เครือข่ายไทยสารอินเทอร์เน็ต

ไทยสาร (อังกฤษ: Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn) คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อสังคม วิทยาศาสตร์ การศึกษาและวิจัยของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2535 โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสังคม พัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนางานวิจัยให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมกับต่างประเทศ โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานวิจัยและหน่วยงานการศึกษาเข้าหากันด้วย Internet Protocol (IP) โดยมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติไทยสาร เป็นความร่วมมือของ อาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อการวิจัย ต่อมาได้รวมกันเป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา ที่ช่วยพลักดันและปฏิวัติความก้าวหน้า ระบบอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยมี Nectec เข้ามาสนับสนุน </ref>เริ่มต้น เกิดจาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับทุนในการเชื่อม โครงข่ายการวิจัย กับรัฐบาลออสเตรเลีย เมลเบรินยูนิเวอร์ซิตี้ โดยการฝากส่งถุงเมล์ ระหว่างกัน ซึ่งได้ขยายความร่วมมือไปยัง AIT โดยมี อ. กาญจนา จากนั้น แพร่หลายไปสู่ มหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐ ที่มีการสอนระดับปริญญาเอก ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนจดหมายขยายตัวมากขึ้น โดยมี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดย ดร. ยรรยง เต็งอำนวย, อ. จารุมาศ ปิ่นทอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร. ทวีศักดิ์ ลาดกระบัง ดร. ไฟรัช ธัชยพงษ์ เกษตร อ. ยืน ภู่วรรณ และ หน่วยงาน NECTEC คุณ มรกต และ คุณ ตณิน เข้าร่วมให้การสนันสนุน </ref>ได้มีการขยายขอบเขต ความร่วมมือไปยัง มหาวิทยาลัยเอกชน และ วิทยาลัยทั่วๆ โดยมีการจัดการอบรมการให้ MHSnet (Message Handling Service) ที่ AIT ณ จุดนี้ถือว่าเป็นการเกิดไทยสารอย่างเต็มรูปแบบ โดยมี ม. อัสสัมชัญ ดร. ศรีศักด์ จารมรมาน อ. ณัฏฐสิทธิ์ ว่องปรีชา และ ม. หอการค้า และ ม. มหิดล อ. เปรม</ref>ต่อมา ทางจุฬา โดย ดร. ยรรยง ได้ติดต่อ ขอเช่าวงจร อินเทอร์เน็ต ไปที่ UUNET Virginia โดยเชื่อมเข้าที่ ศูนย์วิทยบริการ ซึ่ง ทาง มหาวิทยาลัยต่าง ต่างเอา โมเด็มหรือ Leased Line มาเชื่อมเพื่อใช้บริการ ในขณะเดียวกัน ทาง Nectec ได้ Funding จึงทำการเชื่อมสัญญาณ อีกวงจรไปที่เดียวกัน กับที่จุฬา และบริการอินเทอร์เน็ต ให้ ภาครัฐ และ หน่วยงานอื่น โดยเกิดโครงการ School Net เกิดขึ้น </ref>เมื่อการใช้งานเริ่มมากขึ้น ทาง ม. อัสสัมชัญ จึงได้ทำการ ตัดสินใจ เช่าวงจรเอง ไปที่ UUNET sanjose CA โดยทำการปรึกษากับทาง ดร. ยรรยง ว่าจะไม่ขอไปทีโหนดเดียวกัน เพราะ ถ้าล่มจะได้ไม่ล่มทั้งประเทศซึ่งต่อมาก็เกิดเหตุการจริง ทางจุฬามาขอใช้ผ่าน Link AU เพื่อให้บริการสืบค้นต่อเนื่อง ให้แก่ทาง วังหลวง การใช้อินเทอร์เน็ต เริ่มแพร่หลายออกไป ทางจุฬาฯ เล็งเห็นถึงปัญหาในการจัดทำ โดเมน จึงได้จัดตั้ง THNIC โดยมีคุณของ อ. ครรชิต จามรมาน เข้ามาร่วมทำงาน ทาง Nectec ได้จัดตั้ง บริษัท Internet Thailand ขึ้นเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้และธุรกิจทั่วไป </ref> ทาง ม. อัสสัมชัญเอง ก็ได้ร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อบ่มเพาะทางธุรกิจ จนได้จัดตั้งบริษัท KSC ขึ้นมา โดยรวมกับ ดร. กนกวรรณ ว่องวัฒนสิน</ref>อินเทอร์เน็ตเริ่มใช้ภายในประเทศมาขึ้น เริ่มมีปัญหา การจราจรจาการติดต่อค้นหาในระเทศขึ้น จึงมีการหารือที่การทำ Cache และ Exchange ข้อมูลระหว่างสามวงจรหลัก ในการศึกษา ซึ่งส่งผลต่อมาทำให้ Nectec ไปจัดทำ NIX national internet exchange ภายหลัง นโยบาลของรัฐบาลเพื่อการควบคุม จึงได้ออกกฎหมายบังคับให้ ISP ต้องมาต่อกับ NIX ของ การสือสารเท่านั้น</ref>


ใกล้เคียง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือข่ายบิตคอยน์ เครือข่ายอวกาศห้วงลึก เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย เครือข่ายส่วนตัวเสมือน เครือเบทาโกร เครือข่ายไผ่ เครือจักรภพแห่งอังกฤษ เครือรัฐเอกราช