เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย
เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย

เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย

Rzeczpospolita Obojga Narodów (pl)
Abiejų tautų respublika (lt)
Serenissima Res Publica Coronae Polonicae Magni Ducatusque Lithuaniae (ละติน)
Річ Посполита Обох Народів (uk)
Polish-Lithuanian Commonwealth (en.)เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (โปแลนด์: Rzeczpospolita Obojga Narodów; อังกฤษ: Polish-Lithuanian Commonwealth) มีชื่อเป็นทางการว่า “Rzeczpospolita Korony Polskiej i Wielkiego Księstwa Litewskiego” [1] หรือที่รู้จักกันในนาม “สาธารณรัฐโปแลนด์ที่หนึ่ง” (First Polish Republic) หรือ “สาธารณรัฐแห่งสองชาติ” (Republic of the Two Nations) (โปแลนด์: Pierwsza Rzeczpospolita หรือ Rzeczpospolita Obojga Narodów; ลิทัวเนีย: Abiejų tautų respublika) เป็นเครือจักรภพที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด[2]แห่งหนี่งในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โครงสร้างทางการเมืองเป็นกึ่งสหพันธรัฐ กึ่งราชาธิปไตย เครือจักรภพก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1569 โดยสหภาพลูบลิน (Union of Lublin) ซึ่งรวมราชอาณาจักรโปแลนด์เข้ากับแกรนด์ดัชชีลิทัวเนียมาจนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 เครือจักรภพมีได้ครอบคลุมเพียงดินแดนโปแลนด์และลิทัวเนียเท่านั้น แต่ยังรวมดินแดนทั้งหมดของเบลารุสและลัตเวีย ดินแดนส่วนใหญ่ของยูเครนและเอสโตเนีย รวมถึงบางส่วนของประเทศรัสเซียปัจจุบัน (แคว้นสโมเลนสค์และคาลินินกราด) ภาษาราชการแต่เดิมได้แก่ภาษาโปแลนด์กับภาษาละตินในราชอาณาจักรโปแลนด์ และภาษาลิทัวเนียกับภาษารูทีเนีย[3]ในแกรนด์ดัชชีลิทัวเนียเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียเป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งจากอาณาจักรสองแห่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1386 ระบบการปกครองที่มักจะเรียกกันว่า “ประชาธิปไตยของชนชั้นสูง” (Noble's democracy) หรือ “เสรีภาพทอง” ซึ่งเป็นการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครที่ปกครองตามกฎหมายและสภานิติบัญญัติเซย์ม (Sejm) ที่ควบคุมโดยขุนนาง (szlachta) ระบบที่ว่านี้เป็นรากฐานของระบบประชาธิปไตยอย่างกว้าง ๆ ในสมัยใหม่[4] และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[5][6][7] รวมทั้งระบบสหพันธรัฐ[8] รัฐทั้งสองแต่เดิมมีฐานะเท่ากันอย่างเป็นทางการ แต่ตามความเป็นจริงโปแลนด์มักจะมีอำนาจเหนือกว่า[9] คริสตจักรโรมันคาทอลิกมีบทบาทสำคัญในกิจการในเครือจักรภพ แต่เครือจักรภพก็ได้ชื่อว่าให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา[10] แต่เสรีภาพจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสมัย[11]เศรษฐกิจส่วนใหญ่มาจากการทำกสิกรรม ในช่วงร้อยปีแรกที่ก่อตั้งถือกันว่าเป็น “ยุคทอง”[12][13] สำหรับทั้งโปแลนด์และลิทัวเนีย ร้อยปีที่สองเครือจักรภพพ่ายแพ้สงครามและประชาชนกลับกลายเป็นทาสที่ดิน หรือที่รู้จักกันว่าสถานภาพการเป็นทาสครั้งที่สอง[14]) และในทางการเมืองก็เริ่มเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบ (anarchy) กันมากขึ้น[7][15] ไม่นานก่อนสิ้นอำนาจเครือจักรภพยอมรับระบบรัฐธรรมนูญที่เก่าเป็นที่สองของรัฐธรรมนูญสมัยใหม่[16]ดัชชีวอร์ซอซึ่งก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1807 มีรากฐานมาจากเครือจักรภพ ขบวนการการปฏิรูปเกิดขึ้นระหว่าง “การปฏิวัติเดือนมกราคม” ระหว่างปี ค.ศ. 1863 ถึงปี ค.ศ. 1864 และในคริสต์ทศวรรษ 1920 โดยความพยายามที่ล้มเหลวในการสร้างสหพันธรัฐ “Międzymorze” (ระหว่างทะเล) ของยูเซฟ ปิวซูตสกี (Józef Piłsudski) ซึ่งถ้าสำเร็จก็จะรวมลิทัวเนียและสาธารณรัฐประชาชนยูเครนเข้าด้วยในปัจจุบันประเทศโปแลนด์ถือว่ามีรากฐานมาจากเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย[17] แต่ประเทศลิทัวเนียซึ่งก่อตั้งใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อเริ่มได้รับอิสรภาพใหม่มองเห็นการรวมตัวเป็นเครือจักรภพในทางลบ[18], แต่ทัศนคตินี้ก็เปลี่ยนแปลงไปมาก[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือข่ายบิตคอยน์ เครือข่ายอวกาศห้วงลึก เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย เครือข่ายส่วนตัวเสมือน เครือเบทาโกร เครือข่ายไผ่ เครือจักรภพแห่งอังกฤษ เครือรัฐเอกราช

แหล่งที่มา

WikiPedia: เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย http://www.britannica.com/eb/article-9049222 http://www.britannica.com/eb/article?tocId=9049222 http://books.google.com/books?id=0_i8yez8udgC&pg=P... http://books.google.com/books?ie=UTF-8&vid=ISBN019... http://books.google.com/books?ie=UTF-8&vid=ISBN023... http://books.google.com/books?ie=UTF-8&vid=ISBN031... http://books.google.com/books?ie=UTF-8&vid=ISBN033... http://books.google.com/books?ie=UTF-8&vid=ISBN033... http://books.google.com/books?ie=UTF-8&vid=ISBN052... http://books.google.com/books?ie=UTF-8&vid=ISBN080...