หลักการทำงาน ของ เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ

แต่เดิม การรับส่งข้อมูลด้าน access network ทำได้ผ่านสวิทช์ level 3 หรือ ADSL ส่งข้อมูลด้วยตัวกลางใยแก้วนำแสงหรือสายทองแดงไปให้ผู้ใช้ปลายทาง(point to point) สายทองแดงมีข้อจำกัดมากเนื่องจากใช้มานาน ไม่เสถียร ใยแก้วนำแสงต้องใช้ 2 core ต่อ 1 ผู้ใช้ปลายทาง และ สวิทช์ level 3 อีก 1 port ต่อ 1 ผู้ใช้ปลายทาง ถ้ามีผู้ใช้ปลายทางเพิ่มในบริเวณเดียวกัน ก็ต้องใช้สวิทช์เพิ่ม ต้องวางใยแก้วนำแสงเพิ่ม ไม่สามารถจะแบ่งปันทรัพยากรกันได้ วิศวกรจึงออกแบบใหม่เป็นแบบ point to multipoint โดยใช้ประโยชน์ของคลื่นแสงที่มีหลายความยาวคลื่น เช่น ใยแก้วนำแสงแบบมัลติโหมด (MMF) ใช้ความยาวคลื่น 850 นาโนเมตร แบบซิงเกิ้ลโหมด (SMF) ใช้ 1300 นาโนเมตร

ไดอะแกรมแสดงการทำงานของ PON

หลักการคือในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปปลายทางผ่านตัวกลางใยแก้วนำแสง ให้ใช้ความยาวคลื่น 1490 นาโนเมตร แต่รับข้อมูลกลับมาจากปลายทางมายังต้นทางใช้ความยาวคลื่น 1310 นาโนเมตร ทั้งนี้ใช้ ใยแก้วนำแสงเพียง core เดียว แต่ส่งและรับต่างเวลากัน โดยความจริงที่ว่า การส่งจากต้นทางหรือที่เรียกว่า ดาวน์โหลด (download) มีข้อมูลมากกว่า การรับจากปลายทาง หรืออัปโหลด (upload) ดังนั้น การส่งจะจองเวลาในการใช้ตัวกลางมากกว่าการรับ ตัวควบคุม (controller) ในการรับส่งจะกำหนดเวลาให้ปลายทาง โดยให้ส่งกลับมาในช่วงเวลาเดียว คือแบบ burst mode ถ้าปลายทาง มีผู้ใช้เพิ่มขึ้น ก็เพียงติดอุปกรณ์แยกแสง หรือที่เรียกว่า สปริทเทอร์ (splitter) เท่านั้น splitter เป็นอุปกรณ์พาสซีฟ ทำหน้าที่แยกแสงออกเป็น 2, 4, 8, 16, 32, 64 ส่วน เขียนเป็นสัญลักษณ์ว่า 1:2, 1:4, 1:8, 1:16, 1:32. 1:64 เมื่อแสงถูกแบ่งออก ทำให้ค่าลดทอนเป็นดังนี้ครับ

splitter 1:2 พลังงานของแสงถูกแบ่งคนละครึ่ง

สำหรับ splitter 1:2 power ของแสงที่ออกมาแต่ละขา

power loss=10xlog(1/2)=10x(log1-log2)=10xlog1-10xlog2=0-10x0.30=-3 dB

หมายความว่า ถ้า พลังงานของแสงที่ขาเข้าของ splitter เป็น 0 dB, ขาออกแต่ละขา จะมีพลังงานแสง = -3 dB

ตารางแสดงค่า loss ของ splitter แต่ละแบบ

Splitting RatioAttenuation Loss (dB)
1:23.6
1:47.3
1:810.4
1:1613.6
1:3216.8
1:6420.3

ตามตารางสมมติว่า ใช้ splitter 1:8 ถ้า input power=0 dB, output แต่ละขา จะมี power -10.4 dB

การส่ง-รับข้อมูลระหว่างต้นทาง-ปลายทาง

ใกล้เคียง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือข่ายบิตคอยน์ เครือข่ายส่วนตัวเสมือน เครือข่ายอวกาศห้วงลึก เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย เครือเบทาโกร เครือรัฐเอกราช เครือข่ายไผ่ เครือจักรภพแห่งอังกฤษ