กลไกการออกฤทธิ์ ของ เจนตามัยซิน

เจนตามัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรีย (bactericidal antibiotic) โดยเข้าจับกับหน่วยย่อย 30เอสของไรโบโซมแบคทีเรียแบบไม่ผันกลับ ซึ่งจะส่งผลรบกวนการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์แบคทีเรียนั้น ทำให้แบคทีเรียขาดโปรตีนที่จำเป็นในการดำรงชีพและแพร่ขยายพันธุ์ จนตายไปในที่สุด ซึ่งกลไกดังกล่าวยังถือเป็นกลไกหลักในการออกฤทธิ์ของยาปฏิชีวนะชนิดอื่นในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ด้วย[21]

ส่วนประกอบ

เจนตามัยซินเป็นยาปฏิชีวนะที่มีส่วนประกอบเป็นสารต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับเจนตามัยซินอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งมีระดับความสามารถในการต้านแบคทีเรียที่แตกต่างกัน[22] โดยส่วนประกอบหลักของเจนตามัยซิน ได้แก่ สารผสมเจนตามัยซิน ซี ประกอบด้วย เจนตามัยซิน ซี1, เจนตามัยซิน ซี1, และเจนตามัยซิน ซี2 ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณเจนตามัยซินทั้งหมดและเป็นส่วนประกอบที่มีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียสูงที่สุด ที่เหลือนอกจากนั้นจะเป็นส่วนผสมของเจนตามัยซิน เอ, บี, เอกซ์ และอื่นๆ ซึ่งคิดรวมเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของปริมาณเจนตามัยซินทั้งหมด และมีคุณสมบัติในการต้านแบคทีเรียที่น้อยกว่าสารผสมเจนตามัยซิน ซี[23] สัดส่วนที่แน่นอนของสารผสมเจนตามัยซินนี้ไม่อาจระบุได้แน่ชัด โดยปริมาณของสารผสมเจนตามัยซิน ซี หรือส่วนประกอบอื่นนั้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละรอบของการผลิตขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ผลิตและกลวิธีที่ใช้ เนื่องมาจากการที่เจนตามัยซินมีสัดส่วนของสารออกฤทธิ์ที่ไม่แน่นอนในแต่ละรอบของการผลิตนี้ จึงเป็นการยากที่จะทำการศึกษาถึงคุณสมบัติต่างๆของเจนตามัยซินที่แน่นอนได้ เช่น คุณสมบัติทางเภสัชจลนศาสตร์ ความไวของจุลชีพต่อยา เนื่องจากไม่ทราบสัดส่วนของสารผสม ซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับคุณสมบัติต่างๆของยาที่ทำการศึกษาก็เป็นได้[24]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจนตามัยซิน http://www.baxter.ca/en/downloads/product_informat... http://www.drugbank.ca/drugs/DB00798 http://www.sandoz.ca/cs/groups/public/@sge_ca/docu... http://www.australianprescriber.com/magazine/33/5/... http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.39006... http://www.nature.com/doifinder/10.1038/ki.2010.33... http://www.toku-e.com/Upload/Products/PDS/20120604... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15494908 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15831617 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17266591