เวทีการเมือง ของ เจดีย์ชเวดากอง

ผู้ประท้วงที่เจดีย์ชเวดากองในย่างกุ้ง ปี ค.ศ. 2007

ในปี ค.ศ. 1920 นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของพม่ามาพบกันที่ศาลามุมตะวันตกเฉียงใต้ของเจดีย์ชเวดากอง และวางแผนประท้วงต่อต้านพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยใหม่ ที่พวกเขาเชื่อว่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับการปกครองของอาณานิคมมากขึ้น ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นเป็นอนุสรณ์สถาน ผลที่ตามมาคือการคว่ำบาตรมหาวิทยาลัยและมีการจัดตั้ง "สถาบันการศึกษาแห่งชาติ" ซึ่งมีแหล่งเงินทุนและดำเนินการโดยชาวพม่า วันนี้จึงได้รับการระลึกเป็นวันชาติวันหนึ่งของพม่า ครั้งที่สองนักศึกษามหาวิทยาลัยได้หยุดประท้วงในปี ค.ศ. 1936 โดยรวมตัวกันบริเวณเชิงฐานเจดีย์ชเวดากอง

ในปี ค.ศ. 1938 คนงานเหมืองบ่อน้ำมันได้หยุดงานประท้วง และทยอยเดินทางออกจากเหมืองบ่อน้ำมันเมืองเชาะและเยนานช่องบริเวณตอนกลางของพม่าไปยังย่างกุ้ง เพื่อจัดค่ายประท้วงบริเวณเจดีย์ชเวดากอง การประท้วงครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและนักศึกษา เป็นที่รู้จักกันในชื่อ 'การปฏิวัติ 1300' เจ้าหน้าที่ตำรวจของบริติชได้สวมรองเท้าบูทบุกเข้าจู่โจมค่ายผู้ประท้วงบริเวณเจดีย์ ขณะที่ชาวพม่าล้วนต้องถอดรองเท้าก่อนขึ้นเจดีย์ทั้งสิ้น

ปัญหาเรื่องการสวมรองเท้าขึ้นไปบนเจดีย์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนของชาวพม่าตั้งแต่สมัยอาณานิคม ชาวพม่าจะถอดรองเท้าเมื่อเข้าไปในศาสนสถานพุทธทุกแห่ง ไฮแรม ค็อกซ ทูตบริติชและเจ้าหน้าที่ศาลพม่า ในปี ค.ศ. 1796 ได้ชมประเพณีพื้นบ้านโดยไม่ได้แวะไปที่เจดีย์เพราะการที่เขาจะต้องถอดรองเท้า อย่างไรก็ตามหลังจากการผนวกพม่าตอนล่าง ผู้มาเยือนชาวยุโรปและทหารที่มายังเจดีย์ได้แสดงออกถึงการไม่เคารพประเพณีท้องถิ่น อู ธรรมโลกา เผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสวมรองเท้าขึ้นไปบนเจดีย์ในปี ค.ศ. 1902 ต่อมาเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของบริติชออกกฎข้อบังคับเด็ดขาดห้ามสวมรองเท้าเข้าไปในบริเวณเจดีย์ อย่างไรก็ตามพวกเขาได้ยกเว้นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลให้สวมรองเท้าได้ ระเบียบข้อบังคับและการยกเว้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นกระตุ้นให้ประชาชนเริ่มมีบทบาทในขบวนการชาตินิยม ปัจจุบันไม่อนุญาตให้สวมรองเท้าหรือถุงเท้าขึ้นไปบนเจดีย์

ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1946 นายพลอองซาน ได้จัดการชุมนุมใหญ่ที่บริเวณเจดีย์เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ โดยมีการประท้วงและการชุมนุมเป็นวงกว้าง อีกสี่สิบสองปีต่อมาในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ลูกสาวของเขา อองซาน ซูจี ได้กล่าวกับผู้ชุมนุมกว่า 500,000 คนที่บริเวณเจดีย์ชเวดากองเพื่อเรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยจากการปกครองของทหาร เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้กันกันในชื่อ การปฏิวัติ 8888 ซึ่งเป็นการประท้วงระบอบการปกครองครั้งใหญ่ครั้งที่สอง

การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007 มีการประท้วงทั่วประเทศต่อการปกครองของทหาร เกี่ยวกับการขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พระสงฆ์ถูกห้ามเข้าเจดีย์เป็นเวลาหลายวันก่อนที่รัฐบาลจะยอมปล่อยให้เข้ามา

เมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2007 พระภิกษุและตี่ละฉิ่น กว่า 20,000 รูป (การประท้วงครั้งใหญ่สุดในรอบ 20 ปี) ได้เดินขบวนไปยังเจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง ต่อมาในวันจันทร์มีประชาชนกว่า 30,000 คนและพระสงฆ์ 15,000 รูป เดินขบวนจากเจดีย์ชเวดากองและผ่านสำนักงานพรรคฝ่ายค้านของนางอองซาน ซูจี คือ พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) นักแสดงตลกและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ซากะนา กับ จอ ตู มีการนำอาหารและน้ำมาถวายแด่พระสงฆ์ ในวันเสาร์มีพระสงฆ์เดินทางไปทักทายนางอองซานซูจีซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมในบ้านพัก ต่อมาวันอาทิตย์มีแม่ชีจำนวน 150 คนเข้าร่วมเดินขบวน[12][13] เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 2007 พระสงฆ์และผู้สนับสนุน 2,000 คนขัดขืนคำขู่ของคณะผู้บริหารประเทศ เดินขบวนในถนนย่างกุ้งไปยังเจดีย์ชเวดากอง ท่ามกลางรถบรรทุกทหารและคำเตือนของ พลจัตวา มยิน มอง ไม่ให้พุทธศาสนิกชนละเมิดกฎระเบียบและข้อบังคับ[14]

วันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2007 มีการปะทะกันระหว่างกองกำลังรักษาความปลอดภัยกับพระสงฆ์และผู้ประท้วงหลายพันคน มีผู้ประท้วงที่เสียชีวิตอย่างน้อย 5 รายจากกองกำลังรักษาความปลอดภัย ตามรายงานเจ้าหน้าที่มีการใช้แก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุมอย่างสันติของพระสงฆ์จำนวนมากรอบ ๆ เจดีย์ชเวดากอง[15]

มีรายงานการประท้วงว่าพระสงฆ์จำนวนอย่างน้อย 50 รูปถูกจับขึ้นไปบนรถบรรทุกของกองทัพ และถูกนำไปยังสถานที่ที่ไม่เปิดเผย นอกจากนี้มีการรายงานว่าทหารใช้ปืนไรเฟิลจู่โจมและปิดศาสนสถานพุทธ มีประกาศให้ฝูงชนสลายตัวอย่างรวดเร็วก่อนจะปราบปรามอย่างรุนแรง มีการขับไล่พระสงฆ์และผู้ประท้วงกว่าร้อยคนและเริ่มปิดล้อมบริเวณเจดีย์[15]

เจ้าหน้าผู้มีอำนาจได้ประกาศสั่งให้ฝูงชนสลายการชุมนุมประท้วง แต่พยานในที่เกิดเหตุกล่าวว่าพระสงฆ์นั่งลงและเริ่มสวดภาวนาต่อสู้กับการห้ามชุมนุมของรัฐบาลทหาร กองกำลังรักษาความปลอดภัยที่เจดีย์ได้โจมตีผู้ชุมนุม มีการทำร้ายพระสงฆ์และผู้สนับสนุนอีกหลายร้อยราย พระสงฆ์ถูกพาขึ้นไปยังรถบรรทุกโดยหน่วยงานท่ามกลางประชนหลายร้อยคนที่เห็นเหตุการณ์[15] มีรายงานว่าบางส่วนได้เลี่ยงและมุ่งหน้าไปยังเจดีย์ซู่เลแทน ซึ่งเป็นหนึ่งในศาสนสถานพุทธที่ตั้งอยู่ในใจกลางกรุงย่างกุ้ง[16]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจดีย์ชเวดากอง http://www.dnaindia.com/report.asp?newsid=1228804 http://afp.google.com/article/ALeqM5ivO0AtyBkmFxEV... http://www.mizzima.com/MizzimaNews/News/2007/Sep/T... http://www.mizzima.com/news/inside-burma/6630-bann... http://thetempletrail.com/shwedagon/ http://www.wonder7th.com/wonder_build/008shwedagon... http://dlxs.library.cornell.edu/cgi/t/text/pagevie... http://dlxs.library.cornell.edu/cgi/t/text/text-id... http://www.seasite.niu.edu/Burmese/legends/Legends... http://shwedagonpagoda.com.mm