553 โดยใช้อุปกรณ์วิเคราะห์ความคมชัดสูงรวมถึงสเปกโทรสโกปี พบว่ามีสารประกอบเชิงโมเลกุลกว่า 14,000 ตัว รวมถึงพบกรดอะมิโน 70 ตัวในตัวอย่างของอุกกาบาต[18][19] ขอบเขตการวิเคราะห์ที่จำกัดโดยแมสสเปกโตรเมทรีให้ข้อมูลว่าอาจมีสารประกอบเชิงโมเลกุลแปลกใหม่กว่า 50,000 ตัวหรือมากกว่า โดยทีมนักวิจัยยังประมาณจำนวนสารประกอบที่แตกต่างกันที่อาจพบในอุกกาบาตไว้นับล้านตัว[20]

นิวคลีโอเบส

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: นิวคลีโอเบส

มีการค้นพบสารประกอบพิวรีนและไพริมิดีนที่วัดได้ในอุกกาบาตเมอร์ชิสัน อัตราส่วนไอโซโทปคาร์บอนสำหรับยูราซิลและแซนทีนของδ13C เท่ากับ +44.5 และ +37.7 ตามลำดับ แสดงถึงต้นกำเนิดนอกโลกของสารประกอบเหล่านี้ ตัวอย่างนี้สาธิตให้เห็นว่าสารประกอบอินทรีย์จำนวนมากอาจส่งมาจากเทหวัตถุระบบสุริยะแรกเริ่ม และอาจเป็นกุญแจสำคัญในต้นกำเนิดของชีวิต[21]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อุกกาบาตเมอร์ชิสัน http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=m... http://www.psrd.hawaii.edu/PSRDglossary.html http://www.pha.jhu.edu/~pmachal2/ism_review_redone... //citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/summary?doi=10.1.1... http://www.lpi.usra.edu/meteor/metbull.php?code=16... http://astrobiology.gsfc.nasa.gov/analytical/PDF/M... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11780054 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15194825 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15834501 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16591973