สงครามและการบุกรุก ของ เจดีย์ชเวดากอง

ทหารอังกฤษถอดรองเท้าออกขณะไปเยี่ยมชมเจดีย์ชเวดากองช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ในปี ค.ศ. 1608 นักผจญภัยชาวโปรตุเกส ฟีลีปือ ดือ บรีตู อี นีโกตือ หรือที่รู้จักในนามของ งะซีนกา เมื่ออยู่ในพม่า ได้เข้าปล้นชิงสมบัติของเจดีย์ชเวดากอง และได้เอาระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์ขนาด 300 ตัน ซึ่งถวายโดยพระเจ้าธรรมเจดีย์เมื่อปี ค.ศ. 1485 เจตนาของฟีลีปือคือการหลอมระฆังเพื่อสร้างปืนใหญ่ แต่ระฆังได้ตกลงไปในแม่น้ำพะโคขณะกำลังขนย้าย จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้รับการกู้คืน

สองศตวรรษต่อมาจักรวรรดิบริติชเริ่มเข้าครอบครองพื้นที่เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1824 ช่วงสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่หนึ่ง ทันทีที่ยึดครองเจดีย์ชเวดากองได้พวกเขาได้ใช้เป็นป้อมปราการจนสละทิ้งในอีกสองปีต่อมา มีการปล้นสะดมการทำลายทรัพย์สิน และข้ออ้างของเจ้าหน้าที่คนหนึ่งในการขุดอุโมงค์เข้าไปในส่วนลึกของเจดีย์ คือการหาว่าสามารถใช้เป็นที่เก็บดินปืนได้หรือไม่ ระฆังมหาคันธะ ระฆังสัมฤทธิ์หนัก 23 ตัน สร้างในปี ค.ศ. 1779 โดยได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าจิงกูจาและเป็นที่รู้จักในชื่อระฆังพระเจ้าจิงกูจา ถูกขนย้ายลงเรือปรารถนาที่จะส่งไปยังโกลกาตา และได้พบเหตุการณ์เช่นเดียวกับระฆังพระเจ้าธรรมเจดีย์คือตกลงไปในแม่น้ำ เมื่อชาวอังกฤษล้มเหลวในความพยายามที่จะกู้ระฆังขึ้นมา จึงมีประชาชนเสนอที่จะกู้ระฆังโดยมีเงื่อนไขว่าถ้ากู้ขึ้นมาได้ให้ถวายคืนไปยังเจดีย์ ชาวอังกฤษคิดว่ามันเป็นเรื่องไร้ประโยชน์จึงตอบตกลง ต่อมานักดำน้ำได้นำเสาไม้ไผ่หลายร้อยต้นผูกเข้ากับระฆังด้านล่างและปล่อยให้ลอยขึ้นสู่ผิวน้ำ ระฆังใบนี้มักมีคนสับสนกับระฆังพระเจ้าแสรกแมง ขนาด 42 ตัน ซึ่งได้รับการถวายในปี ค.ศ. 1841 โดยพระเจ้าแสรกแมงพร้อมกับชุบทองคำ 20 กก. ระฆังขนาดใหญ่นี้แขวนอยู่ในศาลามุมตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์ ส่วนระฆังพระเจ้าจิงกูจาแขวนในศาลาตะวันตกเฉียงเหนือของเจดีย์[10]

ในสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง จักรวรรดิบริติชเข้ายึดครองเจดีย์ในเดือนเมษายนปี ค.ศ. 1852 แต่คราวนี้เจดีย์อยู่ภายใต้การควบคุมทางทหารเป็นเวลานานถึง 77 ปีจนถึงปี ค.ศ. 1929 อย่างไรก็ตามประชาชนสามารถเข้าไปสักการะองค์เจดีย์ได้

ระหว่างการยึดครองเจดีย์และเป็นป้อมปราการของบริติช หม่อง ทอ เล ซึ่งเป็นชาวมอญเชื้อสายพม่า ประสบความสำเร็จในการป้องกันการปล้นทรัพย์สมบัติจากกองทัพบริติช ท้ายที่สุดเขาก็สามารถบูรณะเจดีย์ให้มีชื่อเสียงดังเดิมได้ ทั้งยังได้รับเงินสนับสนุนจากผู้ปกครองชาวอังกฤษ บทความบางส่วนได้ถูกบันทึกลงในหนังสือ “A Twentieth Century Burmese Matriarch” (ปูชนียบุคคลของพม่าในคริสต์ศตวรรษที่ 20) ซึ่งเขียนโดยทายาทสายตรงที่สืบเชื้อสายมาจากหลานสาวของเขา คีน ธีดา[11]

หลังจากเกษียณแล้วเขาย้ายกลับไปยังเขตย่างกุ้งซึ่งยังคงอยู่ในมือพม่า ไม่นานนักก่อนที่นั้นจะถูกยึดครอง เขาเคยถูกจับอีกครั้งในช่วงสงคราม แต่เขาโชคดีที่สนับสนุนกิจการทางศาสนาและได้รับบุญอันยิ่งใหญ่ ความสามารถในการเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมของเขา ทำให้เขาได้รับหน้าที่ในการบูรณะเจดีย์ชเวดากองครั้งใหญ่ จากการถูกทำลายและปล้นทรัพย์สมบัติของกองทัพบริติชช่วงสงครามอังกฤษ–พม่าครั้งที่สอง

ศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ของพุทธถูกใช้เป็นป้อมปราการโดยกองทัพบริติชช่วงสงครามในปี ค.ศ. 1824 และใช้เป็นป้อมปราการอีกครั้งในปี ค.ศ. 1852 เมื่อเขาได้ยินการเปลี่ยนศาสนสถานเป็นป้อมปราการและปล้นทรัพย์สมบัติ เขาจึงส่งจดหมายอุทธรณ์ทันทีไปยังสำนักงานบริติชอินเดียในลอนดอนให้หยุดทำลายศาสนสถาน เขาได้รับค่าชดเชยจากข้าหลวงพม่าแห่งบริติช มิสเตอร์เพเลย์ (Arthur Purves Phayre) และเริ่มบูรณะเจดีย์ในปี ค.ศ. 1855 พร้อมการสนับสนุนการบริจาคจากประชาชน

เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลเจดีย์ชเวดากอง และได้รับยศ KSM จากบริติชราช สำหรับการบริการสาธารณะของเขา เขาเสียชีวิตเมื่ออายุ 95 ปี มรดกที่เขาทิ้งไว้คือเกียรติประวัติและกิตติศัพท์สูงสุดแก่วงศ์ตระกูลและทายาทรุ่นหลังของเขา

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจดีย์ชเวดากอง http://www.dnaindia.com/report.asp?newsid=1228804 http://afp.google.com/article/ALeqM5ivO0AtyBkmFxEV... http://www.mizzima.com/MizzimaNews/News/2007/Sep/T... http://www.mizzima.com/news/inside-burma/6630-bann... http://thetempletrail.com/shwedagon/ http://www.wonder7th.com/wonder_build/008shwedagon... http://dlxs.library.cornell.edu/cgi/t/text/pagevie... http://dlxs.library.cornell.edu/cgi/t/text/text-id... http://www.seasite.niu.edu/Burmese/legends/Legends... http://shwedagonpagoda.com.mm